วลีเด็ดฟาดไม่ยั้งของ สรยุทธ สุทัศนะจินดา ผู้ประกาศข่าวดัง เรื่องเล่าเช้านี้ ทางช่อง 3 หลังเปิดมีมทำติดเทรนด์ไปทั้่วบ้านทั่วเมืองนั้น เรามามองในมุมของการบำบัดความเครียดบ้างนะครับว่า การกรี๊ด หรือ การกรีดร้อง มีผลต่อการบำบัดหรือการคลายเครียดอย่างไร
หรือ โดยเว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ ได้เล่าเรื่องนี้ได้น่าสนใจว่า เป็นเครื่องมือในการบำบัดความเครียด มาตั้งแต่ยุค 1970 โดย Arthur Yanov นักจิตอายุรเวทชาวอเมริกัน
โดยเขาเชื่อว่า การที่คนเราต้องอดทนอดกลั้นเก็บเอาความเจ็บปวดชอกช้ำในอดีตไว้ในจิตใจ ไม่แสดงออกให้ใครรู้เลย เป็นตัวการของความเครียด ดังนั้น การกรีดร้อง เสมือนกับการทบทวนและปลดปล่อยอารมณ์ที่อัดแน่นภายในจิตใจผ่านการเปล่งเสียงออกมาดัง ๆ
ซึ่ง Yanov ได้ใช้วิธีนี้ในการรักษาอาการของ จอห์น เลนนอน หนึ่งในสมาชิกวง The Beatles และ โยโกะ อูโนะ ภรรยาของเขา
ดร.ยานอฟเชื่อว่าการกรีดร้องเป็นการแสดงความรู้สึกแรกที่มนุษย์เรียนรู้ ซึ่งเด็กทารกมักร้องงอแงเวลาที่ต้องการแสดงความรู้สึกออกมา แตกต่างจากผู้ใหญ่ที่ไม่สามารถแสดงด้านลบออกมาได้ ต้องกลั้นอารมณ์เหล่านั้นไว้ ดังนั้นการบำบัดด้วยวิธีนี้จึงเหมือนกับการทบทวนและปลดปล่อยอารมณ์ที่อัดแน่นภายในจิตใจผ่านการเปล่งเสียงออกมาดัง ๆ
สำหรับวิธีการบำบัดด้วยการกรีดร้อง บาร์บารา ซานตินี นักจิตวิทยาและผู้ให้คำแนะนำด้านเพศ แนะนำว่าให้เริ่มด้วย การยืนโดยแยกเท้าออกจากกันและยื่นมือออกไปด้านหน้า หรือจะทำท่านักรบ (Warrior Pose) ของโยคะก็ได้ หลังจากนั้นให้กรีดร้องมาด้วยเสียงที่ดังที่สุด ซึ่งเสียงกรีดร้องจะกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเทติก ทำให้จิตใจและร่างกายสงบลง
การกรีดร้องสามารถช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น รู้สึกโล่งและสงบ ไม่แตกต่างจากการร้องไห้เมื่อเราอยู่ในจุดที่ไม่สามารถแบกรับอะไรต่อไปได้อีกแล้ว ดร.รีเบคก้า เซมเมนส์-วีลเลอร์ อาจารย์อาวุโสด้านจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมซิตี้ ระบุว่ามีงานวิจัยหลายชิ้นที่พบว่าเมื่อการตะโกนออกดัง ๆ หลังจากที่ร่างกายบาดเจ็บ สามารถช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้ อีกทั้งยังสามารถช่วยบรรเทาความเครียดในระยะสั้นได้อีกด้วย
ซึ่งนับได้ว่า การกรีดร้อง เป็นวิธีบำบัดที่ไม่ต้องจ่ายเงิน
อย่างไรก็ตาม การบำบัดด้วยวิธีนี้อาจจะไม่เหมาะสำหรับทุกคน และควรเริ่มสังเกตว่าตนเองอาจจะมีความเครียด หรือความวิตกกังวลที่มากกว่าปกติ ควรพบนักบำบัด หรือจิตแพทย์เพื่อรักษาต่อไปจะดีที่สุด
ขอบคุณที่มาจาก กรุงเทพธุรกิจ , วิกิพีเดีย , true ID
ขอบคุณคลิปจาก YouTube เรื่องเล่าเช้านี้