เมื่อวันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565 ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียนและประชุมติดตามการดำเนินงานโรงเรียนในโครงการจัดการศึกษาทางไกลแบบสื่อสารสองทาง สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระยะที่ 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ ห้องประชุมแก้วกินรี โรงเรียนมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
โดยโรงเรียนในโครงการจัดการศึกษาทางไกลแบบสื่อสารสองทาง สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีโรงเรียนต้นทางคือ โรงเรียนมุกดาหาร สพม.มุกดาหาร และโรงเรียนปลายทาง 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียมัธยมพัชรกิติยาภา ๑ นครพนม สพม.นครพนม โรงเรียนบ้านกกตูม สังกัด สพป.มุกดาหาร และโรงเรียนวัดฤาษีสถิต สังกัด สพป.บุรีรัมย์ เขต 4
ในการประชุมครั้งนี้ มีผู้ร่วมประชุม ประกอบด้วย ตัวแทนจาก สพฐ. ได้แก่ ดร.ชนาธิป ทุ้ยแป รักษาการผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา นางสาวนวลพรรณ พูลศรีสวัสดิ์ รองผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน นางสาวชยพร กระต่ายทอง รองผู้อํานวยการสํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา และนักวิชาการศึกษา สทศ. สวก. ศนฐ.และ สทร. พร้อมด้วยคณะกรรมการในภูมิภาค โครงการจัดการศึกษาทางไกลแบบสื่อสารสองทาง สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระยะที่ 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย นายอภิชัย ทำมาน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 ประธานกรรมการและผู้ตรวจราชการกลุ่มพื้นที่การศึกษาประจำเขตตรวจราชการที่ 11 นายมนัส เจียมภูเขียว ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 ประธานกรรมการและผู้ตรวจราชการกลุ่มพื้นที่การศึกษา ประจําเขตตรวจราชการที่ 13 นายจรณเดช บุปผาชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร นายโชคชัย จันทะโสตถิ์ รอง ผอ. สพม. มุกดาหาร นายฉัตรชัย ไชยมงค์ รอง ผอ. สพม. นครพนม นายประภาส ไชยมี รอง ผอ.สพป. มุกดาหาร ผู้แทน ผอ.สพป. บุรีรัมย์ เขต 4 และผู้อำนวยการโรงเรียนในโครงการ ประกอบด้วยโรงเรียนมุกดาหาร โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา 1 นครพนม และโรงเรียนบ้านกกตูม จ.มุกดาหาร
จาการประชุมและการนำเสนอผลการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมาในครั้งนี้ รองเลขาธิการ กพฐ. ได้จัดคณะดำเนินงานจาก สทร. สวก. สทศ. และ ศนฐ. เพื่อให้การสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียนในโครงการ พร้อมทั้งช่วยเสนอแนะแนวทางการวัดผลประเมินผลสำหรับนักเรียนที่มีความแตกต่างกันอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งยังมุ่งเน้นให้มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการ Active Learning โดยให้ความเชื่อมั่นว่าศึกษานิเทศก์ในพื้นที่ จะร่วมมือในการเข้ามาพัฒนาและให้คำแนะนำครูผู้สอนได้ เพื่อให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ และผู้เรียนเป็นคนดี เก่ง และมีความสุข
นอกจากนี้ รองเลขาธิการ กพฐ. ยังได้ชื่นชมโรงเรียนต้นทางมีการพัฒนาการดำเนินงานโครงการเป็นอย่างดี เป็นเสมือนพี่อย่างแท้จริง ช่วยนักเรียนโรงเรียนปลายทางให้ได้เรียนรู้ไปพร้อมกับโรงเรียนต้นทางซึ่งมีความพร้อมด้านบุคลากรและสื่อการจัดการเรียนรู้ โดยได้รับการสนับสนุนจากเขตพื้นที่การศึกษาที่เป็นต้นสังกัดของโรงเรียนต้นทางและโรงเรียนปลายทางอย่างดี รวมถึงครูทั้งโรงเรียนต้นทางและโรงเรียนปลายทางมีการทำ PLC ร่วมกัน ทั้งนี้ครูโรงเรียนต้นทางเตรียมการจัดการเรียนการสอนอยู่ตลอด เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างเข้าใจเท่าเทียมกันทุกห้องเรียนทั้งต้นทางและปลายทาง
ดร.เกศทิพย์ กล่าวต่อไปว่า สิ่งที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มอบหมายให้สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ทำการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับระบบ และอุปกรณ์การเรียนการสอน เพื่อปรับปรุง หรือจัดสรรเพิ่มเติม และในวันที่ 8 ธันวาคม 2565 นี้ จะนัดหมายสำนักที่เกี่ยวข้อง ประชุมสรุปผลการตรวจเยี่ยมโรงเรียนในโครงการ เพื่อเตรียมการนำเสนอต่อคณะกรรมการมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ต่อไป