มะละกอ เป็นผลไม้ที่อยู่คู่คนไทยมายาวนาน และถือเป็นผลไม้ที่รสชาติหวานสุดๆ กินแล้วสดชื่นมากๆ แต่รู้หรือไม่ว่า มะละกอสุก มีวิตามิน และสารสำคัญที่ดีต่อร่างกายมากมายเลยทีเดียว ลองมาดูกันว่า มะละกอสุก มีประโยชน์ต่อเราอย่างไรบ้าง
มะละกอมีวิตามินเอ วิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระอย่างเบต้าแคโรทีน ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จะช่วยเสริมภูมิคุมกันของร่างกายเป็นอย่างดี ช่วยให้เราไม่เป็นคนป่วยได้ง่ายๆ
มะละกอทั้งสุกและดิบมีเอนไซม์ปาเปน ที่มีสรรพคุณในการย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร ดังนั้นไม่ว่าจะกินมะละกอดิบจากเมนูส้มตำ หรือกินมะละกอสุกก็ได้รับเอนไซม์ช่วยย่อยอาหารได้เหมือนกันเลยนั่นเอง
เนื่องจากมะละกอมีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างเบต้าแคโรทีน ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยป้องกันเซลล์ร้ายเกิดขึ้นกับร่างกาย ผลไม้ชนิดนี้จึงถือว่าเป็นผลไม้ที่ส่วนช่วยในการต้านมะเร็งนั่นเอง
เอนไซม์ปาเปนที่พบในมะละกอ สามารถย่อยสลายคอลลาเจนได้ จึงมีส่วนช่วยเร่งการผลัดเปลี่ยนเซลล์ผิว ช่วยให้ผิวพรรณเปร่งปรั่ง และมีคุณสมบัติช่วยย่อยโมเลกุลของโปรตีนด้วย
เนื่องจากมะละกอมีวิตามินซี วิตามินอี และวิตามินเอ ซึ่งเป็นสารอนุมูลอิสระที่มีความสำคัญช่วยป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระของคอเลสเตอรอล มะละกอจึงมีส่วนช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดแข็งตัวและโรคหัวใจที่มีสาเหตุจากโรคเบาหวานได้ดี
มะละกอมีไฟเบอร์สูง และมีน้ำย่อยธรรมชาติที่สามารถกำจัดคราบโปรตีนเก่าๆ ที่ร่างกายย่อยไม่หมดออกไปได้ นอกจากนั้นยังมีสารเพกตินที่เป็นสารช่วยเคลือบกระเพาะและลำไส้ ช่วยลดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร ช่วยให้กากอาหารมีมากขึ้นทำให้ถ่ายง่าย ถ่ายคล่อง
วิตามินซีในมะละกอ ที่มีอยู่จำนวนมาก มีส่วนสำคัญในการป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ช่วยให้สภาพเหงือกและฟันแข็งแรง ไม่เกิดสภาวะโรคแทรกซ้อนต่างๆ
สารอาหารในมะละกอมีส่วนช่วยบำรุงเลือด และช่วยขับน้ำนมให้คุณแม่หลังคลอด นอกจากนี้การกินมะละกอสุกยังช่วยผ่อนคลายระบบประสาทของคุณแม่ ส่งผลให้การหลั่งน้ำนมเป็นไปอย่างไหลลื่นมากขึ้น
สีแดงอมส้มที่พบในมะละกอสุกแสดงให้เห็นว่า มะละกอสุกมีสารไลโคพีนซึ่งเป็นสารที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก คุณผู้ชายจึงควรรับประทานให้มากขึ้น
มะละกอมีไขมันอิ่มตัว คอเลสเตอรอล และเกลือโซเดียมต่ำ เป็นแหล่งเส้นใยอาหารชั้นดี ไม่ว่าจะเป็น ธาตุโพแทสเซียม วิตามินเอ ซี และโฟเลต แต่ร้อยละ 92 ของพลังงานจากมะละกอสุกมาจากคาร์โบไฮเดรต ผู้ที่ควบคุมอาหารแป้งและน้ำตาลจึงไม่ควรกินมะละกอมากเกินไป
ข้อมูลอ้างอิง : กองโภชนาการ กรมอนามัย