ปัจจุบันต้องยอมรับว่า ปัญหาโรคซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย ไม่ใช่เรื่องไกลตัว และยังเกิดการสูญเสียหลายด้าน นอกจากโรคซึมเศร้าที่รู้จักกันดีแล้ว ยังมีการเจ็บป่วยด้านจิตใจอีกชนิดหนึ่ง เป็นภาวะซึมเศร้าแต่ไม่แสดงอาการซึมเศร้าออกมาให้เห็นเด่นชัด เกิดผลกระทบต่อชีวิตของผู้ป่วยและคนใกล้ชิดได้ไม่น้อยกว่าโรคซึมเศร้า การเจ็บป่วยนี้ คือ
นายแพทย์ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย จิตแพทย์ และกรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลมนารมย์ ระบุว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) จะมีอาการซึมเศร้าชัดเจน เช่น เบื่อหน่าย ท้อแท้ หมดกำลังใจ ขาดความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด นอนไม่หลับ รู้สึกไร้ค่า คิดอยากตาย
- พูดถึงหรือแสดงอาการเจ็บป่วยทางกายให้เห็นบ่อยๆ เช่น ปวดหัว ปวดหลัง ปวดท้อง เจ็บหน้าอก หายใจไม่อิ่ม คลื่นไส้ ปั่นป่วนในท้อง
- ไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุอาการป่วยทางกายที่เกิดขึ้น แต่หาสาเหตุที่แท้จริงไม่ค่อยได้ ได้แต่รักษาไปตามอาการที่เกิดขึ้นเรื่อยๆ
- ยังทำงาน เรียน หรือทำกิจกรรมปกติประจำวันได้เหมือนเดิม แต่ประสิทธิภาพด้อยลงเพราะมีความเครียด และความกังวลมากเกินไป ต่างจากผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่อาจมีอาการมากเกินไปจนไม่สามารถเรียนหรือทำงาน หรือรับผิดชอบในสิ่งที่เคยทำได้ดีเหมือนเดิม
- อาจมีพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำเพื่อให้ได้มาซึ่งความสมบูรณ์แบบ (Perfectionist) หมกมุ่นกับการทำให้ทุกอย่างออกมาดีที่สุด ต้องเรียนได้เกรดดี สอบได้คะแนนดี ทำงานไม่ผิดพลาด ผลงานต้องออกมาน่าพอใจ เพราะลึกๆ ในใจมีความไม่มั่นใจในตัวเอง ไม่มั่นคงทางอารมณ์ จึงพยายามเพื่อให้ตัวเองเป็นที่ยอมรับของคนอื่น และหากทำไม่ได้ดั่งใจหวังจะเสียใจ และผิดหวังค่อนข้างรุนแรง ไปจนถึงโทษตัวเอง โกรธตัวเองที่ทำไม่ได้ รวมถึงหงุดหงิดง่ายกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ มีความแปรปรวนทางอารมณ์สูง
- อาจมีพฤติกรรมบ้างาน (Workaholic) คือการทุ่มเทในการเรียนหรือทำงานมากเกินไปจนเผลอฝืนร่างกายของตัวเองโดยไม่รู้ตัว กดดันตัวเองว่าต้องทำให้ได้ พยายามอ่านหนังสือหรือนั่งทำงานแบบหามรุ่งหามค่ำจนลืมใส่ใจสุขภาพตัวเอง
- ในบางราย ความคาดหวังหมกมุ่นเหล่านี้ ก่อให้เกิดความเครียดสะสมหรือปัญหาการนอนไม่หลับ จนต้องแก้ปัญหาด้วยการใช้เหล้า สุรา ยานอนหลับ หรือสารเสพติด
Advertisement
ผู้มีภาวะซึมเศร้าซ่อนเร้นมีสุขภาพจิตไม่แข็งแรง ทำให้ความสามารถในการรับมือกับปัญหา ความผิดหวังจากเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงที่เข้ามาในชีวิตจะทำได้ไม่ดี นำไปสู่การป่วยทางจิตใจต่อไป อาจถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าได้ และหากไม่สามารถปรับตัวได้อีกก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนถึงการฆ่าตัวตายก็เป็นได้
การรักษาผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าซ่อนเร้นอาจมีความยุ่งยากตรงที่ผู้ป่วยกลุ่มนี้จำนวนมากมักไม่ยอมรับว่าตัวเองป่วย จะมองหาแต่อาการป่วยทางกายภาพเท่านั้น และเมื่อเห็นว่าร่างกายของตัวเองปกติดี จึงไม่คิดว่าตัวเองกำลังป่วยทางสภาพจิตใจ จึงไม่เข้าพบจิตแพทย์และเก็บปัญหาเครียดสะสม ความไม่มั่นใจในตัวเอง ความไม่มั่นคงทางอารมณ์ และอื่นๆ เอาไว้กับตัวเอง ดังนั้นก่อนอื่นผู้ป่วยต้องยอมรับตัวเองก่อนว่ากำลังมีปัญหา และเปิดใจเข้ารับการปรึกษากับจิตแพทย์
สำหรับวิธีการรักษาผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าซ่อนเร้น มักไม่มีวิธีการรักษา 1 2 3 4 ที่ตายตัว เพราะอาการของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้นจิตแพทย์จึงอาจพิจารณาให้ความรู้ ความเข้าใจ ทำจิตบำบัด บำบัดด้วยวิธีอื่นๆ เข้ามาช่วย เช่น ศิลปะบำบัด ฝึกผ่อนคลาย ฝึกสมาธิ รวมถึงการช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจตัวเอง ปรับเปลี่ยนมุมมองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต เลือกใช้วิธีแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์กว่าเดิม ไม่ทำร้ายตัวเอง มองเห็นคุณค่าในตัวเอง หรือในบางรายอาจพิจารณายาแก้อาการซึมเศร้าได้บ้าง
ถ้าหากทุกคนมีความรู้เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าซ่อนเร้นมากขึ้น สามารถแนะนำ ช่วยเหลือผู้ที่ประสบภาวะดังกล่าวให้ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมจะช่วยลดปัญหาสุขภาพจิตในประเทศไทยได้อีกมาก ประชากรที่มีความสุขทางจิตใจก็มีมากขึ้น
ขอบคุณที่มาจาก ข้อมูล : นายแพทย์ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย จิตแพทย์ และกรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลมนารมย์ และ สนุก.คอม