ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคม  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

กสศ.-OECD เปิดผลวิจัย PISA for Schools ครั้งแรกของไทย พบ เด็กช้างเผือกสร้างได้ ด้วยการส่งเสริมทักษะอารมณ์และสังคม


งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคม 8 ก.ค. 2565 เวลา 07:48 น. เปิดอ่าน : 5,572 ครั้ง
กสศ.-OECD เปิดผลวิจัย PISA for Schools ครั้งแรกของไทย พบ เด็กช้างเผือกสร้างได้ ด้วยการส่งเสริมทักษะอารมณ์และสังคม

Advertisement

กสศ.-OECD เปิดผลวิจัย PISA for Schools ครั้งแรกของไทย
พบ เด็กช้างเผือกสร้างได้ ด้วยการส่งเสริมทักษะอารมณ์และสังคม
ชู Big 5 Model ปลดล็อคข้อจำกัดพัฒนาคุณภาพการศึกษานักเรียนยากจนพิเศษ - โรงเรียนชายขอบ

6 กรกฎาคม 2565 - กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เปิดผลการวิจัย PISA for Schools การประเมินเพื่อพัฒนาในระดับสถานศึกษาครั้งแรกของไทย ผลวิจัยระบุทักษะอารมณ์และสังคม (Social and Emotional Skill) มีความสัมพันธ์ต่อผลลัพธ์ทางการเรียนรู้ พบ “เด็กช้างเผือก” จากครัวเรือนยากจนแต่สามารถอยู่ในกลุ่มที่ทำคะแนนได้สูงสุด 25% มีทักษะอารมณ์สังคม เช่น การควบคุมตนเอง ความอยากรู้อยากเห็น การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ที่สูงกว่าเด็กกลุ่มอื่นๆ ชี้นอกจากการมุ่งเน้นการสอนด้านความรู้ทางวิชาการแล้ว บรรยากาศของโรงเรียน ห้องเรียน วิธีการสอนและบทบาทของครอบครัว มีผลอย่างมากในการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของเด็ก และเป็นแนวทางพัฒนาที่ไม่ต้องใช้งบประมาณที่สูง

ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า PISA for Schools หรือ PISA-based Test for Schools (PBTS) ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายในการสุ่มกลุ่มตัวอย่างทางสถิติเพื่อวัดระดับความสำเร็จของการศึกษาระดับประเทศ หรือระดับนานาชาติ เหมือนอย่างการสอบ PISA ซึ่งจัดสอบทุก 3 ปี แต่ PISA for Schools เป็นเครื่องมือประเมินเพื่อพัฒนาชั้นเรียนและสถานศึกษา และสามารถขยายผลพัฒนาโรงเรียนอื่นที่มีสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกัน รวมถึงนำไปสู่งานวิจัยต่อเนื่องเพื่อผลลัพธ์ในการเปลี่ยนแปลงนโยบายการศึกษาของประเทศ ซึ่งเป็นโอกาสที่สำคัญที่องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ โออีซีดี ได้เชิญประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 15 ประเทศทั่วโลกที่มีโอกาสร่วมวิจัยพัฒนาเครื่องมือ PISA-based Test for Schools นี้ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเครื่องมือการประเมินผลเพื่อการพัฒนาในชั้นเรียน เพื่อให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องด้วยข้อมูลเครื่องมือดังกล่าว

ดร.ไกรยส กล่าวว่า กสศ. ทดลองใช้ PISA for schools ใน 66 โรงเรียน ครอบคลุมนักเรียน 2,459 คน พบเด็กช้างเผือก (Resilient Student) ซึ่งเป็นนักเรียนจากครัวเรือนยากจนที่มีรายได้น้อยที่สุด 25% ของประเทศสามารถทำคะแนนอยู่ในกลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุด 25% บนของประเทศ จำนวนหนึ่งที่มีคุณลักษณะด้าน ทักษะอารมณ์และสังคม (social and emotional skill) อยู่ในระดับสูงตรงกัน และเมื่อวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือ PISA for Schools จะพบว่า เมื่อควบคุมให้ปัจจัยอื่นๆ คงที่แล้ว ปัจจัยที่ทำให้นักเรียนช้างเผือกมีผลสมรรถนะที่ดีกว่าเพื่อนแตกต่างจากนักเรียนจากครัวเรือนยากจนทั่วไปคือ การมีระดับทักษะอารมณ์ สังคมสูง โดยบทบาทของผู้ปกครอง โรงเรียน มีผลอย่างมากที่ช่วยให้ระดับทักษะอารมณ์สังคมของเด็กกลุ่มนี้มีมากขึ้น

“กล่าวได้ว่าผลการวิจัยจากโครงการ PISA for Schools นี้เป็นเครื่องมือช่วยให้ กสศ. และหน่วยงานภาคีมีความเข้าใจมากขึ้นในการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาในระดับสูงของนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษ หรือ การพัฒนาทางช้างเผือก เพราะ กสศ. และหน่วยงานภาคีเชื่อว่า เด็กทุกคนไม่ว่าจะเกิดมายากดีมีจน สามารถพัฒนาได้ เราเชื่อว่า โรงเรียน ชั้นเรียนและคุณครู พัฒนาได้ แม้ว่าจะเริ่มต้นด้วยความด้อยโอกาสหรือความไม่พร้อม แต่เมื่อได้รับโอกาสทางการศึกษาที่เสมอภาคแล้ว พวกเขาสามารถพัฒนาได้ นี่คือหัวใจของการทำงานของ กสศ. ไม่ใช่การทำงานที่ให้เงินแล้วจบไป ถ้าเราเชื่อมั่นใน เด็ก คุณครู โรงเรียน รวมถึงครอบครัวและชุมชนแล้ว นี่คือจุดเริ่มต้นสู่การสร้างความเสมอภาคที่ยั่งยืน ขั้นตอนต่อไป เราประยุกต์ใช้เครื่องมือ PISA for Schools ร่วมกับทีมวิจัยในประเทศไทยให้เป็นเครื่องมือการประเมินเพื่อการพัฒนาของสถานศึกษาได้ด้วยตัวเอง ที่สอดคล้องกับบริบทของระบบการศึกษาไทย ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการศึกษาในระดับนานาชาติที่หลายประเทศกำลังผลักดันให้เป็นวาระสำคัญ” ดร.ไกรยส กล่าว

ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.) กล่าวว่า PISA for Schools สามารถนำไปสู่การวิเคราะห์วิจัยเพื่อหาข้อค้นพบเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะทางอารมณ์สังคม หรือ Social and Emotional Skills (SES) และการค้นหาและพัฒนา ‘เด็กช้างเผือก’ ได้ โดยงานวิจัยระบุว่า นอกจากทักษะด้านสติปัญญา (Cognitive Skill) แล้ว กระบวนการพัฒนาทักษะทางอารมณ์สังคม (Social and Emotional Learning) หรือ SEL ถือว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของเด็กและต่อสังคมอย่างมาก ทั้งนี้ ทักษะทางอารมณ์ที่สำคัญแบ่งเป็น 5 ประเภท หรือเรียกว่า Big Five Model ได้แก่ 1.ความรับผิดชอบต่องาน 2.ทักษะทางอารมณ์ 3.ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น 4.การเปิดรับประสบการณ์ 5.ทักษะสังคมและการมีส่วนร่วมกับผู้อื่น

ดร.ภูมิศรัณย์ กล่าวว่า จากผลทดสอบ PISA for Schools ทำให้ค้นพบว่า SEL มีความสัมพันธ์กับคะแนนในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการอ่าน โดยเด็กที่มีการควบคุมตัวเองได้ดี มีความอยากรู้อยากเห็น หรือมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น จะมีผลการเรียนที่ดีตามมา ข้อค้นพบตรงนี้นำเรามาสู่การสำรวจพบ ‘เด็กช้างเผือก’ หรือเด็กที่มีเศรษฐฐานะในระดับ 25% ล่างสุด แต่สามารถทำคะแนนได้สูงอยู่ใน 25% บนสุดของกลุ่มทดสอบ ซึ่งจะเป็นต้นแบบให้เราไปถึงแนวทางในการพัฒนาเด็กคนอื่น ๆ ในภาพรวมได้

“จากเด็กเข้าสอบทั้งหมด มี 76 คน ที่มีคะแนนสูงสุดในแต่ละกลุ่มวิชา และมี 5 คนที่คะแนนสูงสุดในทั้งสามวิชา เด็กเหล่านี้คือเด็กช้างเผือกที่ได้รับทุนเสมอภาค ซึ่งมาจากครอบครัวที่ยากจนที่สุด ซึ่ง PISA for Schools เผยให้เห็นพื้นภูมิว่ามีทักษะทางอารมณ์สังคมที่โดดเด่นในหลายเรื่อง เช่น มีการควบคุมตนเอง กล้าแสดงออก และมีทักษะสังคมที่สูงกว่าเด็กกลุ่มอื่น ส่วนความอยากรู้อยากเห็น และความเห็นอกเห็นใจก็มีในระดับค่อนข้างสูง แม้ยังเป็นรองเด็กที่มาจากครอบครัวที่เศรษฐฐานะดีที่สุด”

ดร.ภูมิศรัณย์ ย้ำด้วยว่า ในอีกเรื่องที่ค้นพบ เด็กช้างเผือกกลุ่มนี้จะมีการสนับสนุนจากผู้ปกครองในหลายด้าน เช่น การเสริมความมั่นใจ การศึกษาการฝ่าฟันความยากลำบากทำให้เห็นว่าแม้มาจากครอบครัวยากจนที่สุด หรือผู้ปกครองมีระดับการศึกษาที่ไม่สูง แต่หากเขาได้รับการสนับสนุนด้านต่างๆ โดยเฉพาะการศึกษา การให้กำลังใจจากผู้ปกครอง เด็กก็สามารถไปสู่ความสำเร็จทางวิชาการได้

“ยิ่งผู้ปกครองสนับสนุนเรื่องการศึกษาเท่าไหร่ เด็กจะยิ่งมีความอยากรู้อยากเรียน มองโลกในแง่ดี เกิดความมั่นใจในการเรียน และเป็นการพัฒนาส่งเสริมทักษะอารมณ์สังคมของเด็กให้ดียิ่งขึ้นไปอีก หรือเมื่อมองไปที่ปัจจัยของโรงเรียน จะพบว่าบรรยากาศในห้องเรียนที่ดี มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มีพฤติกรรมรบกวนในระหว่างการเรียนการสอน มีการเปิดกว้างทางความคิดเห็นก็ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ทักษะอารมณ์สังคมของเด็กพัฒนาไปในเชิงบวก ทั้งนี้หากโรงเรียนมีปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งกันสูง ทักษะอารมณ์สังคมของเด็กจะเป็นเชิงลบ ดังนั้นปัจจัยเรื่องบรรยากาศโรงเรียน ห้องเรียน วิธีการสอน นับว่ามีผลต่อเด็กในเรื่องทักษะทางอารมณ์และสังคมโดยตรง”

เมื่อลองนำผลทดสอบจาก PISA for Schools มาคิดคำนวณเพื่อสะท้อนไปถึงผลลัพธ์ทางวิชาการ ก็จะพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุดคือ เศรษฐฐานะหรือระดับการศึกษาของผู้ปกครอง ซึ่งเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อมองไปยังปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงได้ หรือคุณสมบัติที่อยู่ภายใต้กรอบ SEL ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสามารถพัฒนาได้ จะเห็นว่าเราสามารถถ่ายทอดแนวทาง ข้อมูล หรือทัศนคติในการพัฒนาทักษะทางอารมณ์และสังคมของเด็กไปสู่ครอบครัว

“โรงเรียน ครู และผู้ปกครองเป็นแรงผลักดันสำคัญของเด็กได้ หากกล่าวโดยสรุป SEL ถือเป็นแนวทางการพัฒนาเด็กได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณสูง และมีความสัมพันธ์โดยตรงกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา สามารถนำไปใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนในทุกระดับและจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงอนาคตของเด็กได้ในระยะยาว” ดร.ภูมิศรัณย์ กล่าว

ด้าน Dr.Joanne Caddy นักวิเคราะห์อาวุโสและหัวหน้าทีมวิจัยโครงการ PISA for Schools ประจำองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) กล่าวว่า ท่ามกลางความไม่พร้อมด้านสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของตัวนักเรียนและโรงเรียน การที่โรงเรียนให้ความสำคัญกับการปลูกฝัง Growth Mindset และบ่มเพาะทักษะทางอารมณ์และสังคมของเด็กอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้เด็กเพิ่มพูนทักษะความรู้ทางวิชาการได้ทัดเทียมกับเด็กรุ่นเดียวกันที่มีความพร้อมมากกว่าในหลายๆ ด้านได้

“Growth mindset มีความหมายว่า เด็กนักเรียน เชื่อว่า ตนเองมีความสามารถในการเรียนรู้ คือเมื่อเจออุปสรรคหรือปัญหา เด็กจะเชื่อว่าตนเองจะหาหนทางเรียนรู้และก้าวไปข้างหน้าได้ ซึ่งตรงข้ามกับ fixed mindset ที่เด็กเชื่อว่าตนเองไม่มีทางเรียนรู้ได้เพราะไม่ฉลาด เพราะไม่มีพร้อมเหมือนคนอื่น Growth mindset จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเด็กได้รับการอบรมสั่งสอนเรียนรู้ทักษะทางอารมณ์และสังคม และเป็นสิ่งที่ต้องค่อยๆ ปลูกฝัง บ่มเพาะ และสั่งสม แนวทางการวัดก็คือการใช้แบบสอบถามให้เด็กได้คิดทบทวนกับตนเองว่า จะใช้วิชาที่เรียนแก้ปัญหาอย่างไร”

ดร.โจแอนน์ ยังได้ตั้งข้อสังเกตถึงประเด็นค้นพบจากการศึกษาในโครงการฯ ว่า นักเรียนยากจนพิเศษที่มีทักษะทางอารมณ์และสังคม จะมีความมั่นคงทางจิตใจ คือไม่กลัวที่จะล้มเหลว และไม่สนใจความคิดเห็นของคนอื่น ดังนั้น จึงทำให้เด็กเหล่านี้เป็นผู้เรียนรู้ที่ดี และพร้อมที่จะพัฒนาตนเองตลอดเวลา
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กล่าวว่า โครงการนี้จะนำไปสู่สิ่งที่มีคุณค่ามากกว่างานวิจัย โดยจะนำไปสู่การสร้างให้เด็กไทยเป็นนักเรียนช้างเผือกได้ทุกคน เพราะผลของ PISA for Schools จะทำให้เกิดห้องเรียนคุณภาพสูงเพื่อยกสมรรถนะของเด็กทุกคน

“สิ่งที่สำคัญคือครูต้องช่วยศิษย์ ช่วยพัฒนาเด็กให้มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ด้านคือ มีค่านิยม เจตนคติ ทักษะ และความรู้ที่ผสมกลมกลืนกัน และต้องการกระบวนการเรียนรู้เชิงลึกหรือ Active Learning ให้เกิดขึ้นในห้องเรียนและในโรงเรียน ซึ่งปัจจุบันสิ่งที่ครูไทยยังขาดอยู่คือเครื่องมือที่จะใช้ในการประเมินและปรับปรุงการทำหน้าที่และวิธีการสอนของครูให้กับนักเรียน ซึ่งในอนาคตถ้าเราสามารถพัฒนาเครื่องมือประเมินแบบ PISA ขึ้นมาเป็นของเราเอง เพื่อให้แต่ละโรงเรียนได้ประเมินตัวเองได้ และออกแบบมาใช้สำหรับเด็กในทุกช่วงอายุ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาปรับปรุงตัวเองทั้งครู นักเรียน และโรงเรียน และนำผลเหล่านี้มาแลกเปลี่ยนรู้ ก็จะเกิดการปรับปรุงและพัฒนาวงจรการเรียนรู้ คุณภาพการศึกษาของเราก็จะพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ” ศ.นพ.วิจารณ์ กล่าว

 

 

คำบรรยายภาพ

กสศ.-OECD เปิดผลวิจัย PISA for Schools ครั้งแรกของไทย พบ เด็กช้างเผือกสร้างได้ ด้วยการส่งเสริมทักษะอารมณ์และสังคมกสศ.-OECDเปิดผลวิจัยPISAforSchoolsครั้งแรกของไทยพบเด็กช้างเผือกสร้างได้ด้วยการส่งเสริมทักษะอารมณ์และสังคม

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ศปบ.จชต.ร่วมมือประสานงานกับหน่วยในพื้นที่ ติดตามทุนการศึกษารายปีต่อเนื่องผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ศปบ.จชต.ร่วมมือประสานงานกับหน่วยในพื้นที่ ติดตามทุนการศึกษารายปีต่อเนื่องผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

เปิดอ่าน 3,394 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
"สหพัฒน์" เปิดตัวโครงการ "สหพัฒน์แอดมิชชั่น" ครั้งที่ 27  สานต่อ 4 กิจกรรมหลัก เพื่ออัปเกรดเด็กไทย ไปให้ถึงฝั่งฝัน
"สหพัฒน์" เปิดตัวโครงการ "สหพัฒน์แอดมิชชั่น" ครั้งที่ 27 สานต่อ 4 กิจกรรมหลัก เพื่ออัปเกรดเด็กไทย ไปให้ถึงฝั่งฝัน
เปิดอ่าน 326 ☕ คลิกอ่านเลย

"มูลนิธิเอสซีจี" ผนึกกำลังทุกภาคส่วน ขับเคลื่อน การเรียนรู้เพื่ออยู่รอด Learn to Earn เป็นวาระแห่งชาติ
"มูลนิธิเอสซีจี" ผนึกกำลังทุกภาคส่วน ขับเคลื่อน การเรียนรู้เพื่ออยู่รอด Learn to Earn เป็นวาระแห่งชาติ
เปิดอ่าน 82 ☕ คลิกอ่านเลย

EduPLOYS จัดแข่งขันบอร์ดเกมเพื่อการศึกษา ใหญ่เทียบเท่าระดับโลก! ชิงแชมป์ประเทศไทย และชิงถ้วยนายกฯ พร้อมผนึก ม.ศรีปทุม จัดงานแนะแนว เปิดพื้นที่กิจกรรมชวนเยาวชนค้นหาตัวเอง
EduPLOYS จัดแข่งขันบอร์ดเกมเพื่อการศึกษา ใหญ่เทียบเท่าระดับโลก! ชิงแชมป์ประเทศไทย และชิงถ้วยนายกฯ พร้อมผนึก ม.ศรีปทุม จัดงานแนะแนว เปิดพื้นที่กิจกรรมชวนเยาวชนค้นหาตัวเอง
เปิดอ่าน 108 ☕ คลิกอ่านเลย

การร่วมสํารวจดวงจันทร์จะส่งผลต่อวิทยาศาสตร์ของไทยอย่างไร
การร่วมสํารวจดวงจันทร์จะส่งผลต่อวิทยาศาสตร์ของไทยอย่างไร
เปิดอ่าน 67 ☕ คลิกอ่านเลย

"แลคตาซอย" ชวนประกวดคลิปวิดีโอ ย้อนความหลัง "โตมากับแลคตาซอย" ชิงรางวัลรวมกว่า 5 แสนบาท
"แลคตาซอย" ชวนประกวดคลิปวิดีโอ ย้อนความหลัง "โตมากับแลคตาซอย" ชิงรางวัลรวมกว่า 5 แสนบาท
เปิดอ่าน 402 ☕ คลิกอ่านเลย

เทคนิคนิคมอุตสาหกรรมระยอง เตรียมเปิดสาขารถไฟฟ้าและหุ่นยนต์ นำศูนย์บ่มเพาะรองรับตลาด EEC
เทคนิคนิคมอุตสาหกรรมระยอง เตรียมเปิดสาขารถไฟฟ้าและหุ่นยนต์ นำศูนย์บ่มเพาะรองรับตลาด EEC
เปิดอ่าน 334 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ผู้บริหารการศึกษาควรได้รับการปฏิรูปก่อน
ผู้บริหารการศึกษาควรได้รับการปฏิรูปก่อน
เปิดอ่าน 11,898 ครั้ง

คู่มือการใช้งานบัตรเครดิตราชการ
คู่มือการใช้งานบัตรเครดิตราชการ
เปิดอ่าน 12,878 ครั้ง

10 เคล็ดลับการถ่ายภาพสวย สำหรับมือสมัครเล่น
10 เคล็ดลับการถ่ายภาพสวย สำหรับมือสมัครเล่น
เปิดอ่าน 21,769 ครั้ง

ตูนส์ศึกษา : ทำไม O-NET ไม่เอาเรื่องจริงในชีวิตไปออกข้อสอบ
ตูนส์ศึกษา : ทำไม O-NET ไม่เอาเรื่องจริงในชีวิตไปออกข้อสอบ
เปิดอ่าน 13,933 ครั้ง

ทำอย่างไรการเรียนรู้จึงเกิดขึ้นกับคนทั้งประเทศ โดย นพ.ประเวศ วะสี
ทำอย่างไรการเรียนรู้จึงเกิดขึ้นกับคนทั้งประเทศ โดย นพ.ประเวศ วะสี
เปิดอ่าน 9,371 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ