ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลของเรารั่วไหล เราจะรับมือแล้วป้องกันอย่างไร?


ความรู้ทั่วไป 9 เม.ย. 2566 เวลา 15:27 น. เปิดอ่าน : 1,984 ครั้ง
เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลของเรารั่วไหล เราจะรับมือแล้วป้องกันอย่างไร?

Advertisement

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า ได้เสนอแนวทางป้องกันกรณีข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล! ที่คัดพิเศษมาให้สำหรับคนทั่วไป และหน่วยงานที่ทำการพิสูจน์และยืนยันตัวตน ว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ? ตามไปดูกันได้เลย


แนวทางป้องกันตัวเองจากผู้ไม่หวังดี ที่อาจจะแอบใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของเราที่รั่วไหล

1. หยุด
โอนเงิน ให้ข้อมูลส่วนบุคคล หรือข้อมูลสำคัญ กับบุคคลที่ไม่รู้จัก ที่ติดต่อเรา มาทาง อีเมล SMS หรือโทรศัพท์
เพราะผู้ไม่หวังดีอาจปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ติดต่อมาหาเรา และใช้ข้อมูลที่รั่วไหล สร้างความน่าเชื่อในการพูดคุยกับเรา
2. คิดก่อนคลิก
หลีกเลี่ยงการเปิดลิงก์หรือไฟล์แนบ จากอีเมลหรือ SMS ที่ไม่รู้จัก
เพราะผู้ไม่หวังดี อาจส่งลิงก์หรือไฟล์แนบ มายังอีเมลหรือ SMS และหวังให้เราหลงกล กดคลิกติดตั้ง malware เพื่อขโมยข้อมูลสำคัญของเราไปใช้ทำธุรกรรมการเงินต่อได้

ดังนั้น เมื่อได้รับการติดต่อจากคนที่เราไม่รู้จัก หรือ ไม่แน่ใจว่าเป็นตัวจริง
โปรด!!! หยุด โอนเงิน ให้ข้อมูล หรือคลิกลิงก์
แล้วใช้เวลาสักนิด ตรวจเช็คข้อมูลกับหน่วยงานก่อน
(ควรตรวจสอบผ่านช่องทางการติดต่อทางการของหน่วยงานนั้นๆ เช่น เบอร์โทรศัพท์ ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์หน่วยงาน เป็นต้น)

แล้วเราจะป้องกันตัวเอง ได้อย่างไรก่อน

  1. เปิดใช้ “วิธีการยืนยันตัวแบบหลายปัจจัย” กับบริการสำคัญ (ถ้ามี) นอกเหนือจากการใช้ Password หรือ PIN เพียงอย่างเดียว เช่น OTP เพื่อให้มั่นใจว่าเราที่เป็นตัวจริงเท่านั้น เข้าใช้งานได้
  2. เปิดใช้งาน “ระงับบัญชี (Account) ชั่วคราว” (ถ้ามี) เมื่อไม่ได้ใช้งานบัญชีหรือ Account ในขณะนั้น เพื่อป้องกันการเข้ามาทำธุรกรรมของผู้ไม่หวังดี
  3. หมั่นตรวจสอบประวัติการเข้าใช้งาน (Log in) บัญชีออนไลน์หรือแอปพลิเคชันต่างๆ หากพบว่ามีการใช้งานจากอุปกรณ์ที่ไม่รู้จัก หรือไม่ใช่ของเรา ควรรีบลงชื่อออก (Log out) และเปลี่ยน Password ทันที
  4. หมั่นตรวจสอบข้อมูลหรือประวัติการทำธุรกรรมทางการเงินว่า มีการโอนเงินเข้าออกที่ผิดปกติหรือไม่ หากผิดปกติให้รีบติดต่อธนาคาร โดยเร็ว
  5. เมื่อข้อมูลรั่วไหล ให้แจ้งธนาคารทราบว่าข้อมูลสำคัญของเราได้รั่วไหล เพื่อธนาคารจะได้เพิ่มกลไกตรวจสอบตัวตนของเรา หรือให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับเราต่อไป

เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการของเรารั่วไหล จากหน่วยงานอื่น
และเราเป็นหน่วยงานที่ให้บริการ e-Service และให้ผู้ใช้บริการของเราใช้ Digital ID ที่เราออกให้ (เช่น บัญชีผู้ใช้งาน (User Account)) เข้าถึงบริการออนไลน์ของเราได้
เราจะรับมือแล้วป้องกันอย่างไร?
ETDA ขอเสนอแนวทางป้องกันสำหรับหน่วยงานที่ทำการพิสูจน์และยืนยันตัวตน ดังนี้

การป้องกันในขั้นตอนการพิสูจน์ตัวตน (identity proofing)
เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ไม่หวังดี ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่รั่วไหล มาสวมรอยเป็นบุคคลอื่น ในขั้นตอนการพิสูจน์ตัวตน ทั้งที่ไม่ใช่ตัวจริง
1. หน่วยงานควรตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของบุคคลกับหน่วยงานที่ออกหลักฐานแสดงตน เช่น ตรวจสอบข้อมูลโดยใช้เครื่องอ่านบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลจากชิป
2. หน่วยงานควรหลีกเลี่ยงการพิสูจน์ตัวตน โดยใช้แค่การตรวจสอบข้อมูลหน้าบัตรประชาชนและหมายเลขหลังบัตรประจำตัวประชาชน (laser code) เท่านั้น

การป้องกันในขั้นตอนการยืนยันตัวตน (authentication)
เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ไม่หวังดี สวมรอยใช้ Digital ID หรือบัญชีผู้ใช้งาน (User Account) ของเรา เข้าถึงบริการออนไลน์ของเราได้
3. หน่วยงานควรใช้การยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัย (Multi-Factor Authentication) ซึ่งมีการใช้ปัจจัยของการยืนยันตัวตน (authentication factor) ที่แตกต่างกันมากกว่าหนึ่งปัจจัย เช่น
- การกรอกรหัสผ่าน (ซึ่งเป็นปัจจัยประเภทสิ่งที่คุณรู้) ร่วมกับรหัส OTP ที่ส่งมายังโทรศัพท์ของผู้ใช้บริการ (ซึ่งเป็นปัจจัยประเภทสิ่งที่คุณมี) หรือ
- การเปรียบเทียบชีวมิติ (biometrics) ของผู้ใช้บริการ (ซึ่งเป็นปัจจัยประเภทสิ่งที่คุณเป็น) และเรียกใช้กุญแจเข้ารหัสที่อยู่ในแอปพลิเคชัน (ซึ่งเป็นปัจจัยประเภทสิ่งที่คุณมี) เพื่อนำมากุญแจเข้ารหัสมาใช้ยืนยันตัวตน (cryptographic software)

 

  

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.)


เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลของเรารั่วไหล เราจะรับมือแล้วป้องกันอย่างไร?เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลของเรารั่วไหลเราจะรับมือแล้วป้องกันอย่างไร?

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ภัยร้ายจากควันบุหรี่

ภัยร้ายจากควันบุหรี่


เปิดอ่าน 12,606 ครั้ง
พลังบำบัดจากน้ำมะพร้าว

พลังบำบัดจากน้ำมะพร้าว


เปิดอ่าน 18,129 ครั้ง
ปากเหม็น...ทำไงดี!!!

ปากเหม็น...ทำไงดี!!!


เปิดอ่าน 12,598 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

รับทำ seo ให้กับทุกเว็บไซต์ติดอันดับ Google 1 วันรู้ผล

รับทำ seo ให้กับทุกเว็บไซต์ติดอันดับ Google 1 วันรู้ผล

เปิดอ่าน 2,674 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ความหมายของคำว่า แม่
ความหมายของคำว่า แม่
เปิดอ่าน 42,378 ☕ คลิกอ่านเลย

ดื่มน้ำอัดลม…ระวังกระดูกพรุน!
ดื่มน้ำอัดลม…ระวังกระดูกพรุน!
เปิดอ่าน 12,896 ☕ คลิกอ่านเลย

กรมทางหลวงแนะ 13 เส้นทางเลี่ยงขึ้นเหนือ-ล่องใต้ ช่วงสงกรานต์
กรมทางหลวงแนะ 13 เส้นทางเลี่ยงขึ้นเหนือ-ล่องใต้ ช่วงสงกรานต์
เปิดอ่าน 9,097 ☕ คลิกอ่านเลย

อาหาร 7 อย่างที่กินแล้วกระปรี้กระเปร่าสุด ๆ
อาหาร 7 อย่างที่กินแล้วกระปรี้กระเปร่าสุด ๆ
เปิดอ่าน 28,828 ☕ คลิกอ่านเลย

เหมือนอย่างกับแกะ! หุ่นยนต์เหมือนมนุษย์ตัวล่าสุด (มีคลิป)
เหมือนอย่างกับแกะ! หุ่นยนต์เหมือนมนุษย์ตัวล่าสุด (มีคลิป)
เปิดอ่าน 19,867 ☕ คลิกอ่านเลย

อาหารที่ควรทาน และ หลีกเลี่ยงก่อน เข้าห้องสอบ !!
อาหารที่ควรทาน และ หลีกเลี่ยงก่อน เข้าห้องสอบ !!
เปิดอ่าน 14,798 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

พระรัตนตรัย
พระรัตนตรัย
เปิดอ่าน 3,987 ครั้ง

สมุนไพรที่ช่วยบรรเทา ไข้หวัดใหญ่‏
สมุนไพรที่ช่วยบรรเทา ไข้หวัดใหญ่‏
เปิดอ่าน 10,831 ครั้ง

ระวังคาเฟอีนในขนมเด็ก
ระวังคาเฟอีนในขนมเด็ก
เปิดอ่าน 9,218 ครั้ง

โครงงานคณิตศาสตร์
โครงงานคณิตศาสตร์
เปิดอ่าน 131,057 ครั้ง

ไข้เลือดออก ฉบับการ์ตูนเข้าใจง่าย สไตล์หมอหมึกดุ๋ย
ไข้เลือดออก ฉบับการ์ตูนเข้าใจง่าย สไตล์หมอหมึกดุ๋ย
เปิดอ่าน 22,987 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ