“พืช” คือสิ่งที่ทำให้คนไทยมีอาหารเลี้ยงปากท้องและยังสร้างรายได้กับครัวเรือน ต่อยอดไปจนถึงการสร้างรายได้ให้ประเทศจนกลายเป็น “พืชเศรษฐกิจ” ที่เกษตรกรจำนวนมากยึดถือเป็นอาชีพ จึงอยากนำเสนอให้กับผู้ที่สนใจหรือคนที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้เพื่อโอกาสในการสร้างประโยชน์ต่อตัวเองและประเทศชาติต่อไปในอนาคต
อย่างที่กล่าวไปว่าพืชถือเป็นปัจจัยสำคัญในการหล่อเลี้ยงชีวิตให้กับคนไทยมาอย่างยาวนาน ซึ่งไม่ใช่แค่การบริโภคเท่านั้น แต่เมื่อปลูกในปริมาณมากขึ้นก็ย่อมสร้างรายได้ให้กับเกษตรมากตามไปด้วย ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันมีพืชเศรษฐกิจที่ส่งเสริมอาชีพ ทำเงินให้กับคนในประเทศเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ไม่ใช่หมายถึงการส่งออกพืชเหล่านั้นแบบสด ๆ เพียงอย่างเดียว แต่หลายชนิดยังถูกนำมาแปรรูปเพื่อสร้างประโยชน์และเม็ดเงินได้อีกมากมาย
พืชเศรษฐกิจเหล่านี้ไม่ใช่แค่การบริโภคของคนเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการถูกนำไปเลี้ยงสัตว์และทำประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุดด้วย นี่คือความโชคดีของประเทศไทยด้วยพื้นที่และสภาพอากาศเหมาะสมจึงสามารถปลูกพืชต่าง ๆ ได้หลากหลายชนิดในแบบที่หลายประเทศทำไม่ได้ แหล่งรายได้หลักจึงมักมาจากประเทศพัฒนาแล้วแต่ขาดแคลนด้านการผลิตจึงต้องอาศัยการนำเข้านั่นเอง มารู้จักกับพืชเศรษฐกิจของไทยให้มากขึ้น พร้อมเรียนรู้เรื่องราวอื่น ๆ ไปพร้อมกันได้เลย มีสิ่งที่หลายคนอาจไม่รู้อีกมากทีเดียว
อย่างที่กล่าวไปว่าหนึ่งในรายได้ที่ช่วยสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ดีขึ้นมาจาก “พืชเศรษฐกิจ” ดังนั้นบรรดาพืชที่จะกล่าวถึงนี้ยังคงถูกขนานนามให้เป็นพืชเศรษฐกิจในปัจจุบันเหมือนเดิม พร้อมทั้งยังทำเงินให้กับเกษตรกรและประเทศอย่างต่อเนื่อง จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย
ข้าว คือ อาหารหลักของคนไทยและผู้คนอีกจำนวนมาก จึงต้องยอมรับว่ายังคงเป็นพืชเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ได้รับความต้องการจากประเทศคู่ค้ามหาศาลในแต่ละปี โดยเฉพาะพันธุ์ข้าวที่ถูกยกย่องว่าดีสุดของโลกอย่าง “ข้าวหอมมะลิ” ด้วยรสสัมผัสอันเนียนนุ่ม บวกกับรสชาติที่มีความหวานในตัว จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากใครที่ได้ทานต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าอร่อย ซึ่งจริง ๆ แล้วข้าวอันถือเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของเมืองไทยนั้นไม่ได้มีแค่ข้าวหอมมะลิเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีสายพันธุ์อื่น ๆ ด้วย เช่น ข้าวเหนียว, ข้าวหอม, ข้าวขาวพื้นแข็ง เป็นต้น ซึ่งพันธุ์ข่าวที่ถูกส่งออกมากที่สุดได้แก่ ข้าวขาวพื้นแข็ง คิดเป็นเกือบ 50% ของข้าวพันธุ์อื่น ๆ โดยกลุ่มประเทศที่เป็นคู่ค้ารายใหญ่ในการส่งออกข้าวของประเทศไทยคือ จีน และสหรัฐฯ แม้ในปัจจุบันจะมีคู่แข่งรายสำคัญอย่างเวียดนามที่ส่งออกข้าวได้มากกว่า แต่ด้วยคุณภาพจึงต้องยอมรับในด้านของความพึงพอใจที่ผู้บริโภคมีนั้น ข้าวของประเทศไทยยังคงเป็นที่ชื่นชอบ
หากบอกว่านี่คือพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญรองลงมาจากข้าวคงไม่ใช่เรื่องผิดนัก แม้ว่าราคาในประเทศจะมีปรับขึ้น-ลงตามความเหมาะสม แต่ด้วยปัจจุบันการน้ำยางยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพื่อนำไปทำสิ่งต่าง ๆ ให้มนุษย์ได้ใช้งานมากมาย อาทิ ยางรถยนต์, ส่วนผสมในการทำยางมะตอยเทพื้น, ยางกันรั่วซึม, ถุงยางอนามัย และอื่น ๆ อีกมาก ผลิตภัณฑ์ยางพาราของไทยนั้นมีการส่งออกทั้งแบบน้ำยางดิบและผ่านการแปรรูปมาแล้ว จึงส่งผลถึงการสร้างรายได้ที่หลากหลาย ในอดีตการปลูกยางมักปลูกกันแถบภาคใต้ ทว่าปัจจุบันได้มีการพัฒนาและปรับพื้นที่ในภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือในการปลูกยางพารากันมากขึ้น สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรมากตามไปด้วย การที่ยางพาราถูกจัดให้เป็นพืชเศรษฐกิจลำดับที่ 2 ต่อจากข้าว เพราะ ประเทศไทยยังคงถูกยกให้เป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลกมาร่วม 30 ปี โดยคิดเป็นเกือบ ๆ 30% ของยางพาราทั้งหมดที่ใช้งานกันในทุกประเทศ
พืชเศรษฐกิจในปัจจุบันที่กำลังมีความต้องการสูงมาก ๆ ในต่างประเทศ ซึ่งการส่งออกอ้อยนั้นไม่ได้หมายถึงการส่งออกไปแบบสด ๆ เพียงอย่างเดียว แต่มีการนำไปแปรรูปเป็นน้ำตาลทรายเพื่อใช้ปรุงอาหาร รวมถึงมีการนำไปใช้เป็นพลังงานทดแทนต่าง ๆ (น้ำตาลทรายจะถูกส่งออกมากที่สุด) เมื่อเทียบกันในระดับโลกแล้ว ประเทศไทยมีการสร้างรายได้จากอ้อยมากเป็นอันดับ 2 รองเพียงแค่บราซิลประเทศเดียวเท่านั้น จึงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าพืชเศรษฐกิจกลุ่มนี้ยังคงมีความสำคัญต่อการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและประเทศมากจริง ๆ ในอดีตการปลูกอ้อยมักกระจายตามแถบพื้นที่ราบลุ่มและทนแล้งในระดับหนึ่ง เช่น นครสวรรค์, อุดรธานี, นครราชสีมา, กาญจนบุรี, กำแพงเพชร แต่ทุกวันนี้มีเกษตรกรที่หันมาปลูกไร่อ้อยกันมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากได้ราคาดี ดูแลง่าย เก็บเกี่ยวรวดเร็ว ไม่ต้องรอนานเหมือนกับพืชหลาย ๆ ชนิดอีกด้วย
พืชอีกชนิดที่ถูกยกให้เป็นผลิตภัณฑ์สร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยมากในลำดับต้น ๆ ปกติแล้วมันสำปะหลังจะไม่ได้ถูกนำไปใช้ประกอบอาหารของคน แต่จะถูกนำไปแปรรูปเป็นอาหารสัตว์เนื่องจากมีคุณค่าโภชนาการสูง อีกทั้งยังมีการนำไปแปรรูปเพิ่มเติมกลิ่นให้กับอาหารมีความน่าทานมากขึ้น, ผลิตเป็นน้ำมันเอทานอลเพื่อใช้งานแทนที่พลังงานจากน้ำมันดิบ นั่นส่งผลให้พืชเศรษฐกิจตัวนี้มีความต้องการในตลาดโลกสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งไม่ใช่แค่ในประเทศจีนเท่านั้น แต่ประเทศทางแถบยุโรปรวมถึงสหรัฐฯ เองต่างก็เป็นคู่ค้ารายสำคัญเกี่ยวกับการสร้างเม็ดเงินให้ประเทศอีกด้วย ปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้พืชชนิดนี้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจมาจากพื้นที่อันมีแสนอุดมสมบูรณ์ในเมืองไทย จึงปลูกมันสำปะหลังได้ง่าย ดูแลไม่ยุ่งยาก ได้ผลผลิตดี เป็นไปตามความคาดหวังของเกษตรกร หากลองไปพื้นที่ตามต่างจังหวัดจะสังเกตว่ามีพืชชนิดนี้ปลูกอยู่เยอะมาก ๆ
การส่งออกของพืชชนิดนี้จะผ่านการแปรรูปให้กลายเป็นน้ำมันปาล์มเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่ปลูกเป็นอย่างดี ซึ่งทางภาครัฐเองให้ความสำคัญกับผลผลิตชนิดนี้พอสมควร เนื่องจากเมื่อเกษตรกรจำนวนมากเลือกปลูก พอผ่านการแปรรูปแล้วปรากฏว่าของล้นตลาดจนต้องเร่งระบายออกไม่ให้ราคาตกมากเกินไปนัก ซึ่งถ้ามองในมุมของเกษตรกร เมื่อเกิดความต้องการเยอะ ผลผลิตของพวกเขาก็ขายได้รวดเร็วมากขึ้น มีราคาดีกว่าการปล่อยเอาไว้ให้ราคาตก แม้ในบรรดาพืชเศรษฐกิจทั้งหมดที่กล่าวมานี้ปาล์มน้ำมันอาจไม่ใช่พืชที่สร้างรายได้จากจำนวนเงินมหาศาลมากนัก แต่ทั้งนี้ก็ยังถือว่าเป็นพืชที่คนไทยนิยมปลูก เพราะให้ผลผลิตดี ดูแลไม่ยาก ที่สำคัญยังสามารถนำเอาไว้ใช้ในประเทศได้อีกด้วย ยิ่งเมื่อรัฐมีนโยบายที่ใส่ใจมากขึ้นก็เท่ากับโอกาสสร้างรายได้อย่างยั่งยืน
หลังจากการรู้จักกับบรรดาพืชเศรษฐกิจในปัจจุบันของไทยกันไปแล้ว คราวนี้ก็มาต่อกันที่พืชเศรษฐกิจ มีกี่ประเภทกันบ้าง โดยปกติจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของการปลูกหรือการเกิดขึ้น ดังนี้
เป็นประเภทของพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในลำดับต้น ๆ ของเมืองไทย เพราะจากทั้ง 5 ชนิดที่กล่าวมาก่อนหน้าล้วนเป็นพืชไร่ทั้งสิ้น จุดเด่นของพืชเศรษฐกิจประเภทนี้คือ ดูแลรักษาง่าย ไม่ต้องมีขั้นตอนใด ๆ เพื่อป้องกันการเสียหายมากนัก ปลูกได้ดีในพื้นที่ลุ่มดอน มีน้ำเข้าถึงง่าย แต่อาจต้องใช้พื้นที่ในปริมาณมากเพื่อให้เกิดผลผลิตในแบบที่คาดหวังเอาไว้ ปกติแล้วมักปลูกแบบพืชฤดูกาลเดียว คือ ใช้พื้นที่เดียวแต่ปลูกพืชหลาย ๆ อย่างตามแต่ฤดูกาล เช่น ช่วงหน้าฝนทำนา หลังหมดฤดูกาลเก็บเกี่ยวก็จะเปลี่ยนเป็นไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง ไร่ถั่ว เป็นต้น ทั้งนี้หากแยกกลุ่มของพืชไร่ออกมาสามารถแบ่งย่อยได้คือ
- กลุ่มธัญพืช เช่น ถั่วประเภทต่าง ๆ, ข้าวโพด, ข้าวโอ๊ต, ข้าวสาลี
- กลุ่มพืชน้ำมัน เช่น ปาล์มน้ำมัน, อ้อย
- กลุ่มพืชน้ำตาล เช่น อ้อย
- กลุ่มพืชเส้นใย เช่น ฝ้าย, ปอ, ป่าน, กล้วย, มะพร้าว
- กลุ่มพืชหัว เช่น มันสำปะหลัง, มันแกว, มันเทศ, เผือก
- กลุ่มพืชอาหารสัตว์ เช่น มันสำปะหลัง, หญ้ากีนี
- กลุ่มพืชออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท เช่น ชา, กาแฟ, ยาสูบ
เป็นประเภทของพืชเศรษฐกิจที่มีความหลากหลาย ไม่จำกัดพื้นที่ว่าจะมีขนาดเท่าไหร่ สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ได้หลากหลาย ซึ่งแบ่งย่อยออกได้ดังนี้
- กลุ่มพืชผัก มักใช้ในการประกอบอาหารจากส่วนต่าง ๆ ของผลผลิตไม่ว่าจะเป็นใบ, ดอก, ราก, ต้น, เมล็ด
- กลุ่มพืชผล หรือ ผลไม้ ส่วนใหญ่จะใช้จากผลเป็นหลัก มักเป็นกลุ่มพืชที่มีอายุยืน ใช้เวลานาน หลายชนิดจึงมีราคาแพง
- กลุ่มไม้ดอก ไม้ประดับ เป็นพืชเศรษฐกิจกลุ่มใหม่ที่กำลังมาแรงมาก นำไปใช้งานในด้านการประดับตกแต่งเป็นส่วนใหญ่
- ไม้เศรษฐกิจในปัจจุบันกลุ่มนี้ถือว่าต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบเพื่อไม่เกิดปัญหาเรื่องการบุกรุกป่า หรือการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งบรรดาไม้เศรษฐกิจที่ยังได้รับความนิยม เช่น ไม้ยางพารา, ไม้เต็ง, ไม้รัง, ไม้มะฮอกกานี, ไม้ไผ่, ไม้ยูคาลิปตัส รวมถึงการถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
แม้ว่าพืชเศรษฐกิจในปัจจุบันที่กล่าวถึงไปจะยังคงเป็นหัวใจหลักในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ แต่ก็มีพืชอีกหลายชนิดที่ถูกมองว่าจะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจในอนาคต โดยขอยกตัวอย่างดังนี้
ปลูกง่าย ให้ผลผลิตรวดเร็วทันใจ เพียงแค่ 2-3 เดือน ก็สามารถทำเงินได้ทันที นอกจากการขายหรือส่งออกแบบสด ๆ แล้ว ยังแปรรูปเป็นอย่างอื่นได้ เช่น ซอสพริก, พริกแห้ง, พริกป่น เป็นต้น
หรือไผ่ตงลืมแล้ง พืชเศรษฐกิจในอนาคตที่คาดว่ามีโอกาสนำมาทดแทนยางพารา เพราะสามารถทำประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น การเก็บหน่อขายสด แปรรูป, การนำไปทำเป็นเชื้อเพลิง รวมถึงประโยชน์ในด้านประมง
กลายเป็นพืชที่ได้รับความนิยมสูงทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ ส่งผลให้มีเกษตรกรจำนวนมากหันมาปลูกมากขึ้น เพราะนอกจากส่งผลผลิตสด ๆ แล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นอย่างอื่นได้ เช่น น้ำมัน, สบู่
พืชเศรษฐกิจที่ถูกมองว่าในอนาคตจะสร้างรายได้อย่างยั่งยืน โดยปัจจุบันผลผลิตที่ได้จำหน่ายในประเทศ 80% และส่งออกประเทศเพื่อนบ้าน 20%
เรื่องราวเกี่ยวกับพืชเศรษฐกิจที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้น่าจะช่วยเพิ่มแนวคิดหรือแนวทางดี ๆ ในการต่อยอดเพื่อสร้างโอกาสในการทำรายได้ให้กับตนเอง รวมถึงยังเป็นการสร้างเม็ดเงินให้เข้ามาภายในประเทศมากขึ้นอีกด้วย
ขอบคุณที่มาเนื้อหาจาก สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)