ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

กรดไหลย้อน และการรักษากรดไหลย้อน


ความรู้ทั่วไป 20 ม.ค. 2566 เวลา 05:20 น. เปิดอ่าน : 2,079 ครั้ง
Advertisement

กรดไหลย้อน และการรักษากรดไหลย้อน

Advertisement

กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) เป็นภาวะที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร ซึ่งเกิดจากกรดในกระเพาะอาหาร จนทำให้เกิดอาการที่รบกวนต่อการชีวิตประจำวัน และเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ เช่น การอักเสบของหลอดอาหาร

โรคกรดไหลย้อนเป็นภัยเงียบที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยสาเหตุหลักๆ ของโรคนี้ก็มาจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของเรานั่นเอง โดยจะทำให้มีอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ ลามขึ้นมาบริเวณหน้าอกหรือลำคอ หลังจากทานอาหารมื้อหนัก และมีอาการเรอมีกลิ่นเปรี้ยว

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน

  • หลอดอาหารส่วนปลายคลายตัวโดยที่ยังไม่กลืนอาหาร
  • ความดันจากหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลายลดลงต่ำกว่าปกติ หรือเกิดการเลื่อนของกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหาร
  • ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร หรือหลอดอาหาร ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ
  • เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรือเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
  • พฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น การรับประทานเสร็จแล้วนอนทันที การรับประทานของมันๆ มากเกินไป
  • ภาวะความเครียด โดยผู้ที่มีความเครียดมักมีภาวะหลอดอาหารที่มีความไวเกินต่อสิ่งกระตุ้น หลอดอาหารอ่อนไหวต่อกรด เมื่อมีกรดไหลย้อนขึ้นมาแม้เพียงเล็กน้อย จะมีอาการแสดงทันที
  • ปัจจัยอื่นๆ เช่น โรคอ้วน การตั้งครรภ์ สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม การรับประทานยาบางชนิด เป็นต้น

“รับประทานแล้วนอน” ระวังกรดไหลย้อนมาเยือน

หนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรคกรดไหลย้อน ก็คือ พฤติกรรม “รับประทานแล้วนอน” ซึ่งการนอนจะทำให้หูรูดมีการทำงานที่ไม่ดี เกิดอาการกรดไหลย้อนขึ้นไปได้ รวมไปถึงท่านอนราบยังทำให้กรดไหลย้อนขึ้นไปได้ง่ายกว่าปกติ นอกจากนี้แล้ว การรับประทานอาหารและนอนทันที ยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกรดไหลย้อนถึง 2 เท่า


กรดไหลย้อน ใครๆ ก็เป็นได้

อย่างที่ทราบกันดีว่า โรคกรดไหลย้อน มักพบในผู้ที่ทำงานออฟฟิศ เนื่องมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร แต่ไม่เพียงเท่านั้น โรคกรดไหลย้อนสามารถพบได้ในทุกกลุ่มอายุ เป็นโรคใกล้ตัวที่ใครๆ ก็เป็นได้ โดยผู้ที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ มีความเสี่ยงเป็นกรดไหลย้อน

  • รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา รับประทานแล้วนอนทันที
  • ชอบรับประทานผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวเป็นประจำ
  • ดื่มสุรา น้ำอัดลม
  • สูบบุหรี่
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์
  • มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือโรคอ้วน
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็ง
  • รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตสูงบางชนิด ยาแก้โรคซึมเศร้า เป็นต้น

แน่ใจได้อย่างไรว่าเป็นกรดไหลย้อน? อาการแบบไหนใช่ “กรดไหลย้อน”

อาการต่างๆ เหล่านี้ ถือเป็นสัญญาณเตือนของโรคกรดไหลย้อน หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ นั่นแสดงว่าคุณกำลังเผชิญกับโรคกรดไหย้อนอยู่

  • แสบร้อนบริเวณหน้าอก ซึ่งจะเป็นมากหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก
  • มีอาการเรอเปรี้ยว มีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก
  • ท้องอืด แน่นท้อง คล้ายอาหารไม่ย่อย
  • คลื่นไส้ อาเจียน หลังรับประทานอาหาร
  • เจ็บหน้าอก จุก คล้ายเหมือนมีก้อนติดอยู่ในลำคอ
  • หืดหอบ ไอแห้งๆ เสียงแหบ
  • เจ็บคอเรื้อรัง

นอกจากการสังเกตอาการของตนเองแล้ว โรคกรดไหลย้อน ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนบางราย อาจมีอาการแสดงอื่นๆ ที่แตกต่างกันไป อาทิ เจ็บหน้าอก ไซนัสอักเสบ เป็นต้น ซึ่งแพทย์จะต้องตรวจซักประวัติและวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการ โดยวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อน เช่น การส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น การเอกซเรย์กลืนสารทึบแสง การตรวจการบีบตัวของหลอดอาหาร การตรวจวัดความเป็นกรดด่างในหลอดอาหาร


ปรับพฤติกรรม รักษา“กรดไหลย้อน”

โรคกรดไหลย้อนพบได้ตั้งแต่เด็กทารกไปจนถึงผู้ใหญ่ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาและป้องกันโรคนี้ก็คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เพราะเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ และช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วย ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้

  • รับประทานอาหารปริมาณน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
  • ไม่ควรนอนทันทีหลังรับประทานอาหาร
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารที่มีไขมันสูง
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้
  • รับประทานอาหารมื้อเย็น ก่อนเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ไม่สวมใส่เสื้อผ้าที่รัดรูปมากเกินไป

โรคกรดไหลย้อนหากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษา จนกลายเป็นภาวะเรื้อรัง จะส่งผลให้เกิดแผลและรุนแรงจนหลอดอาหารตีบ และอาจร้ายแรงจนทำให้เกิดความเสี่ยงเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ เนื่องจากหลอดอาหารส่วนปลายมีการสัมผัสกับกรดมากเกินไป ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้โรคลุกลามและเรื้อรัง หากมีอาการดังกล่าว ควรรีบไปรับการตรวจวินิจฉัยและจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางเดินอาหารและตับ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง

 

ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลศิครินทร์ กรุงเทพ


กรดไหลย้อน และการรักษากรดไหลย้อนกรดไหลย้อนและการรักษากรดไหลย้อน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ประวัติความเป็นมา วันแม่

ประวัติความเป็นมา วันแม่


เปิดอ่าน 9,421 ครั้ง
ขีปนาวุธเร็วกว่าเสียง

ขีปนาวุธเร็วกว่าเสียง


เปิดอ่าน 10,343 ครั้ง
Google Me เตรียมชนขาใหญ่ Facebook

Google Me เตรียมชนขาใหญ่ Facebook


เปิดอ่าน 8,590 ครั้ง
ผักบำรุงสมอง

ผักบำรุงสมอง


เปิดอ่าน 31,193 ครั้ง
สารพัดคุณค่าจาก กล้วย

สารพัดคุณค่าจาก กล้วย


เปิดอ่าน 11,834 ครั้ง
อีกมุมของ "น้ำมันปลา"

อีกมุมของ "น้ำมันปลา"


เปิดอ่าน 16,217 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

อันตรายจากการกินของดอง

อันตรายจากการกินของดอง

เปิดอ่าน 9,879 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
10 กิจกรรม กระตุ้นสมองให้แอคทีฟสุด ๆ
10 กิจกรรม กระตุ้นสมองให้แอคทีฟสุด ๆ
เปิดอ่าน 25,191 ☕ คลิกอ่านเลย

ฮวงจุ้ยห้องนอน เพื่อรักยืนยาว
ฮวงจุ้ยห้องนอน เพื่อรักยืนยาว
เปิดอ่าน 14,908 ☕ คลิกอ่านเลย

ปวดท้องแบบไหน เป็นไส้ติ่งอักเสบ
ปวดท้องแบบไหน เป็นไส้ติ่งอักเสบ
เปิดอ่าน 13,176 ☕ คลิกอ่านเลย

สารอาหารแห่งอนาคต
สารอาหารแห่งอนาคต
เปิดอ่าน 8,455 ☕ คลิกอ่านเลย

อาหารเพิ่มน้ำหนักลูก
อาหารเพิ่มน้ำหนักลูก
เปิดอ่าน 12,333 ☕ คลิกอ่านเลย

ที่ไปและที่มาของการชู 2 นิ้ว (สู้ตายค่ะ)
ที่ไปและที่มาของการชู 2 นิ้ว (สู้ตายค่ะ)
เปิดอ่าน 29,504 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

กำจัด "กลิ่นปาก" ให้สิ้นซาก
กำจัด "กลิ่นปาก" ให้สิ้นซาก
เปิดอ่าน 36,151 ครั้ง

เช็คให้ดี! "ฮวงจุ้ยห้องพระ" วางตรงไหนเหมาะ วางไม่ดีอาจทำเงินทองรั่วไหล
เช็คให้ดี! "ฮวงจุ้ยห้องพระ" วางตรงไหนเหมาะ วางไม่ดีอาจทำเงินทองรั่วไหล
เปิดอ่าน 128,494 ครั้ง

จดหมายฉบับที่ 54 ถึงนายกรัฐมนตรี+รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
จดหมายฉบับที่ 54 ถึงนายกรัฐมนตรี+รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เปิดอ่าน 18,312 ครั้ง

กรมการขนส่งทางบก   เตรียมนําแผ่นป้ายทะเบียนรถรูปแบบใหม่ออกให้บริการประชาชน หลังจากหมวด ฆฮ เริ่มต.ค.
กรมการขนส่งทางบก เตรียมนําแผ่นป้ายทะเบียนรถรูปแบบใหม่ออกให้บริการประชาชน หลังจากหมวด ฆฮ เริ่มต.ค.
เปิดอ่าน 15,512 ครั้ง

17 พฤติกรรมบ่งชี้ ออทิสติกในเด็ก
17 พฤติกรรมบ่งชี้ ออทิสติกในเด็ก
เปิดอ่าน 10,753 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ