ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 11/2565 วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2565 โดยมีนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมและมี รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. เป็นเลขานุการการประชุม ซึ่งที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและมีมติที่สำคัญ ดังนี้
สืบเนื่องจากที่รัฐสภามีมติเห็นชอบ (ร่าง) พระราชบัญญัติแก้ไขคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 19/2560 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 ซึ่งจะต้องโอนอำนาจการบริหารงานบุคคลจาก กศจ. ไปยัง อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา นั้น ขณะนี้ พ.ร.บ. ดังกล่าว ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 ก.ค.ศ. จึงต้องดำเนินการให้ได้มาซึ่ง อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ให้เสร็จสิ้นภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ พ.ร.บ.นี้บังคับใช้ ซึ่งตามมาตรา 9 พ.ร.บ.ดังกล่าว กำหนดให้มี “อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา” และ “อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา” ดังนั้น สำนักงาน ก.ค.ศ. จึงได้ดำเนินการจัดทำ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการกำหนดจำนวน องค์ประกอบ หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มา คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2565 ขึ้น โดยการกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ นั้น ได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่ง (ร่าง) หลักเกณฑ์ดังกล่าว มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประกอบด้วย
1) ประธานอนุกรรมการ จำนวน 1 คน
2) อนุกรรมการผู้แทน จำนวน 3 คน ได้แก่ ผู้แทน กศจ. นายอำเภอหรือผู้แทน และผู้แทน ก.ค.ศ.
3) อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ด้าน ๆ ละ 1 คน ได้แก่ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านกฎหมาย และด้านการศึกษาหรือด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานบุคคล
4) อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 3 คน ได้แก่ ข้าราชการครู ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น
5) อนุกรรมการและเลขานุการ จำนวน 1 คน
ผู้ที่เข้ามาเป็นอนุกรรมการต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสม มีความหลากหลายและเข้าใจบริบทของพื้นที่เป็นอย่างดี ทั้งนี้ การกำหนดองค์ประกอบของอนุกรรมการเป็นองค์คณะไตรภาคี ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ผู้แทนจากหน่วยงาน/ส่วนราชการ จำนวน 3 คน และผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 3 คน เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม และเป็นองค์คณะที่ไม่ใหญ่มากจนเกินไป เน้นการกระจายอานาจและความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
1) สัญชาติไทย
2) วุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
3) อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์
4) ไม่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ ที่ปรึกษา หรือผู้มีตำแหน่งบริหารในพรรคการเมือง
5) ได้รับการยอมรับในเรื่องความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และไม่เคยมีประวัติเสื่อมเสียทำงจริยธรรม จรรยาบรรณ ไม่เคยกระทำผิดจนได้รับ โทษทางวินัย หรือกระทำผิดวินัยแต่ได้รับการงดโทษหรือไม่ได้รับโทษเพราะเหตุพ้นระยะเวลาการสั่งลงโทษ ตำมที่กฎหมายกำหนด
6) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตำมที่กำหนดในกฎ ก.ค.ศ.
7) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ถูกสั่งพักราชการ ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือถูกสั่งพักหรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพหรือถูกสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งศาลอาญาหรือศาลอาญาทุจริต หรือกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงแม้ว่าจะได้รับการงดโทษหรือไม่ได้รับโทษ เพราะเหตุพ้นระยะเวลาการสั่งลงโทษตามที่กฎหมายกำหนด
8) ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
9) ไม่เป็นผู้เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
10) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
การกำหนดคุณสมบัติ/ลักษณะต้องห้าม และการได้มาของแต่ละตำแหน่ง นอกจากต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามที่ได้กำหนดเบื้องต้นเหมือนกันทุกตำแหน่งแล้ว ต้องมีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเฉพาะแต่ละตำแหน่งด้วย สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
ประธานอนุกรรมการ (1 คน)
เพื่อให้ได้ผู้ทำหน้าที่ประธานที่มีความรู้ ความสามารถ มีศักยภาพ มีความเป็นกลางและเข้าใจการบริหารงานบุคคลเป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยให้การบริหารงานบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษาสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส และเกิดความเป็นธรรม เห็นควรให้ สพฐ. และสำนักงาน ก.ค.ศ. เสนอชื่อบุคคลพร้อมประวัติ เขตพื้นที่การศึกษาละไม่เกิน 2 คน (รวมเป็น 4 คน) แล้วเสนอ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเฉพาะกิจที่ ก.ค.ศ. ตั้ง พิจารณาคัดเลือกให้เหลือเขตพื้นที่การศึกษาละ 1 คน
อนุกรรมการผู้แทน (3 คน)
อนุกรรมการผู้แทน กศจ. และอนุกรรมการนายอำเภอหรือผู้แทน เป็นการกำหนดองค์ประกอบของอนุกรรมการตามมาตรา 9 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 พ.ศ. 2565 สำหรับอนุกรรมการผู้แทน ก.ค.ศ. เป็นตำแหน่งที่กำหนดไว้เพื่อให้มีผู้แทนขององค์กรกลางในการบริหารงานบุคคล ซึ่ง ก.ค.ศ. แต่งตั้งจากส่วนราชการหรือจากส่วนกลาง ซึ่งเป็นบุคคลที่มีวุฒิภาวะ มีความรู้ ความเข้าใจและมีประสบการณ์เกี่ยวกับ กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลเป็นอย่างดี ไปทำหน้าที่ใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งจะส่งผลให้กระบวนการบริหารงานบุคคลของเขตพื้นที่การศึกษาและของสถานศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว เกิดความเข้มแข็ง และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (3 คน)
ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการศึกษาหรือด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และด้านกฎหมาย ด้านละ 1 คน เพื่อให้ได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์เฉพาะด้าน มาช่วยขับเคลื่อนการบริหารงานบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษาให้เกิดความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และเพื่อเป็นการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมในการบริหารงานบุคคล เห็นควรให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ กศจ. เสนอชื่อบุคคลพร้อมประวัติ ด้านละ 2 คน ต่อ 1 เขตพื้นที่การศึกษา (รวมเป็น 4 คน ต่อ 1 เขตพื้นที่การศึกษา) แล้วส่งไปยัง สพฐ. เพื่อตรวจสอบรายชื่อว่าซ้ำกันหรือไม่ กรณี สพท. และ กศจ. เสนอรายชื่อยังไม่ครบด้านละ 4 คน ต่อ 1 เขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้ถูกเสนอชื่อขาดคุณสมบัติ ให้ สพฐ. เสนอรายชื่อให้ครบด้านละ 4 คน ต่อ 1 เขตพื้นที่การศึกษา แล้วเสนอ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเฉพาะกิจที่ ก.ค.ศ. ตั้ง คัดเลือกให้เหลือด้านละ 1 คน ต่อ 1 เขตพื้นที่การศึกษา
อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (3 คน)
เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทั้งผู้ที่ดำรงตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นได้มีส่วนร่วมในการเป็นอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลของเขตพื้นที่การศึกษา เห็นควรให้ตนเองหรือผู้บังคับบัญชาเสนอชื่อพร้อมประวัติ แล้วให้เพื่อนร่วมงานที่ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่การศึกษานั้นรับรอง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อ เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและเป็นที่ยอมรับของสังคมหรือคนในพื้นที่อย่างแท้จริง
ทั้งนี้ ให้สำนักงาน ก.ค.ศ. ดำเนินการปรับรายละเอียดตามข้อเสนอแนะของที่ประชุมให้มีความครบถ้วน สมบูรณ์ต่อไป โดย อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งใหม่ได้อีก แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเดิมเกิน 2 วาระไม่ได้ ยกเว้น ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งดำรงตำแหน่งอนุกรรมการและเลขานุการ และอนุกรรมการคนหนึ่งจะเป็นอนุกรรมการ ใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาได้เพียงแห่งเดียวเท่านั้น
เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ ได้ผู้มีความรู้ความสามารถและมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ จึงเห็นควรตั้ง อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเฉพาะกิจคัดเลือกบุคคลเพื่อเสนอ ก.ค.ศ. แต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานอนุกรรมการ ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้แทนสำนักงาน ก.ค.ศ. รองเลขาธิการ ก.ค.ศ. หรือผู้เชี่ยวชาญสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่เลขาธิการ ก.ค.ศ. มอบหมาย เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการ ก.ค.ศ. แต่งตั้งข้าราชการในสำนักงาน ก.ค.ศ. ไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ จำนวน 3 คณะ ดังนี้
ให้ทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อ เพื่อเสนอให้ ก.ค.ศ. แต่งตั้งเป็นประธานอนุกรรมการ ใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา และอนุกรรมการผู้แทน กศจ. ใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่มีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมมากกว่าหนึ่งจังหวัด
ให้ทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อ เพื่อเสนอให้ ก.ค.ศ. แต่งตั้งเป็นอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา
ให้ทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เพื่อให้การดำเนินการให้ได้มาซึ่ง อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สามารถดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่ง อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาตามที่กาหนดไว้ในมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560ฯ ได้ภายในระยะเวลา 90 วัน จึงเห็นชอบกำหนดการดำเนินการได้มาซึ่งอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อเป็นกรอบระยะเวลาในการดำเนินการ ดังนี้
สำนักงาน ก.ค.ศ. ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการฯ
)
เสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม รวมทั้งตรวจสอบ และวินิจฉัยคุณสมบัติบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อ
ส่งรายชื่อถึงสำนักงาน ก.ค.ศ.
อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเฉพาะกิจคัดเลือกให้เหลือเขตพื้นที่ละ 1 คน
เสนอ ก.ค.ศ. แต่งตั้ง
แจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
สืบเนื่องจากที่ ก.ค.ศ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาและตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. โดยให้มี อกศจ. ทำหน้าที่กลั่นกรองการย้ายก่อนเสนอ กศจ. พิจารณา นั้น ปัจจุบันคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคอยู่ระหว่างการแต่งตั้ง อกศจ. ชุดใหม่ เนื่องจาก อกศจ. ชุดเดิม ครบวาระ ซึ่งขณะนี้ได้แต่งตั้ง อกศจ. ชุดใหม่ ไปแล้ว จำนวน 29 จังหวัด และยังไม่ได้แต่งตั้งอีกจำนวน 48 จังหวัด ส่งผลให้ กศจ. ที่ยังไม่มี อกศจ. ไม่สามารถพิจารณาย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาและตำแหน่งครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนดได้
ดังนั้น เพื่อประโยชน์ของทางราชการและเพื่อให้การขับเคลื่อนงานบริหารบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเห็นชอบให้พิจารณาย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาและตำแหน่งครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้
ให้ กศจ. พิจารณาย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาและตำแหน่งครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนดได้โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรอง
ต่อมามีเหตุที่ทำให้ อกศจ. ไม่สามารถประชุมได้ ให้ กศจ. พิจารณาย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาและตำแหน่งครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนดได้ โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรอง
------------------------------------------------------------
กลุ่มประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่
ที่มา สำนักงาน ก.ค.ศ.