หลายคนคงประสบปัญหา "ส้นเท้าแตก" ทำให้ไม่กล้าถอดรองเท้าหรือถุงเท้า และอาจใช้วิธีแก้ปัญหานี้โดยวิธีที่ไม่ถูกต้อง เราลองมาดูกันครับว่า ปัญหาส้นเท้าแตกเกิดจากอะไร และมีวิธีรักษาอย่างไร
คือ อาการที่ผิวหนังบริเวณส้นเท้าแห้ง หยาบ แข็ง แตกและแยกออกเป็นแผ่น หากมีรอยแตกถึงผิวหนังด้านใน อาจทำให้มีเลือดออกหรือสร้างความเจ็บปวดตามมาได้ โดยมักเกิดในช่วงหน้าหนาวซึ่งมีอากาศแห้งและหนาวเย็น แต่ปัญหานี้ก็เกิดขึ้นได้เช่นกันแม้ไม่ได้อยู่ในช่วงฤดูหนาว หลายคนจึงพยายามค้นหาวิธีรักษาส้นเท้าแตกอย่างไรให้ได้ผล
ส้นเท้าแตกเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น
- อากาศที่แห้งหรือหนาวเย็น
- ภาวะร่างกายขาดน้ำ
- ดื่มน้ำน้อยเกินไป
- อาบน้ำด้วยน้ำอุ่นที่ร้อนจนเกินไป
- แช่อยู่ในน้ำร้อนเป็นเวลานานหรือบ่อยเกินไป
- ใช้สบู่ที่ทำให้ผิวแห้ง
- ไม่ทาครีมบำรุงที่ทำให้เท้ามีความชุ่มชื้น
- การขัดเท้าแรงเกินไป
- การใส่รองเท้าที่ไม่ถนอมเท้าหรือเปิดผิวเท้ามากเกินไป
- มีภาวะอ้วน มีน้ำหนักตัวมาก
- ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
- หากปัญหาส้นเท้าแตกถูกปล่อยไว้จนเป็นแผลลึกและไม่ได้รับการรักษา อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรงได้ ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดส้นเท้าแตก และมีโอกาสพัฒนาไปสู่การติดเชื้อได้มาก หลัก ๆ คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้มีภาวะอ้วน
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจมีอาการส้นเท้าแตก เนื่องจากเส้นประสาทบริเวณเท้าถูกทำลายจากปริมาณน้ำตาลในเลือดที่ไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้มีผิวแห้งแตกได้ง่าย จึงควรเฝ้าระวังป้องกันการเกิดโรคและการเจ็บป่วยที่เท้า
- ส่วนผู้ที่มีภาวะอ้วน น้ำหนักตัวจะเพิ่มแรงกดบริเวณฝ่าเท้า หากมีผิวแห้ง อาจไม่สามารถรองรับต่อแรงกดเหล่านั้นได้ ทำให้เกิดรอยแตกที่ส้นเท้า
- ครีม ยา และผลิตภัณฑ์ที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว สำหรับส้นเท้าแตก ควรใช้ครีมหรือยาที่ผลิตมาเพื่อใช้รักษาอาการผิวแตกลักษณะนี้โดยเฉพาะ ทาไปบนบริเวณที่เป็นรอยแตก อย่างครีมที่มีส่วนผสมของ ไดเมทิโคน (Dimethicone) จะช่วยป้องกันไม่ให้ผิวแห้งและเพิ่มความชุ่มชื้นกักเก็บน้ำให้แก่ผิว ลดการเกิดหนังที่หนาและด้านจากภาวะผิวแห้งที่จะทำให้เกิดผิวส้นเท้าแตกตามมา และครีมบำรุงผิวที่ให้ความชุ่มชื้น หรือครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมัน สามารถใช้ทาได้วันละหลาย ๆ ครั้ง ใช้ได้ผลดีที่สุดเมื่อทาหลังอาบน้ำ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว และป้องกันผิวแห้งแตก
- ปิโตรเลียม เจลลี่ (Petroleum Jelly) เป็นเจลเหลวที่ใช้ทาเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว ฟื้นฟูผิวบริเวณที่เป็นส้นเท้าแตก ควรทาไว้ก่อนนอนแล้วสวมถุงเท้าทับ ให้ผิวบริเวณส้นเท้าที่แตกได้ดูดซับความชุ่มชื้นจากเจลไปตลอดคืนในระหว่างที่นอน
- ดื่มน้ำสะอาดในปริมาณที่เพียงพอ หากมีน้ำในร่างกายน้อย นอกจากจะเกิดอาการปากแห้งคอแห้ง กระทบต่อระบบภายในต่าง ๆ จากภาวะร่างกายขาดน้ำแล้ว ยังส่งผลต่อสภาพผิวที่แห้งแตกได้ด้วย จึงควรดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่บริเวณที่ส้นเท้าแตก ให้ผิวฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติได้
- เลือกใช้สบู่ถนอมผิว ไม่ใช้สบู่ที่มีสารเคมีเข้มข้นหรือที่มีส่วนผสมทำให้ผิวแห้งได้ เลือกใช้สบู่ที่ถนอมผิว ไม่ก่ออาการแพ้ ไม่ระคายเคืองผิว และไม่ทำให้ผิวแห้ง
อาการส้นเท้าแตก เป็นปัญหาที่ไม่ควรละเลย การดูแลรักษาอย่างถูกวิธีจะช่วยขจัดความเจ็บปวดและบาดแผลที่เกิดขึ้น หากไม่มีอาการแทรกซ้อนอื่นใด ก็จะสามารถรักษาส้นเท้าแตกจนหายดี
หากมีอาการบวมแดงและเจ็บปวดบริเวณส้นเท้าแตกเป็นอย่างมาก หรือมีหนองและอาการไม่บรรเทาแม้พยายามรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ด้วยตนเองแล้ว ควรไปพบแพทย์หรือแพทย์เฉพาะทางที่รักษาเท้า เพื่อตรวจหาการติดเชื้อและรีบรักษาได้อย่างทันท่วงที
หลังจากตรวจอาการส้นเท้าแตกที่สร้างปัญหาแล้ว แพทย์จะทำการรักษาตามวิธีที่เหมาะสมกับแผลและรอยแตกนั้น เช่น
- การผ่าตัดเนื้อตาย แพทย์จะตัดเอาผิวหนังแตกบางส่วนที่แข็งและหนาออกไป โดยวิธีการนี้ผู้ป่วยไม่ควรพยายามทำด้วยตนเองที่บ้านเด็ดขาด เพราะอาจตัดเอาเนื้อส่วนอื่นออกไปด้วยและเสี่ยงต่อการเกิดแผลติดเชื้อตามมา
- การพันปิดบาดแผล แพทย์จะใช้ผ้าพันปิดบาดแผลหรือบริเวณที่ส้นเท้าแตกไว้ เพื่อลดแรงกระเทือนลดรอยแตกหรือการฉีกขาดของผิวหนังที่อาจเกิดขึ้นได้จากการเคลื่อนไหวร่างกาย
- การจ่ายยา แพทย์จะจ่ายยาที่เหมาะสมเพื่อบรรเทาอาการปวดและอาการอักเสบที่เกิดขึ้น หรือยาประเภทครีมที่มีส่วนผสมของยูเรียหรือกรดซาลิไซลิก
- การเสริมพื้นรองเท้า แพทย์อาจแนะนำให้ใช้แผ่นยางรองรองเท้าเพื่อผ่อนน้ำหนักและแรงกดที่ส้นเท้า ซึ่งเป็นการบรรเทาอาการและความรุนแรงของอาการส้นเท้าแตกได้
- อาบน้ำอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่อาบน้ำร้อนจนเกินไป และไม่แช่เท้าอยู่ในน้ำเป็นเวลานาน หากต้องอยู่ในสภาพอากาศแห้ง ๆ หรือหนาวเย็น อาจเลี่ยงการอาบน้ำ ไม่อาบน้ำทุกวัน หรืออาบไม่เกินวันละครั้ง และไม่อาบน้ำนาน
- เลือกสบู่ที่ดีต่อผิว ที่เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว ไม่ทำให้ผิวแห้ง และไม่ขัดเท้า ควรเช็ดล้างทำความสะอาดเท้า และทาครีมบำรุงผิวที่เพิ่มความชุ่มชื้นอยู่เสมอ
- เลี่ยงการสวมใส่รองเท้าแตะ เพราะไม่ถนอมผิวบริเวณเท้า ไม่สวมรองเท้าที่คับและรัดจนเกินไป และควรสลับผลัดเปลี่ยน ไม่ควรสวมรองเท้าคู่เดิมซ้ำ ๆ ทุกวัน
- หมั่นสำรวจตรวจเช็คร่องรอย รอยแตก บาดแผล อาการบวม หรือความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นบริเวณเท้า แล้วหาทางรักษาอย่างถูกวิธี หากไม่ทราบวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง ควรปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเสมอ
ขอบคุณข้อมูลจาก พบแพทย์