ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

"รัชชัยย์" ร่อนจดหมายถึงนายกฯ เรื่อง ปัญหาของร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.....


ข่าวการศึกษา 21 ม.ค. 2566 เวลา 09:24 น. เปิดอ่าน : 3,963 ครั้ง
Advertisement

"รัชชัยย์" ร่อนจดหมายถึงนายกฯ เรื่อง ปัญหาของร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.....

Advertisement

เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2566 เว็บไซต์ครูบ้านนอก.คอม ได้รับการเปิดเผยจาก ดร.รัชชัยย์ ศรสุวรรณ นายกสมาคมพิทักษ์สิทธิ์ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา (ส.พ.บ.ค.) ว่า ตนได้มีจดหมายเปิดผนึกถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ​​​​เรื่อง​ ปัญหาของร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ..... ​​​​​โดยมีเนื้อหา ดังนี้


​วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๖

เรื่อง​ ปัญหาของร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ..... ​​​​​
กราบเรียน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ​​​​​


ตามที่รัฐบาลได้เสนอร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ..... เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา และประกาศใช้เป้นกฎหมายต่อไป ความแจ้งแล้วนั้น
สมาคมพิทักษ์สิทธิ์ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา (ส.พ.บ.ค.) ได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวทุกมาตราแล้วเห็นว่ารัฐบาลมีเจตนาดีที่จะขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาให้มีความก้าวหน้าทัดเทียมนาๆอารยประเทศ จึงมีหลายประเด็นที่เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองและผู้เรียนมาก อย่างไรก็ตามสมาคมได้ตรวจสอบร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นรายมาตราพบว่ามีสาระบางเรื่องที่ไม่ถูกต้องตามกระบวนการร่างกฎหมาย และสาระบางเรื่องหากมีการประกาศใช้จะมีผลกระทบต่อการจัดการศึกษาจนถึงขั้นอาจจะทำให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ดังปรากฏรายละเอียดดังนี้

ข้อ ๑ มาตรา ๓ บัญญัติไว้มีสาระว่าให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ข้อ ๒ มาตรา ๔ ได้กำหนดนิยามศัพท์ต่างๆ แต่ไม่ปรากฏนิยามศัพท์ของคำว่า  “ศึกษานิเทศก์” แต่มีการบัญญัติสาระที่เกี่ยวกับ ศึกษานิเทศก์ ไว้ในร่าง พ.ร.บ. นี้หลายมาตรา จึงทำให้ไม่สามารถรู้ได้ว่าศึกษานิเทศก์ นั้นหมายถึงใคร เช่นไร เพราะ คำว่า “ศึกษานิเทศก์”ถูกยกเลิกไปโดยมาตรา ๓ ​​​​​​​​ - “ผู้บริหารการศึกษา” แต่มีการบัญญัติ ไว้ในมาตรา ๓๙ วรรคท้าย ของร่าง พ.ร.บ. นี้ จึงทำให้ไม่สามารถรู้ได้ว่า “ผู้บริหารการศึกษา” นั้นหมายถึงใคร เช่นไร เพราะ คำว่า “ผู้บริหารการศึกษา”ถูกยกเลิกไปโดยมาตรา ๓

ข้อ ๓ ร่าง พ.ร.บ.นี้ น่าจะมีเจตนาในการยกเลิกเขตพื้นที่การศึกษา แต่กลับไม่ได้กำหนดทิศทางในการจัดการศึกษาที่จะเป็นแนวทางในการเขียนไว้ในกฎหมายลูก ซึ่งแตกต่างจาก พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ที่กำหนดไว้ขัดเจนในเรื่อง “เขตพื้นที่การศึกษา”

​ข้อ ๔ มาตรา ๘ ในทุกอนุมาตรามาตรา ควรเขียนกำหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องดำเนินการ ตัวอย่างเช่นใน “ช่วงวัยที่ ๑ ตั้งแต่แรกเกิดจนมีอายุครบหนึ่งปี ต้อได้รับการเลี้ยงดูให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์ การพัฒนาทางอารมณ์ และการกระตุ้นการรับรู้ทางประสาทสัมผัสให้สามารถเรียนรู้ในการช่วยเหลือตนเองและสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ตามวัย” จากข้อกฎหมายนี้เห็นได้ว่าเป็นการบังคับให้บิดามารดาหรืทอผู้ใช้อำนาจปกครองมีหน้าที่ต้องทำ ดังนั้นหากบิดามารคาดหรือผู้ใช้อำนาจปกครองไม่ได้ทำตามที่กฎหมายนี้บัญญัติไว้ ก็อาจจะได้รับโทษทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๕๗ ...เช่นนั้นหรือไม่​

ข้อ ๕ มาตรา ๑๔ (๕) บัญญัติว่า “ในการบริหารจัดการสถานศึกษาแต่และแห่งให้ผู้บริหารสถานศึกษารับฟังความคิดเห็นของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรในสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา นั้นด้วย”​​​​​​​​​​ กรณีนี้ต้องมีความชัดเจนว่า “การบริหารสถานศึกษา”นั้นคืออะไรบ้างที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรา นี้และบางเรื่องถ้าต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด งานก็ไม่สามารถเดินได้

​ข้อ ๖ มาตรา ๑๔ (๖) สถานศึกษาต้องมีทรัพยากรการเรียนรู้อันได้แก่อุปกรณ์ที่จำเป็น ครูและกำลังคนที่เพียงพอ..... ​​​​​​​​​​กรณีนี้เห็นว่าควรกำหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องดำเนินการ ​

ข้อ ๗ มาตรา ๑๔ (๙) เรื่องการควบรวมโรงเรียนนั้นได้กำหนดให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการนโยบาย ​​​​​​​​​ ​กรณีนี้เห็นว่าควรให้ท้องถิ่นมีส่วนรวมในการให้ข้อมูลและตัดสินใจ ​

ข้อ ๘ มาตรา ๑๕ (๑๑)บัญญัติว่า “ต้องมีมาตรการป้องกันมิให้หน่วยงานของรัฐ สั่งการหรือมอบหมายกิจกรรมหรือโครงการใดๆอันจะทำให้ครูไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่หลักได้เต็มกำลังความสามารถหรือทำให้ผู้เรียนไม่มีเวลาเพียงพอในการเรียน ​​​​​​กรณีนี้เห็นว่าเป็นเรื่องที่ดียิ่ง อย่างไรก็ตามโรงเรียนของรัฐเกือบทุกแห่งอยู่ได้ด้วยการดูแลของวัด ชุมชน ท้องถิ่น หากโรงเรียนปฏิบัติตามมาตรานี้อย่างเคร่งครัด ก็จะอยู่ไม่ได้ แต่หากทำกิจกรรมใดที่เป็นการขัดหรือแย้งกับมาตรานี้ ผู้บริหารก็จะได้รับโทษตามวรรคท้ายของมาตรานี้ที่บัญญัติไว้มีสาระว่าหน่วยงานของรัฐใดไม่ปฏิบัติตามมาตรการตาม (๑๑) ให้ถือว่าหน่วยงานดังกล่าวละเว้นหรือจงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.นี้ และให้ถือว่าเป็นความผิดทางวินัยด้วย ซึ่งเป็นการสร้างแรงกดดันให้กับผู้บริหารโรงเรียนอย่างยิ่ง

ข้อ ๙ มาตรา ๑๖ บัญญัติไว้มีสาระว่าให้กระทรวงศึกษาดำเนินการให้สถานศึกษาของเอกชน....จัดให้ครูได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน เงินหรือสิทธิ์ประโยชน์อื่นใดให้สอดคล้องกับครูของสถานศึกษาของรัฐ ​​​​​​​​​​​กรณีนี้เห็นว่าควรกำหนดให้มีกฎหมายลูกเขียนให้ชัด ว่าจะให้สิทธิประโยชน์แก่ครูสถานศึกษาเอกชน อะไร อย่างไรบ้าง ​

ข้อ ๑๐ มาตรา ๒๓ กำหนดให้คณะกรรมการสถานศึกษา รับผิดชอบต่อคุณภาพของสถานศึกษา กรณีนี้ขอเรียนถามว่าการให้คณะกรรมการสถานศึกษารับผิดชอบต่อคุณภาพของสถานศึกษา นั้น มีความเป็นไปได้แค่ไหนอย่างไร ​

ข้อ ๑๑ มาตรา ๓๐ กำหนดให้มีระเบียบว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่ใช้จากรายได้ของสถานศึกษาขึ้นเป็นการเฉพาะ สำหรับสถานศึกษา โดยระเบียบดังกล่าวต้องมีความยืดหยุ่น คล่องตัว โปร่งใสและก่อให้เกิดความเป็นอิสระแก่สถานศึกษา ​​​​​กรณีนี้ขอเรียนถามว่ากฎหมายข้อนี้ให้ใช้บังคับได้เฉพาะเงินรายได้สถานศึกษาเท่านั้นใช่หรือไม่ หากเป็นเงินอุดหนุนหรือเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร จะได้ประโยชน์จากมาตรานี้หรือไม่

ข้อ ๑๒ คำว่า “อาจารย์” และ “บุคลากรทางการศึกษา”ในมาตรา ๓๒ มีความหมายว่าอย่างไร เพราะไม่ปรากฏคำนี้ในนิยามศัพท์

ข้อ ๑๓ “บุคลากรทางการศึกษา” ที่บัญญัติไว้ในมารตรา ๓๓ หมายถึงใคร อย่างไร เพราะไม่ปรากฏคำนี้ในนิยามศัพท์

ข้อ ๑๔ มาตรา ๓๔ บัญญัติว่าผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา ต้องมีจิตวิญญาณความเป็นครู ​​​​​​​​​​ กรณีนี้เห็นว่าควรบัญญัติให้บุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูง และมีสิทธิ์ประโยชน์ใดๆเท่ากับครู เพราะเป็นบุคคลที่จะต้องผ่านการเคี่ยวกรำทั้งความรู้ความสามารถและการถูกปลูกฝังจิตวิญญาณของความเป็นครู

ข้อ ๑๕ มาตรา ๓๕ วรรคสาม บัญญัติว่า “คณะกรรมการสถานศึกษาหรือคณะกรรมการกลุ่มสถานศึกษาต้องบริหารงานบุคคลตามกฎ....... กรณีนี้เห็นได้ว่าผู้ร่างฯมีเจตนาให้กรรมการสถานศึกษามีอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลซึ่งหมายถึงข้าราชการครูในสถานศึกษานั้นๆ.....​​​กรณีนี้สมาคมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่ให้อำนาจกรรมการสถานศึกษาเป็นผู้มีหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา เพราะจะเกิดปัญหาความขัดแย้งอย่างรุนแรงในสถานศึกษาโดยจะทำให้หัวหน้าสถานศึกษาไม่สามารถบริหารงานได้เนื่องจากมีองค์กรอื่นซ้อนอยู่เปรียบเสมือนภาษิตที่เรียกว่า “ข้าหลายเจ้า บ่าวหลายนาย” และอาจเกิดปัญหาบุคคลในองค์กรไม่ฟังผู้บริหารสถานศึกษาแต่ไปเกาะเกี่ยวกับกรรมการสถานศึกษา มาตรานี้เป็นมาตราที่จะสร้างความเสียหายให้กับกระบวนการจัดการศึกษามากที่สุด ที่สำคัญคือไม่เคยปรากฏว่าหน่วยงานอื่นหรือกระทรวงอื่นได้ดำเนินการเยี่ยงนี้หรือไม่

​ข้อ ๑๖ มาตรา ๓๙ วรรคท้าย ได้บัญญัติไว้มีคำสำคัญว่า “ผู้บริหารการศึกษา” ซึ่งไม่สามารถทราบได้ว่าหมายถึงผู้ใดเพราะไม่ปรากฏในนิยามศัพท์ตามมาตรา ๔

​ข้อ ๑๗ มาตรา ๔๐ วรรคสี่ บัญญัติมีสาระสำคัญว่าให้คณะกรรมการสถานศึกษาสรรหาผู้บริหารสถานศึกษา ให้แก่สถานศึกษาเพื่อเสนอให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตามกฎ ข้อบังคับฯลฯ และมติที่องค์กรกลางบริหารงานบุคคลกำหนด ​​​​​​​​กรณีนี้สมาคมขอเรียนถามว่าแนวคิดเรื่องการให้คณะบุคคลภายนอกเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการระดับผู้บริหาร เช่นนี้ มีหน่วยงานใด องค์กรใดเคยนำไปใช้แล้วประสบความสำเร็จบ้าง ถ้าแนวคิดนี้เหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองอย่างยิ่ง ก็ต้องนำไปใช้ในเรื่องการคัดเลือกนายอำเภอ คัดเลือกสรรพากรอำเภอ คัดเลือกผู้กำกับการสถานีตำรวจ คัดเลือก ผู้บังคับการทหารบกจังหวัดต่างๆ แนวคิดในเรื่องการให้คณะกรรมการสถานศึกษา สรรหา คัดเลือกผู้อำนวยการสถานศึกษา หากผ่านไปได้จะสร้างความเสียหายให้กับวงการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง​​

ข้อ ๑๘ มาตรา ๗๔ วรรคสี่ บัญญัติให้มีศึกษานิเทศก์ ในกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่จัดการศึกษา ​​​​​​​กรณีนี้ขอเรียนถามว่า “ศึกษานิเทศก์”หมายถึงใคร อะไร เพราะมาตรา ๔ ไม่ได้นิยามศัพท์คำว่า “ศึกษานิเทศก์” ไว้​

ข้อ ๑๙ มาตรา ๘๘ บัญญัติให้มีคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานมีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญในเรื่องการขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาในระดับประเทศ โดยมีภารกิจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๙๓ ถึง ๑๐ ข้อ ทั้งนี้คณะกรรมการโดยตำแหน่งประกอบด้วยปลัดกระทรวงทุกกระทรวง​​​​​​​​​กรณีนี้ขอเรียนว่าองค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ ที่จะมาทำหน้าที่ขับเคลื่อนงานด้านการศึกษา นั้น ประกอบด้วยผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจและมีประสบการณ์งานด้านการศึกษาเพียงคนเดียวเท่านั้นคือปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่เหลือคือบุคคลวิชาชีพอื่น จึงสรุปได้ว่าคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ ประกอบด้วยผู้ไม่มีความรู้ด้านการจัดการศึกษา ไม่มีประสบการณ์ด้านการจัดการศึกษา ไม่ได้ผ่านการศึกษาหรือมีคุณวุฒิทางการศึกษา ยกเว้นปลัดกระทรวงศึกษาธิการเพียงรายเดียว เท่านั้น ดังนั้นหากนำแนวคิดนี้ไปใช้ในการบริหารกองทัพโดยให้มีบอร์ดกองทัพที่มีบุคคลที่ประกอบวิชาชีพทหารเพียงคนเดียว บอร์ดที่เหลือไม่ได้เป็นทหาร อย่างนี้กองทัพจะมีความเข้มแข็งและมีพัฒนาการหรือไม่​

ข้อ ๒๐ มาตรา ๑๐๕ วรรคแรก บัญญัติไว้เป็นสาระสำคัญว่า “ในวาระเริ่มแรกไม่เกินห้าปี ให้สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำหน้าที่เป็นสถาบันพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้” และ วรรคสามบัญญัติไว้ว่า “ในห้วงเวลาไม่เกินห้าปีให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาว่าสมควรจะจัดตั้งสถาบันพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้ หรือไม่ หากเห็นว่าไม่สมควรจัดตั้งก็ให้สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำหน้าที่เป็นสถาบันพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้ ​​​กรณีนี้ขอเรียนว่าหลักสูตรและการเรียนรู้ นั้นเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการจัดการศึกษาที่ครูต้องนำไปใช้เป็นแนวทาง แต่กลับให้สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นผู้ดำเนินการทั้งๆที่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นั้นมีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในเรื่องหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เท่านั้น

ข้อ ๒๑ มีการบัญญัติให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ (มาตรา ๑๐๖) ​​​​​​​​กรณีนี้เชื่อได้ว่าเป็นการบัญญัติไว้เพื่อเตรียมการในการมอบอำนาจให้ศึกษาธิการจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาครูในแต่ละจังหวัด เป็นการฟื้นคืนคำสั่ง คสช.ฉบับที่ ๑๙/๒๕๖๐ กลับคืนมา บริหารจัดการแบบควบรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง (Single Command) เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง​

​จากร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯฉบับนี้ เห็นได้ว่าปัญหาใหญ่ที่สุดคือมีการให้อำนาจกรรมการสถานศึกษามากมายซี่งสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งในการทำให้การจัดการศึกษาล้มเหลวเพราะเป็นการมอบอนาคตทางการศึกษาไปอยู่ในมือของกรรมการสถานศึกษาซึ่งเป็นผู้ที่ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการจัดการศึกษา ไม่ได้มีเวลาในการจัดการศึกษา ไม่มีทักษะและประสบการณ์ในการจัดการศึกษา และหากได้คนไม่ดีเข้ามาเป็นกรรมการสถานศึกษาก็จะทำให้เกิดการทุจริตในวงการศึกษาที่ไม่อาจควบคุมได้

จากข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายดังกล่าวที่นำเรียนข้างต้น จึงขอความเมตตาจากนายกรัฐมนตรีขอได้โปรดดำเนินการให้มีการถอนร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯ ฉบับนี้ออกไปปรับปรุงเพื่อให้เป็นกฎหมายการศึกษาที่มุ่งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริง เสียก่อนแล้วจึงนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ต่อไป อันจะเป็นคุณูปการต่อการศึกษาของชาติบ้านเมืองสืบต่อไป

​จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง

​​​​นายรัชชัยย์ ศรสุวรรณนายกสมาคม
โทรท ๐๘๓-๒๖๕๒๖๙๓

 

 

 


"รัชชัยย์" ร่อนจดหมายถึงนายกฯ เรื่อง ปัญหาของร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.....รัชชัยย์ร่อนจดหมายถึงนายกฯเรื่องปัญหาของร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติพ.ศ.....

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

เปิดอ่าน 544 ☕ 23 พ.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เปิดอ่าน 544 ☕ 23 พ.ย. 2567

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เปิดอ่าน 483 ☕ 23 พ.ย. 2567

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เปิดอ่าน 164 ☕ 23 พ.ย. 2567

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เปิดอ่าน 298 ☕ 23 พ.ย. 2567

นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569
นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569
เปิดอ่าน 2,278 ☕ 22 พ.ย. 2567

ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
เปิดอ่าน 598 ☕ 22 พ.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

กระชับรูขุมขนด้วยน้ำแข็ง
กระชับรูขุมขนด้วยน้ำแข็ง
เปิดอ่าน 12,221 ครั้ง

ทักษะอะไรที่นายจ้างยุคเศรษฐกิจ 4.0 ต้องการ ?
ทักษะอะไรที่นายจ้างยุคเศรษฐกิจ 4.0 ต้องการ ?
เปิดอ่าน 26,263 ครั้ง

ขนส่งฯ แจ้ง เปลี่ยนทะเบียนแตกลายงา ฟรี! วันนี้ - 30 ก.ย. 56
ขนส่งฯ แจ้ง เปลี่ยนทะเบียนแตกลายงา ฟรี! วันนี้ - 30 ก.ย. 56
เปิดอ่าน 15,358 ครั้ง

รายการคำทับศัพท์รวบรวมจากการสะกดตามราชบัณฑิตยสถาน
รายการคำทับศัพท์รวบรวมจากการสะกดตามราชบัณฑิตยสถาน
เปิดอ่าน 298,038 ครั้ง

จัดอันดับทุนมนุษย์
จัดอันดับทุนมนุษย์
เปิดอ่าน 8,080 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ