โดยมีนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม และมี รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. เป็นเลขานุการการประชุม ซึ่งที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและมีมติที่สำคัญ ดังนี้
สืบเนื่องจาก ก.ค.ศ. ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2565 มีมติมอบสำนักงาน ก.ค.ศ. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดสถานศึกษาในพื้นที่พิเศษฯ เพื่อนำไปใช้ในการลดระยะเวลาตามเงื่อนไขคุณสมบัติเฉพาะสำหรับผู้ขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ (ว 4/2564) ถือเป็น
การสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่ยากลำบาก ซึ่ง ก.ค.ศ. พิจารณาแล้วเห็นว่า การกำหนดสถานศึกษาในพื้นที่พิเศษตามหลักเกณฑ์นี้โดยให้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่ม 1 สถานศึกษาที่ได้รับการประกาศเป็นสำนักงานในพื้นที่พิเศษตามประกาศกระทรวงการคลัง
กลุ่ม 2 สถานศึกษาในพื้นที่พิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา (เฉพาะพื้นที่อำเภอเทพา สะบ้าย้อย นาทวี และจะนะ)
กลุ่ม 3 เหตุอื่นที่ ก.ค.ศ. กำหนด คือ “สถานศึกษาที่มีความยากลำบากของการคมนาคมและมีความยุ่งยากในการบริหารจัดการศึกษา โดยต้องเข้าเงื่อนไข ดังนี้
ความยากลำบากของการคมนาคม (ข้อใดข้อหนึ่ง) คือ เป็นสถานศึกษาที่อยู่ในพื้นที่สูง หรือ พื้นที่เกาะ หรือ พื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร ประกอบกับความยุ่งยากในการบริหารจัดการศึกษา (ข้อใดข้อหนึ่ง) คือ เป็นสถานศึกษาที่มีโรงเรียนสาขาหรือห้องเรียนสาขา หรือ มีศูนย์ชุมชนชาวไทย “แม่ฟ้าหลวง” หรือ มีนักเรียนพักนอน (ไม่ใช่ลักษณะโรงเรียนประจำ) หรือ มีกลุ่มชาติพันธุ์ หรือ มีความขาดแคลนสาธารณูปโภค
โดยหลังจากนี้ ก.ค.ศ. จะประกาศรายชื่อสถานศึกษาในพื้นที่พิเศษ ประจำปี 2565 จำนวน 3,490 แห่ง (สังกัด สพฐ. 2,633 แห่ง กศน. 842 แห่ง และ สอศ. 15 แห่ง) พร้อมทั้งนำข้อมูลทั้งหมดเข้าสู่ระบบ DPA เพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถใช้เงื่อนไขสถานศึกษาในพื้นที่พิเศษมามาลดระยะเวลาจาก 4 ปี เหลือ 3 ปี ในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 นี้
สืบเนื่องจากที่รัฐสภาลงมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 19/2560 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 ซึ่งจะต้องโอนอำนาจการบริหารงานบุคคลจาก กศจ. ไปยัง อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา จึงกระทบต่อโครงสร้างของระบบ DPA ที่ออกแบบไว้ ซึ่งเดิม กศจ. เป็นผู้มีอำนาจในการอนุมัติผลการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ แต่เมื่อ พรบ. ดังกล่าวประกาศใช้ อำนาจส่วนนี้จะไปอยู่ที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ ดังนั้น ก.ค.ศ. จึงได้วางแนวทางในการดำเนินการเพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด สพม. และ สพป. สามารถดำเนินการในการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะผ่านระบบ DPA ได้โดยไม่กระทบสิทธิ์ ตั้งแต่วันที่ระบบจะเปิดใช่อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 นี้ โดยแนวทางในการดำเนินการเรื่องนี้นั้น สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้กำหนดให้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ส่วนราชการ และสถานศึกษาทั่วประเทศ เข้ามาลงทะเบียนผู้ดูแลระบบ DPA ภายในวันที่ 30 กันยายน 2565 โดยเมื่อระบบ DPA เปิดใช้งานในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกสังกัด สามารถส่งคำขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะเข้ามาในระบบ DPA ได้ตามปกติ ซึ่งทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจะทำการส่งคำขอ และตรวจสอบคุณสมบัติตามที่ได้ออกแบบโครงสร้างการดำเนินการไว้ ซึ่งระหว่างนี้ทีมพัฒนาระบบจะปรับปรุงระบบ DPA เพื่อให้รองรับอำนาจของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ และเมื่อมีการแต่งตั้ง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ระบบก็จะสามารถดำเนินการต่อโดยโอนอำนาจจาก กศจ. ไปให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่พิจารณาอนุมัติและออกคำสั่งในการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะได้เต็มรูปแบบ
ทั้งนี้ กรณีของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัด สอศ. กศน. สศศ. และ สป. สามารถดำเนินการตามระบบ DPA ได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565
จากที่กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพิ่มขึ้น 20 แห่ง ทำให้ปัจจุบันมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวม 245 เขต นั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ขอกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค. (2) ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่กำหนดใหม่ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการและส่งเสริมการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและในภาพรวมของ สพฐ. โดยขอให้ ก.ค.ศ. พิจารณาอนุมัติการกำหนดกรอบอัตรากำลังดังกล่าว
สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ให้ยุบเลิกตำแหน่งรองผู้อานวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวม 203 ตำแหน่ง
2. ให้ตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนตามตัวผู้ดำรงตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นมากำหนดเป็นตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่กำหนดใหม่เป็นการชั่วคราว จำนวน 162 ตำแหน่ง/ราย
3. ให้กำหนดกรอบอัตรากาลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่กำหนดใหม่ เป็นการชั่วคราว จำนวน 20 เขต รวม 491 ตำแหน่ง
4. ให้กำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่กำหนดใหม่ เป็นการชั่วคราว จำนวน 20 เขต รวม 491 ตำแหน่ง
นอกจากนี้ได้อนุมัติแนวทางการจัดบุคลากรลงกรอบอัตรากาลังที่ ก.ค.ศ. กำหนดใหม่ โดยให้ตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนไปตั้งจ่ายในตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) โดยแต่งตั้งบุคคลไปดำารงตำแหน่งในตำแหน่งเดิม ระดับเดิม ตามกรอบอัตรากำลัง ที่ ก.ค.ศ. กำหนดใหม่ ทั้งนี้ ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง และเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด
สืบเนื่องจากที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ขอปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานวิชาเอกที่กำหนดให้มีในสถานศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามเกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ว 23/2563) เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารอัตรากำลังสายงานการสอนในสถานศึกษา และเพื่อให้สถานศึกษามีครูครบชั้น ครบวิชา ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานศึกษาขนาดเล็กที่จะมีครูครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ อันจะส่งผลให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้ สามารถอ่านออกเขียนได้ (Literacy) และมีทักษะในการคิดวิเคราะห์และคำนวณ (Numeracy) รวมทั้งจะสามารถพัฒนาผู้เรียนได้ครบทั้ง 4 ด้าน (4H) คือ ด้านการคิดวิเคราะห์ (Head) ด้านจิตใจและค่านิยม (Heart) ด้านทักษะการทำงาน (Hands) และมีสุขภาพอนามัยที่ดี (Health)
ก.ค.ศ. พิจารณาแล้วว่าเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการบริหารอัตรากำลังดังกล่าว จึงเห็นชอบให้มีการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานวิชาเอกที่กำหนดให้มีในสถานศึกษา สังกัด สพฐ. โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ให้ปรับแก้ไขสาขาวิชาเอกในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ให้ถูกต้องตามคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ 921/2561 สั่ง ณ วันที่ 3 พฤษภาคม 2561 ซึ่งส่งผลให้สถานศึกษาทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สามารถกำหนดให้มีจำนวนครูในการจัดการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับโครงสร้างเวลาเรียนขั้นพื้นฐานได้อย่างเหมาะสมต่อไป
2. ให้ปรับจำนวนอัตราครูขั้นต่ำในเกณฑ์มาตรฐานวิชาเอกระดับมัธยมศึกษาเพื่อให้สถานศึกษาเกิดความยืดหยุ่นต่อการจัดครูของสถานศึกษาที่เป็นไปตามความต้องการตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและหลักสูตรสถานศึกษาตามความต้องการจำเป็น
3. เพิ่มความคล่องตัวในการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูในสถานศึกษา โดยการปลดล็อค เรื่อง การเรียงลำดับครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาเอกระดับประถมศึกษา แต่สถานศึกษายังคงได้ครูครบวิชา ซึ่งเป็นไปตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 และหลักสูตรสถานศึกษา
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารอัตรากำลังสายงานการสอนในสถานศึกษา สังกัด สพฐ. ต่อไป
ดังนี้
- สังกัดสำนักงานปลัด กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 141 อัตรา
- สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 163 อัตรา
- สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 2 อัตรา
- สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 17,548 อัตรา
- สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 692 อัตรา
ทั้งนี้ ให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สงวนอัตราว่างจากโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ที่ได้รับการจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุราชการฯ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 6 อัตรา จำนวน 4,576 อัตรา และจำนวน 228 อัตรา ตามลำดับเพื่อรองรับการบรรจุบุคคลตามโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ตามมติ ครม. และที่ประชุมกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้เป็นไปตามข้อตกลงของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กับส่วนราชการนั้น ๆ
ที่มา สำนักงาน ก.ค.ศ.