เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ที่โรงแรมอัศวิน แกรนด์ กรุงเทพมหานคร น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ผศ.ดร.ลินดา เกณฑ์มา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ. มรภ.) , ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา , ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) และ รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ได้ร่วมกันแถลงข่าว “รูปแบบร่วมในการผลิตบัณฑิตและพัฒนาครูฐานสมรรถนะเพื่อพัฒนากำลังคนสำหรับศตวรรษที่ 21” (PTRU Model : Professional Teacher of Rajabhat University) โดย น.ส.ตรีนุช กล่าว ว่า การพัฒนาครูถือเป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ชาติ และอีกทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราบอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ได้พูดถึงกลไกระบบพัฒนาวิชาชีพครูด้วย ดังนั้น ครู จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่วันนี้ เราต้องยอมรับว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก จะทำอย่างไรให้การศึกษาสามารถปรับเปลี่ยนเพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ได้ ครูถือเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการศึกษา เกือบ 2 ปี ที่ตนเข้ามาทำงานใน ศธ.ได้เห็นความท้าทายหลายๆ เรื่อง เช่น ที่ผ่านมาเรามักจะพูดว่าต้องเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอน ให้สอดรับกับศตวรรษที่ 21 แต่การจะเปลี่ยนโดยฉับพลันนั้น อาจจะทำไม่ได้ จึงต้องกลับมามองที่หน่วยผลิตครู ซึ่ง มรภ. ถือเป็นหน่วยใหญ่ในการผลิตครู ซึ่งตนดีใจที่มรภ.ทั้ง 38 แห่ง ได้จัดทำโมลเดลผลิตบัณฑิตครู (PTRU Model) โดยกำหนกสมรรถนะบัณฑิตราชภัฎ ไว้ 17 สมรรถนะ ซึ่งโมเดลนี้ ถือเป็นแกนกลางที่ให้มรภ. สามารถนำไปใช้ ซึ่งแต่ละแห่งก็สามารถนำไปโมเดลนี้ปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของตนได้อีกด้วย
“นอกจากสมรรถนะครูทั้ง 17 สมรรถนะแล้ว ปัจจุบันทักษะด้านภาษาก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งดิฉันพบข้อมูลว่า ในการทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู วิชาที่มีผู้ผ่านน้อยที่สุด คือ วิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งในมุมมองของดิฉัน มองว่าครูควรจะมีความรู้ศัพท์เฉพาะในวิชาที่ตนสอน และสามารถใช้ภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐานได้ เพราะวันนี้เราต้องยอมรับว่าเรื่องภาษาเราทิ้งไม่ได้ ครูจะต้องอัพเดทองค์ความรู้ของตนอยู่ตลอดเวลา การมีความรู้ด้านภาษาก็จะช่วยให้ครูได้เข้าถึงความรู้เพิ่มมากขึ้น และสามารถนำความรู้ มาสอนนักเรียนต่อไปได้ รวมทั้งความรู้ด้านเทคโนโลยี และการพัฒนาในเรื่องของจิตวิทยาเด็ก จากการลงพื้นที่ พบสิ่งสำคัญคือ ครูจะต้องทราบว่าจะพัฒนาการสอน ใช้เทคโนโลยีให้สอดคล้องกับเด็กแต่ละช่วงวัยได้อย่างไร ต่อไป ศธ.จะเร่งให้คุรุสภาทำการรับรองโมลเดลผลิตบัณฑิตครู เพื่อนำไปสู่แนวปฏิบัติต่อไป” น.ส.ตรีนุช กล่าว
ด้าน ผศ.ดร.ลินดา กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการยกระดับคุณภาพการผลิตครู และการพัฒนาครูของ มรภ. เริ่มตั้งแต่ปี 2561 โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทำการศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน และได้ยกร่างโมเดลการผลิตและพัฒนาบัณฑิตครู มรภ.ในปี 2563 และได้นำโมเดลไปใช้โดยทำการทดลองควบคู่ไปกับการวิจัย และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งที่ผ่านมาได้รับการตรวจเยี่ยมจาก พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี มาอย่างต่อเนื่อง และจากที่องคมนตรี ได้ตรวจติดตามผลการดําเนินงานตามยุทธศาสตร์ มรภ. ประจําปี 2565 พบว่า มรภ.แต่ละแห่งได้รายงานถึงการสร้างรูปแบบร่วมในการผลิตบัณฑิตครูให้มีสมรรถนะและอัตลักษณ์เฉพาะ มหาวิทยาลัย กล่าวคือ ทดลองใช้หลักสูตรแกนกลางในการผลิตบัณฑิตครู ที่ถูกเติมเต็มความเชี่ยวชาญเฉพาะทางตามบริบทของแต่ละ มรภ. เพิ่มขึ้นเข้าไปอีก
สำหรับ โมเดลผลิตบัณฑิตครู มีสมรรถนะบัณฑิตราชภัฎ 17 สมรรถนะ ดังนี้
1.ปฏิบัติงานครูอย่างมืออาชีพ
2.ภาวะผู้นำและสัมพันธ์ชุมชน
3.บริหารจัดการชั้นเรียน
4.ทำงานเป็นทีม
5.ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
6.สื่อสารอย่างมีกลยุทธ์
7.บุคลิกภาพความเป็นครูและทัศนคติในการปรับตัว
8.จิตอาสา จิตสาธารณะ
9.ศิลปะการใช้สื่อ
10.อไนวยการเรียนรู้
11.วัดและประเมิน
12.ประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
13.ออกแบบและพัฒนาหลักสูตร
14.เป็นผลเมืองดี
15.บูรณาการศาสตร์สู่การสอน
16.นวัตกรรมทางการศึกษา
17.จิตวิญญาณความเป็นครู
“มั่นใจและภูมิใจอย่างยิ่งว่า โมลเดลผลิตบัณฑิตครู จะมีความสมบูรณ์และสอดคล้องกับความต้องการบัณฑิตครูในศตวรรษที่ 21 อย่างแท้จริง ที่จะทําให้คุรุสภาในฐานะผู้กํากับมาตรฐานวิชาชีพครูมั่นใจได้ว่าจะได้ครู มืออาชีพตามมาตรฐาน และเพิ่มจากมาตรฐานในส่วนของบริบทความสอดคล้องกับความหลากหลายเชิงพื้นที่ของประเทศไทย รวมทั้งทําให้สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในฐานะผู้ใช้บัณฑิตมั่นใจได้ว่าท่านจะได้บุคลากรครูที่ท่านพึง ประสงค์จากกระบวนการผลิตของ มรภ.อย่างแน่นอน” ผศ.ดร.ลินดา กล่าว
ผศ.ดร.อมลวรรณ กล่าวว่า โมลเดลผลิตบัณฑิตครู ที่ มรภ.ทั้ง 38 แห่ง ร่วมกันออกแบบได้สอดคล้องกับนโยบายของศธ. ที่ต้องการผลิตครูคุณภาพสู่สังคม ในส่วนของคุรุสภา มี่ทำหน้าที่เป็นสภาวิชาชีพ มองว่าโมเดลผลิตบัณฑิตครูนี้ จะเป็นโมเดลที่สามารถตอบโจทย์มาตรฐานวิชาชีพได้เป็นอย่างดี เชื่อว่าบัณฑิตที่ผ่านการบ่มเพาะจากมรภ. ทั้ง 38 แห่ง จะเป็นครูมืออาชีพได้ และจากพี่คุรุสภาได้ทำการตรวจสอบ โมลเดลผลิตบัณฑิตครู จำนวน 17 สมรรถนะในเบื้องต้น พบว่า เป็นไปตามตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ, มาตรฐานการปฏิบัติงาน และมาตรฐานการปฏิบัติตน จึงเชื่อว่าหากนำโมเดลนี้ไปใช้จะทำให้เราได้ครูมืออาชีพ ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศได้
ดร.อัมพร กล่าวว่า เป็นเรื่องดีที่ มรภ.ได้คิดค้นโมเดลผลิตครูขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศในหลายๆมิติ เมื่อ มรภ.กำหนดโมเดลผลิตบัณฑิตครู หากทุกฝ่าย คือ ผู้ผลิตและผู้ใช้ครู จะสามารพัฒนาครูร่วมกันได้ จะทำให้เราได้ครูที่ฝเข้าใจบริบทความแตกต่างของเด็ก เข้าใจความแตกต่างของโรงเรียรแต่ละแห่งที่มีความแตกต่างกันได้ ในส่วนของ สพฐ.มีแผนการใช้ครูล่วงหน้าเป็น 10 ปี ซึ่งทำให้ สพฐ.ทราบว่า อีก 5 ปีข้างหน้าต้องการใช้ครูเอกอะไรบ้าง ซึ่งจะต้องโจทย์สถาบันผลิตครูว่า ควรจะผลิตครูเอกไหน จำนวนเท่าใด
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก FOCUSNEWS วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566