ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

กว่าจะเป็นครู : สรุปให้รู้ตามทันโลกการศึกษา EP.2


บทความการศึกษา 6 ก.ค. 2565 เวลา 09:31 น. เปิดอ่าน : 4,382 ครั้ง
Advertisement

กว่าจะเป็นครู : สรุปให้รู้ตามทันโลกการศึกษา EP.2

Advertisement

กว่าจะเป็นครู : สรุปให้รู้ตามทันโลกการศึกษา EP.2
 
ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้ครูไทยทั่วประเทศกำลังสอบคัดเลือกครูผู้ช่วยกันอย่างขะมักเขม้น กว่าจะเป็นครูไม่ง่ายเลยจริง ๆ แล้วประเทศอื่น ๆ มีการคัดเลือกครูแบบไหนกันบ้าง?
 
จากผลสำรวจตามการจัดอันดับระบบการศึกษาของโครงการ The World Top 201 Project เลือก 5 อันดับแรกมาที่ระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลกของปี 2022 เราคัดมาให้ดูกันว่าประเทศที่การศึกษาดีขนาดนี้เขาคัดเลือกครูกันยังไง? สรุปมาให้อ่านกันครับ
 
อันดับ 1 เป็นของใครไปไม่ได้นอกจากฟินแลนด์ที่มีชื่อเสียงด้านการศึกษามายาวนาน ด้วยคะแนนเฉลี่ยทุกด้านเกือบสูงที่สุดในหมู่ประเทศสมาชิก OECD (Organisation for Economic Co-operation and Development) ที่ร่วมการประเมิน PISA การศึกษาของฟินแลนด์นั้นเต็มไปด้วยคุณภาพในการเลือกสรร และอาชีพครูได้รับการเคารพอย่างสูงในสังคม การสมัครเข้าศึกษาต่อในระบบคณะศึกษาศาสตร์ของฟินแลนด์มีผู้สมัครเข้าเรียนถึง 20,000 คนต่อปี รับเพียง 4,000 คนเท่านั้น ถือเป็นอัตรา 1 ต่อ 5 เลยทีเดียว ในสาขาวิชาประถมศึกษาต้องร่วมสอบ VAKAVA หรือการทดสอบระดับประเทศ โดยต้องตอบคำถามจากบทความวิจัยจำนวนห้าถึงแปดบทความโดยให้อ่านบทวิจัยหกสัปดาห์เพื่อวิเคราะห์ก่อนร่วมการทดสอบและเลือกมหาวิทยาลัย 1 ใน 8 แห่งสำหรับการศึกษาต่อ หลังจากสอบวิเคราะห์ผ่านแล้วต้องทำการสอบสัมภาษณ์แบบรายบุคคลและเข้าสอบสัมภาษณ์แบบกลุ่มที่ต้องทำการจัดการเรียนการสอนและทำงานเป็นทีมกับกลุ่มที่ได้รับเพื่อพิจารณาเข้าเรียนในคณะต่อไป ครูของฟินแลนด์ต้องจบปริญญาโท ซึ่งคณะศึกษาศาสตร์เป็นหลักสูตรปริญญาตรีควบปริญญาโทต้องเรียน 5 ปี ฟินแลนด์ให้ความสำคัญแก่การวิจัยและการสืบเสาะหาความรู้ของครู ผู้เรียนจำนวนมากจึงศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก และประกอบวิชาชีพทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ต่อไป ตลอดจนการฝึกอบรมครูของฟินแลนด์นั้นไม่มีค่าใช้จ่ายและเป็นอาชีพที่รายได้สูงอีกด้วย
 
 
อันดับที่ 2 เกาหลีใต้ ได้สร้างระบบการศึกษาสมัยใหม่ มุ่งพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการเป็นสังคมแห่งความรู้ (Knowledge-based Society) สร้างสภาวะแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง รัฐบาลและประชาชนในประเทศให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมากทำให้การแข่งขันในเกาหลีสูงมาก การคัดเลือกครูจึงสูงตามไปด้วย เริ่มตั้งแต่คัดเข้าเรียนจากเด็กหัวกะทิที่เก่งที่สุดจากคะแนนสอบสูงสุด 5% เท่านั้นที่มีสิทธิเข้าศึกษาในสถาบันผลิตครู ซึ่งแบ่งออกเป็นวิทยาลัยครู 4 ปี ผลิตครูประถมศึกษาไม่มีค่าใช้จ่ายตลอดการเรียนแต่หลังจากเรียนจบแล้วต้องเข้าสอนใช้ทุนโรงเรียนประถมอย่างน้อย 4 ปี และวิทยาลัยวิชาการศึกษาสำหรับสอนเด็กมัธยม ใช้หลักสูตร 4 ปี เช่นกัน อีกทั้งยังมี Korea National University of Education มหาวิทยาลัยชั้นนำด้านการศึกษาที่ฝึกอบรมครูและนักวิชาการศึกษาออกมาโดยเฉพาะอีกด้วย ในการเข้าสอนของครูทุกคนจะมีการประเมินคุณภาพเทอมละ 2 ครั้งจากครูใหญ่และเพื่อนร่วมงานอย่างน้อย 3 คน อีกทั้งยังพิจารณาผลสำรวจจากนักเรียนและผู้ปกครองร่วมด้วย
 
ภาพจาก : https://www.instagram.com/qjawe/
 
 

Advertisement
 

อันดับที่ 3 เดนมาร์ก อาจเป็นประเทศที่ไม่ได้ค่อยได้ยินชื่อเสียงด้านการศึกษามากเท่าประเทศอื่น แต่ก็ถือว่าเป็นผู้นำด้านการศึกษาด้วยอัตราการรู้หนังสือ 99% ของคนในประเทศทำให้อาชีพครูในเดนมาร์กก็ได้รับความนิยมเช่นกัน การเป็นครูในเดนมาร์กต้องใช้เวลาในการศึกษาสี่ปีในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต โดยจะเข้าศึกษาได้นั้นต้องมีคะแนนเฉลี่ยตอนจบมัธยมสูงกว่า 7.0 จะสามารถเข้าโควตาในรอบแรกได้ ในโควตารอบที่สองนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยจะมีการสอบสัมภาษณ์และปรับพื้นฐานของคุณสมบัติทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ในตอนที่เข้าศึกษาจะให้เลือกวิชาที่ต้องการสอน 3 วิชา แบ่งเป็นวิชาหลัก คือ ภาษาเดนมาร์ก คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ วิชารองให้เลือกได้ 2 วิชา คือ เยอรมัน ดนตรี ชีววิทยา พลศึกษา อังกฤษ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ศิลปะ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศึกษา งานฝีมือและการออกแบบ และศาสนา สำหรับครูที่ต้องการสอนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์จะมีเกณฑ์การคัดเลือกพิเศษ แบ่งระดับชั้นที่ต้องการสอนออกเป็นเกรด 1-6 และ เกรด 4-10 โดยครูประถมและมัธยมตอนต้นจะเรียนและฝึกงานทั้งหมดสี่ปีกับมหาวิทยาลัยและจบปริญญาตรี แต่หากเป็นครูมัธยมตอนปลายจะต้องสำเร็จหลักสูตรระดับปริญญาตรีสามปีและหลักสูตรระดับสูงกว่าปริญญาตรีสองปีเป็นการศึกษาเพิ่มเติมในด้านวิชาที่ตัวครูเลือกสอนแล้วสำเร็จการศึกษาออกมาเป็นครูได้
 
อันดับที่ 4 ฮ่องกง ถือว่าให้ความสำคัญกับการพัฒนาครูเป็นอย่างมาก และเชื่อว่าครูที่มีคุณภาพจะทำให้ประชากรของฮ่องกงมีคุณภาพและพัฒนาไปอย่างมั่นคง รัฐบาลเริ่มพัฒนาครูจากการเพิ่มเงินเดือนของครูและให้สวัสดิการมากมาย ทั้งปัจจัยในการดำรงชีพ ประกันสุขภาพที่ครอบคลุมไปถึงครอบครัวเพื่อดึงดูดคนหนุ่มสาวที่มีความสามารถ เงินเดือนเริ่มต้นของครูในฮ่องกงเริ่มที่ 19,000 เหรียญฮ่องกง (ประมาณ 85,000 บาทไทย) ทำให้คนจำนวนมากต้องการเป็นครูการแข่งขันคัดเลือกครูจึงสูง ธรรมชาติคัดสรรคนเก่งที่ต้องการสมัครเรียนศึกษาศาสตร์หลังจากเข้าเรียนและฝึกอบรมครูในหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี และมีความประสงค์จะสอนในโรงเรียนจะต้องทำการลงทะเบียนครูก่อนเพื่อได้รับใบประกอบวิชาชีพรับรองคุณภาพการสอน และกำหนดว่าผู้ที่จะลงทะเบียนครูได้จะต้องผ่านการฝึกสอนและสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาด้านการศึกษาขึ้นไปหลังจากลงทะเบียนครูแล้วจึงจะสามารถเข้าไปสอนในโรงเรียนได้ และในปัจจุบันครูในฮ่องกงที่ต้องการเข้าสอนในโรงเรียนของรัฐจะต้องสอบด้านกฎหมายซึ่งเป็นข้อสอบของราชการในฮ่องกง การทดสอบปัจจุบันเป็นเอกสารสองภาษาที่ประกอบด้วยคำถามแบบปรนัย 15 ข้อ เป็นการทดสอบความรู้ของผู้สมัครเกี่ยวกับกฎหมายพื้นฐาน ผู้สมัครจะต้องได้คะแนนขั้นต่ำ 53 จาก 100 (หรืออย่างน้อย 8ใน 15) จึงจะผ่าน ผลการสอบผ่านเป็นแบบถาวรและสามารถใช้สมัครงานราชการทั้งหมดในฮ่องกงได้ โดยผู้ที่ถูกกำหนดให้สอบคือครูที่จบการศึกษาใหม่และมีการย้ายงานในปีนี้ และในปีต่อ ๆ ไปทุกปี ครูและบุคลากรทางการศึกษาประมาณ 1,000-2,000 คน ต้องเข้ารับการทดสอบ และในอนาคตจะมีการขยายมาตรการให้ครอบคลุมครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเอกชน และโรงเรียนอนุบาลต่อไป
 
ภาพจาก : https://undubzapp.com/
 
อันดับสุดท้ายที่ 5 กับ สหราชอาณาจักร ที่มีชื่อเสียงด้านการศึกษาติดอันดับโลกมาตลอด กว่าจะเป็นครูต้องผ่านการทั้งการเรียน การฝึกอบรมและการสอบ Qualified Teacher Status – QTS เพื่อรับใบวิชาชีพครู โดยจะแบ่งเป็น 2 ทางหลัก ๆ คือหากเป็นครูประถมจะต้องเข้าเรียนหลักสูตรครู 4 ปีจากคณะศึกษาศาสตร์ และเข้าฝึกอบรมครูในโปรแกรม Initial Teacher Training (ITT) โดยจะให้ฝึกสอนเป็นเวลา 1 ปี ตามโรงเรียน 3 แห่ง ที่ละ 6-8 สัปดาห์ ได้ฝึกทำหน้าที่ครูจริง และมีพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาระหว่างฝึกอบรม แต่หากอยากสอนในระดับมัธยมศึกษาส่วนมากจะต้องเรียนในคณะวิชานั้นโดยตรง เช่นหากต้องการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ในมัธยมปลายการเรียนคณะเคมีในระดับปริญญาตรีก่อนที่จะศึกษาต่ออีก 1 ปีเพื่อรับประกาศนียบัตรบัณฑิตด้านการศึกษา (PGCE) และเข้าฝึกอบรมครูในโปรแกรม Initial Teacher Training (ITT) ก่อนจะสอบใบประกอบวิชาชีพ Qualified Teacher Status – QTS เพื่อเข้าสอนเป็นครูในโรงเรียนของสหราชอาณาจักร อีกทั้งในบางรัฐของอังกฤษเช่น สกอตแลนด์ คุณครูที่ประสงค์จะสอนในสกอตแลนด์จะต้องลงทะเบียนกับ General Teaching Council for Scotland (GTCS) ดำเนินการโดยไม่ขึ้นกับรัฐบาลสหราชอาณาจักรในการสร้างและทบทวนมาตรฐานการศึกษาและมาตรฐานการฝึกอบรมสำหรับครู ครูทุกคนในสกอตแลนด์ต้องลงทะเบียนกับ GCTS เพื่อให้เป็นครูที่ถูกต้องตามกฎหมายและในแต่ละรัฐของอังกฤษนั้นมีเงื่อนไขอื่น ๆ แตกต่างไปเล็กน้อยตามนโยบายการศึกษาของรัฐต่าง ๆ แต่เส้นทางเป็นครูยังเป็นมาตรฐานเดียวกันกับรัฐบาลกลาง
 
ไทยเราเองก็มีมาตรฐานในการสอบคัดเลือกครู จากสถิติยอดสมัครเข้าสอบของปี 2564 พบว่ามีผู้สมัครสอบกว่า 1.7 แสนคน แต่รับเพียง 1.1 หมื่นคนทั่วประเทศไทยเท่านั้น และในหลายพื้นที่ยังขาดแคลนครู ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น? ทั้งที่มีผู้สมัครเป็นจำนวนมาก อ้างอิงจากผลสำรวจของเด็กมัธยมปลายที่ยื่นสมัครต่อมหาวิทยาลัยผ่านระบบ TCAS63 พบว่าคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ไม่ติด 1 ใน 5 อันดับคณะยอดนิยมที่นักเรียนอยากเรียนทั้ง ๆ ที่ผลสำรวจอาชีพในฝันของเด็กอายุ 7-14 ปีของปี 2564 พบว่าครูเป็นอาชีพในฝันอันดับที่ 2 ของเด็กไทย เป็นคำถามที่ทำให้ฉุกคิดได้ว่า ครูในเมืองไทยถูกให้ความสำคัญไม่มากพอเมื่อเทียบกับต่างชาติ ทั้ง ๆ ที่เป็นรากฐานของการพัฒนาคนที่จะเป็นอนาคตของชาติหรือไม่?
 

ขอบคุณข้อมูลจาก www.attanai.com

  


กว่าจะเป็นครู : สรุปให้รู้ตามทันโลกการศึกษา EP.2กว่าจะเป็นครู:สรุปให้รู้ตามทันโลกการศึกษาEP.2

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

คืนครูสู่ห้องเรียน

คืนครูสู่ห้องเรียน


เปิดอ่าน 17,068 ครั้ง
ครูพันธุ์ควอลิตี้

ครูพันธุ์ควอลิตี้


เปิดอ่าน 9,330 ครั้ง
ภาษาอังกฤษไม่แข็ง

ภาษาอังกฤษไม่แข็ง


เปิดอ่าน 10,364 ครั้ง
คุณครูหายไปไหนครับ?

คุณครูหายไปไหนครับ?


เปิดอ่าน 20,684 ครั้ง
Advertisement


:: เรื่องปักหมุด ::

"ครูเคยโทษตัวเองบ้างหรือไม่ ?" บทความกระแสคัดค้านการถ่ายโอนสู่ท้องถิ่น โดย วีระ สุดสังข์

"ครูเคยโทษตัวเองบ้างหรือไม่ ?" บทความกระแสคัดค้านการถ่ายโอนสู่ท้องถิ่น โดย วีระ สุดสังข์

เปิดอ่าน 22,361 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เปิดม่านการศึกษา : 3 พ.ค. 59 : โดย...ครูแจ่ม
เปิดม่านการศึกษา : 3 พ.ค. 59 : โดย...ครูแจ่ม
เปิดอ่าน 10,381 ☕ คลิกอ่านเลย

การศึกษาในศตวรรษที่ 21 รร.ต้องร่างหลักสูตรให้เด็กเป็นผู้บริหาร
การศึกษาในศตวรรษที่ 21 รร.ต้องร่างหลักสูตรให้เด็กเป็นผู้บริหาร
เปิดอ่าน 8,159 ☕ คลิกอ่านเลย

"การผลิต" กับการศึกษาประเทศสิงคโปร์
"การผลิต" กับการศึกษาประเทศสิงคโปร์
เปิดอ่าน 13,347 ☕ คลิกอ่านเลย

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ศตวรรษที่ ๒๑ : ไทยแลนด์ ๔.o
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ศตวรรษที่ ๒๑ : ไทยแลนด์ ๔.o
เปิดอ่าน 107,790 ☕ คลิกอ่านเลย

การถ่ายโอนสถานศึกษาและเปลี่ยนสถานะครู เป็นพนักงานของรัฐ : ปัญหาที่เกาไม่ถูกที่คัน
การถ่ายโอนสถานศึกษาและเปลี่ยนสถานะครู เป็นพนักงานของรัฐ : ปัญหาที่เกาไม่ถูกที่คัน
เปิดอ่าน 32,185 ☕ คลิกอ่านเลย

หลักเกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะครูแนวใหม่หวังฉุดการศึกษาไทยให้สูงขึ้น?
หลักเกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะครูแนวใหม่หวังฉุดการศึกษาไทยให้สูงขึ้น?
เปิดอ่าน 19,491 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

คำค้นยอดนิยม กูเกิล-ยาฮู ประจำปี 2551
คำค้นยอดนิยม กูเกิล-ยาฮู ประจำปี 2551
เปิดอ่าน 17,123 ครั้ง

ยาหม่องสามารถใช้ขจัดหมากฝรั่งเปื้อนผ้าได้ จริงหรือ?
ยาหม่องสามารถใช้ขจัดหมากฝรั่งเปื้อนผ้าได้ จริงหรือ?
เปิดอ่าน 29,515 ครั้ง

"หมอเฉลิมชัย" พบสูตรวัคซีนรับมือโอมิครอน เพิ่มภูมิได้เพิ่มขึ้น 29-33 เท่า
"หมอเฉลิมชัย" พบสูตรวัคซีนรับมือโอมิครอน เพิ่มภูมิได้เพิ่มขึ้น 29-33 เท่า
เปิดอ่าน 3,245 ครั้ง

ปากเหม็น...ทำไงดี!!!
ปากเหม็น...ทำไงดี!!!
เปิดอ่าน 12,841 ครั้ง

จะให้ลูกเล่นกีฬาให้เก่ง ต้องฝึกทักษะควบคุมวัตถุ ตั้งแต่ตอน10 ขวบ
จะให้ลูกเล่นกีฬาให้เก่ง ต้องฝึกทักษะควบคุมวัตถุ ตั้งแต่ตอน10 ขวบ
เปิดอ่าน 11,305 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ