Advertisement
❝ ไอคิวสูง อีคิว ต้องดีด้วย เป็นตัวช่วยแรงเสริมเติมสร้างารรค์ ❞
"ไอคิว" สูง "อีคิว" แจ๋ว หัวกะทิรุ่นใหม่เป็นนักวิทย์ไม่เครียด
ไอคิวทะลุฟ้า
เมื่อ "ไอคิว" สูงแล้ว "อีคิว" ต้องดีด้วย นี่คือคุณสมบัตินักวิทยาศาสตร์ที่พึงปรารถนา
แต่ทำอย่างไรจะเป็นนักวิทย์ที่สดใส
คำบรรยายของ น.พ. ปราการ ถมยางกูร นายแพทย์ชำนาญการพิเศษด้านเวชกรรมสาขาจิตเวช โรงพยาบาลราชวิถี วิทยากรบรรยายพิเศษหัวข้อ "บริหารจิตวันละนิด เป็นนักวิทย์ที่สดใส" นงานประชุมวิชาการวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน ครั้งที่ 4 "ประสานปัญญาแห่งอนาคต ลดวิกฤตโลกร้อน" จัดโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหา วิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นเวทีเตรียมหัวกะทิรุ่นใหม่ทั้งนักเรียน นิสิต นักศึกษา ทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริม ผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) ให้ก้าวไปเป็นนักวิทยาศาสตร์ ช่วยเติมเต็มช่องว่างการขาด แคลนนักวิทยาศาสตร์ของประเทศ
น.พ.ปราการกล่าวว่า ชีวิตของนักวิทยา ศาสตร์อาจเจอกับความเครียด วิตก กังวล บางคนมีปัญหาด้านสมาธิ ความจำ บางคนเวลาใกล้สอบนอนไม่หลับ เพราะแบ่งเวลานอนไม่ดี ผู้ที่จะประสบความสำเร็จในการสอบนั้นต้องนอนให้เพียงพอ เพราะการนอนจะทำให้สมองเรียงตัวเต็มที่ ในเด็กวัยรุ่นอาจมีอารมณ์หงุดหงิดมากกว่าปกติ และสนใจกิจกรรมต่างๆ ลดลงเวลาที่มีปัญหาเกิดขึ้น ทำให้ผลการเรียนลดลงตามไปด้วย
|
"นักศึกษาแพทย์หลายคนพอขึ้นปี 4-5 เกรดลดลง ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าตามมา รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า และอาจนำไปสู่การทำร้ายตัวเอง เพราะฉะนั้นต้องจับให้ดีว่าอารมณ์ของตัวเองเป็นแบบไหน" น.พ.ปราการให้ข้อคิดจากข่าวคราวที่ปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์อยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลสอบแต่ละครั้ง เพราะฉะนั้นสิ่งที่ควรพัฒนาให้เกิดขึ้นในตัวนักวิทยาศาสตร์ในอนาคต คือความสามารถทางสติปัญญา หรือ "ไอคิว" และความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งต้องฝึกให้มีความสุข มองโลกในแง่ดี มีการควบคุมตัวเอง มีความรับผิดชอบ หรือ "อีคิว" ซึ่งเป็นตัวผลักดัน "ไอคิว" นั่นเอง
นอกจากนี้จะต้องมีความเข้มแข็งด้านสุขภาพกาย มีความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคเมื่อต้องเผชิญกับความทุกข์ มีความฉลาดทางจริยธรรม เพราะนักวิทยาศาสตร์บางคนอาจใช้ความรู้ที่มีไปหลอกลวงคนอื่น อย่างกรณีที่เป็นข่าวเกรียวกราวมาแล้วของนักวิทยาศาสตร์ชาวเกาหลี
มาถึงมุมมองของการเป็น "นักวิทยาศาสตร์ที่สดใส" กันบ้าง นั่นคือมีความตระหนักรู้และพึงพอใจในชีวิต เป็นเรื่องของความสงบสุขในชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องเสริมสร้างด้วยตัวเราเอง รวมถึงการจัดการกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อสามารถใช้ชีวิตให้มีความสุขได้ นั่นคือการใช้หลักพรหมวิหาร 4 ตามแนวทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
สำหรับนักเรียนทุน พสวท.เมื่อมาถึงจุดหนึ่งอาจจะมีความรู้สึกว่าไปต่อไม่ไหว น.พ.ปราการแนะนำว่า ถ้ารู้สึกแบบนี้อย่านิ่งนอนใจ ต้องหาทางแก้ไข สิ่งสำคัญเร่งด่วนคือหาทางปรึกษากับอาจารย์ หรือที่ปรึกษาท่านต่างๆ ขณะเดียวกันหากิจกรรมอย่างอื่นทำ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการหดหู่ท้อแท้ที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นการเล่นกีฬาที่ชอบ ที่สนใจ การร้องเพลง เพื่อผ่อนคลาย งานอดิเรกต่างๆ ในภาวะเช่นนี้อาจดูเป็นเรื่องยาก แต่จริงๆ แล้วไม่ยากอย่างที่คิดถ้าได้ลงมือปฏิบัติจริงจัง หรืออาจจะนั่งสมาธิซึ่งจะช่วยให้เกิดปัญญา หาทางแก้ปัญหาได้ด้วยสติ ไม่ควรหมดหวัง สิ้นหวัง หรือยอมแพ้ เพราะอนาคตที่แจ่มใสยังรอเราอยู่
อย่าลืมว่า...แค่เริ่มก้าวเราก็เริ่มเดินแล้ว
การเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สดใสก็เช่นกัน ต้องบริหารให้พร้อมทั้งเรื่องเรียนและจิตใจ
มีก้าวแรกแล้วก็ก้าวต่อไป เพื่อเป็นนักวิทย์รุ่นใหม่ที่สดใสอย่างมีคุณภาพ
หน้า 24 ข่าวสด ขอบคุณครับ ( 6/5/09)
วันที่ 6 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 8,582 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 24,749 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,451 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,291 ครั้ง |
เปิดอ่าน 5,596 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,656 ครั้ง |
|
|