Advertisement
Advertisement
กรุงเทพฯ 27 ธันวาคม 2565 - กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. ได้รับการรับรองจากคณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการรบอร์ดบริหาร ถึงการดำเนินงาน ในช่วงระยะเวลาสามปี (61 – 63 ) สำเร็จเป็นไปตามวัตถุประสงค์ สามารถสนับสนุนช่วยเหลือสนับสนุนเงินและค่าใช้จ่ายแก่เด็กและเยาวชนจนสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเสริมสร้างการพัฒนาคุณภาพครูและสถานศึกษาให้มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน พร้อมรับข้อเสนอนแนะบอร์ดบริหาร มุ่งมั่นร่วมมือกับเครือข่าย ดำเนินการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบในด้านต่าง ๆ สร้างแผนดำเนินการที่ชัดเจน เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาอย่างมั่นคง
ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหาร กสศ. ครั้งที่ 13/2565 บอร์ดและคณะรัฐมนตรี มีมติรับทราบและรับรองการดำเนินงาน ของ กสศ. ในรอบสามปี (14 พ.ค. 61 – 13 พ.ค. 65) ถึงความสำเร็จและไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561 สามารถให้ความช่วยเหลือสนับสนุนเงินและค่าใช้จ่ายแก่เด็กและเยาวชนจนสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเสริมสร้างการพัฒนาคุณภาพครูและสถานศึกษาให้มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน เกิดผลสัมฤทธิ์สำคัญที่นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม โดยสามารถสร้าง 1) นวัตกรรมการคัดกรองความยากจน 2) ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ “Information System for Equitable Education หรือ iSEE” 3) ระบบการติดตามนักเรียนทุนรายบุคคลผ่านเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก 4) การระดมความร่วมมือร่วมกับภาคเอกชน (Innovative Finance) ผ่านความร่วมมือในรูปแบบต่าง ๆ 5) การระดมทุนจากภาคประชาสังคม และภาคเอกชน 6) เกิดต้นแบบการทำงานร่วมกันในพื้นที่
อีกทั้ง คณะกรรมการประเมินผล กสศ. ได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้ กสศ. ดำเนินการในระยะต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในเรื่อง 1)การเสริมสร้างการบริหารจัดการภายใน (Strengthening Internal Foundation) 2) ความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย (Networking and Partnership) และ 3) การมุ่งหน้าสู่ความเสมอภาคทางการศึกษา (Supporting Equitable Education) โดยมุ่งเน้นการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบในด้านต่าง ๆ รวมถึงแผนการส่งต่อที่ชัดเจนแก่หน่วยงานด้านนโยบายและภาคีที่เกี่ยวข้อง
“การดำเนินงานของ กสศ. เป็นสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย มีการจัดการงบประมาณด้านการศึกษาโดยใช้หลักความเสมอภาค และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ท้องถิ่น ชุมชนและภาคประชาสังคมให้มีส่วนร่วมจัดการศึกษาในพื้นที่นำร่อง ปรับเปลี่ยนการทำงานแบบแยกส่วน มาเป็นการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ ที่คนในพื้นที่มีส่วนร่วมออกแบบวางระบบให้มีโครงสร้างที่เหมาะสมกับบริบทและสภาพปัญหาความต้องการของพื้นที่ตนและสามารพัฒนาให้เกิดความต่อเนื่องได้ ถือได้ว่า เป็นการวางพื้นฐานและสร้างจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบที่จะพัฒนาต่อยอดสู่ระบบนิเวศน์เพื่อการบูรณาการและนำไปสู่การสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาได้ต่อไป ในส่วนของข้อเสนอแนะที่ได้รับก็เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพื่อให้เป็นแนวทางในการทำงาน จะนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคตต่อไป” ดร.ไกรยส กล่าว






Advertisement
|
เปิดอ่าน 4,518 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,469 ครั้ง |
เปิดอ่าน 3,598 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,877 ครั้ง |
เปิดอ่าน 2,893 ครั้ง |
เปิดอ่าน 5,324 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,709 ครั้ง |
เปิดอ่าน 4,583 ครั้ง |
เปิดอ่าน 7,911 ครั้ง |
เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,327 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,116 ครั้ง |
เปิดอ่าน 5,924 ครั้ง |
เปิดอ่าน 5,449 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,068 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 2,736 ☕ 22 พ.ค. 2566 |

เปิดอ่าน 1,379 ☕ 26 พ.ค. 2566 | 
เปิดอ่าน 6,710 ☕ 25 พ.ค. 2566 | 
เปิดอ่าน 1,144 ☕ 25 พ.ค. 2566 | 
เปิดอ่าน 23,335 ☕ 25 พ.ค. 2566 | 
เปิดอ่าน 8,631 ☕ 24 พ.ค. 2566 | 
เปิดอ่าน 19,782 ☕ 22 พ.ค. 2566 |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 11,230 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 54,744 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 31,454 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 11,742 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 4,100 ครั้ง |
|
|