กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยค่าเฉลี่ย BMI ของวัยทำงานเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน แนะวัยทำงาน เลือกกินอาหารถูกหลักโภชนาการ ออกกำลังกายเป็นประจำ ลดเครียด หรือใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 7 สัปดาห์สุขภาพดี หุ่นดี เพื่อลดภาวะอ้วนลงพุง และป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า เนื่องในวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันแรงงาน ซึ่งจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562 -2563 พบว่า ค่าเฉลี่ย BMI ของผู้ชายเท่ากับ 24.2 และผู้หญิงเท่ากับ 25.2 ซึ่งถือว่าเกินกว่าเกณฑ์ปกติ โดยผู้ชายร้อยละ 37.8 และผู้หญิง ร้อยละ 46.4 อยู่ในเกณฑ์อ้วน นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้ชาย ร้อยละ 27.7 และผู้หญิง ร้อยละ 50.4 อ้วนลงพุง สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากกลุ่มวัยทำงานส่วนใหญ่ ใช้เวลาอยู่ในที่ทำงานไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และในภาวะเร่งรีบกลุ่มวัยทำงานอาจเลือกกินอาหารจานด่วนที่ไม่ถูกหลักทางโภชนาการ เนื่องจากต้องการอาหารที่ทำง่ายและรวดเร็ว รวมถึงมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ซึ่งจากการสำรวจสถานการณ์สุขภาพกลุ่มวัยทำงานอายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่ามีภาวะอ้วน ร้อยละ 42.4 กินผักและผลไม้ไม่เพียงพอตามข้อแนะนำ ร้อยละ 78.8 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากจากการสำรวจครั้งที่ 5 ที่กินผักผลไม้ไม่เพียงพอร้อยละ 74.1 รวมถึงมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอร้อยละ 30.7 และองค์กรอนามัยโลก (WHO) พบว่า เกือบหนึ่งในสามของประชากรไทย มีน้ำหนักตัวมากจนเป็นโรคอ้วน อ้วนลงพุง เนื่องจากใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ตั้งแต่การกินอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ รวมถึงไม่มีเวลาออกกำลังกาย ซึ่งคนที่อ้วนลงพุง มักจะมีไขมันสะสมในช่องท้องมากเกินไป ทำให้เกิดเมตาบอลิกซินโดรม ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมาก โดยพบว่าคนที่มีลักษณะท้วม มีโอกาสอ้วนลงพุงได้ถึงร้อยละ 25 ส่งผลให้สุขภาพร่างกายไม่ดี
นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า จากการทำงานตลอดทั้งวัน อาจส่งผลให้เกิดความเครียด เหนื่อยล้า ละเลยการดูแลสุขภาพตนเอง ดังนั้นกลุ่มวัยทำงานจึงควรใส่ใจสุขภาพตนเองให้มากขึ้น ด้วยการกินอาหารให้เหมาะสม เพิ่มกิจกรรมทางกายในระหว่างวัน โดยใช้หลักการกินอาหารง่ายๆ ดังนี้
ไม่กินมากไป ไม่กินน้อยไป
ใน 1 วัน กินน้ำมันไม่เกิน 6 ช้อนชา น้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา เติมน้ำปลาหรือซีอิ๊ว ซอสปรุงรสในการปรุงอาหารรวมกันไม่เกินวันละ 4 ช้อนชา
เช่น พริก ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด หอม กระทียม หรือเครื่องเทศต่างๆ ช่วยเพิ่มรสชาติอาหาร
เช่น เนื้อสัตว์ทอด เนื้อสัตว์ติดมัน หนังไก่ แกงกะทิ สลัดน้ำข้น เป็นต้น
การกินบะหมี่ โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป หรืออาหารกล่องแช่แข็ง อาหารสำเร็จรูปเป็นประจำอาจได้รับพลังงาน น้ำตาลและโซเดียมเกิน เพราะมีการใส่ผงปรุงรส ผงชูรส ผงปรุงรส วัตถุเติมแต่งอาหาร เพื่อเพิ่มรสชาติและยืดอายุการเก็บรักษา
เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ ชา กาแฟ เป็นต้น เลือกดื่มน้ำเปล่าหรือกินผลไม้ชนิดหวานน้อยช่วยให้อิ่มเร็ว และกากใยก็ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น
เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ (ดาวน์โหลดโปรแกรม 7 สัปดาห์ สุขภาพดี หุ่นดี ที่บ้าน)
“ทั้งนี้ การการพบปะสังสรรค์ตามร้านบุฟเฟ่ต์ ปิ้งย่าง เพื่อคลายเครียดนั้น อาจส่งผลให้น้ำหนักเกิน เพิ่มความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคไตตามาได้ หากสังสรรค์เพื่อผ่อนคลายความเครียด ควรกินอย่างมีสติ กินอย่างพอดี และเลือกกินสิ่งที่ดีมีประโยชน์ นอกจากนี้ กลุ่มวัยทำงานควรมีกิจกรรมทางกายเป็นประจำ ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้มีกิจกรรมทางกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือ 30 นาทีต่อวัน เช่น เดินเร็ว วิ่ง ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิก กระโดดเชือก โยคะ เป็นต้น อีกทั้งควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 7 – 9 ชั่วโมง และหมั่นชั่งน้ำหนักและวัดรอบเอว โดยเส้นรอบเอวต้องน้อยกว่าส่วนสูงหารสองเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคอ้วน อ้วนลงพุง และโรคติดต่อไม่เรื้อรัง” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ที่มา กรมอนามัย / 1 พฤษภาคม 2566