ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

"วิชา..." ที่โรงเรียนไม่ได้สอน


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,146 ครั้ง
Advertisement

"วิชา..." ที่โรงเรียนไม่ได้สอน

Advertisement

❝ "วิชา..." ที่โรงเรียนไม่ได้สอน ❞

"วิชา..." ที่โรงเรียนไม่ได้สอน

วิชาความรู้ในห้องเรียนให้อะไรกับชีวิต การเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาทำให้ผู้เรียนเข้าใจตัวเองและสังคมหรือไม่ เห็นคุณค่าของชีวิตและความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับธรรมชาติเพียงไร จะทำอย่างไรเมื่อมีความหมายบางอย่างของชีวิตที่ความรู้ทางวิชาการในห้องเรียนไม่อาจให้นิยาม

การเสวนาเรื่อง "วิชา..." ที่โรงเรียนไม่ได้สอน มีสาระที่ให้คำตอบกับคำถามข้างต้นได้ และอาจทำให้หลายคนได้คิดว่า เป้าหมายสูงสุดของการศึกษาควรเป็นไปเพื่อสิ่งใด เราศึกษาค้นคว้าเพื่อความเข้าใจต่อการดำรงอยู่หรือเพื่อการครอบครองและเอาชนะ ... นี่คืออีกหนึ่งกิจกรรมดีๆ ที่ เวทีสร้างสุข สสส. จัดขึ้น เมื่อวันอังคารที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๒ ณ ลานกิจกรรม ชั้น ๓๕ ตึกเอส.เอ็ม.ทาวเวอร์

อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ นักวิชาการอิสระ เปิดประเด็นด้วยการยกตัวอย่างประสบการณ์ครั้งหนึ่งที่ได้รู้จักกับชายพิการผู้ไม่มีแขนทั้งสองข้าง ส่วนขาและเท้าก็ยื่นออกมาจากสะโพกเพียง ๑ ศอก แต่เขากลับสามารถทำให้อาจารย์ได้มองชีวิตในมุมใหม่ เข้าใจถึงคุณค่าและความหมายของการดำรงอยู่มากขึ้น

"เขาชื่อเอกชัย เมื่อผมพาเขาไปไหว้พระธาตุดอยสุเทพเพื่อเป็นการตอบแทนมิตรภาพที่เขามีให้แล้ว เขาก็ซื้อกำไลข้อมือกลับมาด้วยคู่หนึ่ง ระหว่างที่นั่งทานอาหารด้วยกันเขาใช้เท้าหยิบกำไลขึ้นมาหนีบไว้บนไหล่ แล้วสวมเท้าเข้าไปทั้งข้างซ้ายและข้างขวา เมื่อสวมเสร็จแล้วเขายิ้มให้ผมพร้อมกับถามว่า สวยไหมครับอาจารย์ ความรู้สึกของผมตอนนั้นช่างยิ่งใหญ่และงดงามเหลือเกิน เขาคือครูผู้ยิ่งใหญ่ที่ทำให้ผมรู้สึกได้ถึงความหมายของการมีชีวิตอยู่ ทั้งๆ ที่คนอย่างผมซึ่งมีร่างกายสมบูรณ์และใช้ชีวิตมานานกว่าครึ่งร้อยปีแล้วบางครั้งก็ยังรู้สึกคับข้องหมองใจในชีวิต รู้สึกว่ามันไม่พอ ไม่สมบูรณ์สักครั้ง ความรู้สึกอันยิ่งใหญ่นั้นผมไม่สามารถสอนให้ลูกศิษย์ของผมรู้สึกได้ในขณะที่ผมเป็นครูสอนปรัชญา"

อาจารย์ประมวล เคยเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาและศาสนาที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่ตัดสินใจเลือกชีวิตใหม่ด้วยการลาออกจากราชการเมื่ออายุครบ ๕๐ ปี แล้วเริ่มต้นแสวงหาประสบการณ์ด้านจิตวิญญาณ การเล่าถึงประสบการณ์ทางความรู้สึกที่ได้เรียนรู้จากชายผู้พิการคนนั้น เพื่อจะชี้ให้เห็นว่า วิชาการหรือความคิดที่มีการเรียนการสอนกันอยู่ในสังคมนั้นมีมากเป็นล้นพ้น แต่ไม่มีพลังในการขับเคลื่อนชีวิตคนเราไปสู่ความเบิกบานและแจ่มใสเหมือนที่อาจารย์ได้รับความรู้สึกอันทรงพลังจากชายพิการคนหนึ่ง ซึ่งแม้ร่างกายเขาจะไม่สมบูรณ์ แต่จิตใจเขากลับมีความปีติยินดีกับชีวิตและมีพลังอย่างน่าอัศจรรย์

ใช่หรือไม่ว่า การศึกษาในปัจจุบันมุ่งเน้นที่แนวคิด เหตุผล และการคิดเชิงตรรกะ แต่ไม่ได้เติมเต็มความรู้สึกด้านอารมณ์ที่เป็นนามธรรม อันมีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตและสามารถผลักดันชีวิตไปสู่ทิศทางที่สร้างสรรค์ได้ ... แล้ววิธีการเรียนการสอนอย่างไร จึงจะทำให้ผู้เรียนถึงพร้อมซึ่งความสมบูรณ์แห่งชีวิต

แบบอย่างจากโรงเรียนทอสี ซึ่งเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ คือการนำพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้กับรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุขผ่านการลงมือปฏิบัติ อาจารย์บุบผาสวัสดิ์ รัชชตาตะนันท์ ผู้อำนวยการโรงเรียนทอสี พบหลักการศึกษาตามแนวทางของพุทธศาสนาเมื่อได้อ่านหนังสือของท่านพุทธทาสภิกขุ และพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) ประกอบกับการนำตัวเองเข้าสู่วิถีการปฏิบัติธรรม จึงทำให้เข้าใจหลักพุทธศาสนาที่ว่าด้วยเรื่องการศึกษาและชีวิตมากขึ้น ดังที่อาจารย์ได้อธิบายไว้ว่า

"พอจับหลักพุทธศาสนาได้ว่า ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาคือชีวิต ก็เริ่มมองว่าสาระทั้ง ๘ ที่ให้เด็กเรียนนั้นมันเป็นวิชาการมาก แต่สิ่งที่ขาดหายไปคือ วิชาชีวิต เราจะเรียนเฉพาะวิชาเลข ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ แต่วิถีชีวิตที่เราอยู่ร่วมกันตั้งแต่ก้าวเท้าเข้ามาในโรงเรียนกลับไม่ได้เอามาเป็นบทเรียน แต่ถ้าเอาหลักพุทธศาสนานี้มาใช้เราจะได้บทเรียนชีวิตเพิ่มขึ้นมา"

วิธีการที่อาจารย์บุบผาสวัสดิ์นำบทเรียนชีวิตมาใช้ในโรงเรียนคือ จัดสรรวิถีชีวิตในโรงเรียนให้เอื้อต่อการพัฒนาชีวิต เช่น ตอนเช้าเมื่อแม่ครัวทำอาหาร เด็กๆ ต้องไปช่วยงานในครัวด้วย เด็กๆ จะได้เรียนรู้การหั่นผัก การใช้มีด ขณะเดียวกันก็ได้เรียนรู้วิชาชีวิตคือ การมีน้ำใจ การแบ่งปัน และการให้ความช่วยเหลือผู้อื่น วิชาชีวิตจึงเป็นวิชาที่มีความเป็นองค์รวม ไม่แยกส่วน และการสอนในทุกวิชาไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ จะต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนาชีวิตอันมีวิชาที่สำคัญในเบื้องต้นคือ วิชาสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง หรือสร้างสัมมาทิฏฐิ และต้องทำความเข้าใจกับผู้ปกครองด้วยว่า โรงเรียนสอนให้เด็กนอบน้อม มีความเคารพต่อคุณครู ซึ่งไม่ใช่เฉพาะครูที่สอนในห้องเรียน แต่หมายถึงแม่ครัว คนขับรถ คนสวน หรือยามรักษาความปลอดภัย ส่วนครูที่สอนในห้องเรียนและผู้ปกครองทุกคน ก็เปรียบเสมือนนักศึกษาที่ต้องเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็กๆ

อีกเรื่องหนึ่งที่ทางโรงเรียนเน้นมากคือเรื่อง "เกิดมาทำไม" ซึ่งจะสอนเด็กตั้งแต่ระดับอนุบาลโดยใช้สื่อละคร ให้เด็กๆ รู้ว่า เขาเกิดมาเพื่อทำประโยชน์ให้ตนเองและผู้อื่นควบคู่กันไป

นอกจากโรงเรียนทอสีแล้ว ยังมีอีกหลายรูปแบบการเรียนรู้ที่น่าสนใจในเวทีการเสวนาครั้งนี้ ดังเช่น คุณชัยวัฒน์ ไชยจารุวณิช จากแผนงานพัฒนาศักยภาพเยาวชนผ่านกระบวนการเรียนรู้ชุมชน ก็มีวิธีการให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้จากวิถีชีวิตท้องถิ่นของตน ด้วยการจัดกิจกรรมพิเศษนอกโรงเรียนในลักษณะค่ายให้กับเด็กพื้นที่ต่างๆ โดยกลุ่มเป้าหมายมีทั้งเด็กที่เรียนจบเพียงชั้นประถม เด็กที่กำลังเรียนหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน เด็กที่อยู่ในระบบโรงเรียน เด็กชนบท และเด็กเมือง

การส่งเสริมให้เด็กๆ มีโอกาสได้เรียนรู้จากความรู้ที่มีอยู่รอบๆ ตัวในท้องถิ่นและชุมชน จะช่วยให้เด็กเกิดความเข้าใจและภาคภูมิใจในถิ่นฐานของตน ซึ่งความรู้สึกนี้จะนำมาสู่ความภาคภูมิใจในตนเองในระยะต่อมา อันจะทำให้เด็กๆ มีจิตใจที่มั่นคง และพร้อมจะพัฒนาตัวเองไปในทางที่ดีเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชุมชนของตนต่อไปด้วย

"กิจกรรมการเรียนการสอนผ่านกระบวนการเรียนรู้ชุมชน เป็นการสร้างสรรค์วิธีการเรียนรู้ใหม่ๆ เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ศึกษาภูมิปัญญาในท้องถิ่น และสร้างความตระหนักในคุณค่าของความรู้ที่มีอยู่ในชุมชน" คุณชัยวัฒน์กล่าว

ด้าน พระมหานิคม คุณสัมปันโน ผู้ก่อตั้งจาริกาสิกขาลัย ใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยการจาริก หรือการเดินไปสู่แหล่งความรู้หรือผู้รู้ แตกต่างจากวิธีการศึกษาโดยทั่วไปที่กำหนดให้มีการเรียนอยู่ในสถานศึกษาที่ตายตัวและมีหลักสูตรชัดเจนที่ถูกกำหนดไว้แล้ว

วิธีการเรียนรู้แบบจาริกาสิกขาลัยจะสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ ด้วยการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นจนจบ เริ่มจากการกำหนดหลักสูตรร่วมกันว่า อยากเรียนรู้เรื่องอะไร และอยากเรียนรู้กับใคร ซึ่งอาจจะเป็นบุคคล สัตว์ สถานที่ หรือสิ่งของก็ได้ จากนั้นจะไปฝังตัวเป็นศิษย์เพื่อเรียนรู้จากสิ่งที่ตัวเองสนใจ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดฉันทะหรือความพึงพอใจที่จะเรียนรู้ เมื่อจบหลักสูตรแล้วก็มาสรุปบทเรียนร่วมกัน โดยการเรียนการสอนของจาริกาสิกขาลัยใช้หลักสูตร ๒ ปี ไม่ต้องเสียค่าลงทะเบียน และเมื่อจบหลักสูตรจะไม่มีการมอบใบประกาศให้ แต่ผู้เรียนต้องนำความรู้ไปปฏิบัติเพื่อประกาศความสามารถของตัวเอง พระมหานิคมกล่าวถึงเป้าหมายและประโยชน์ของจาริกาสิกขาลัยว่า

"ถ้าเข้าเรียนตามมหาวิทยาลัยหรือสถานศึกษาต่างๆ จะเป็นเหมือนการไปซื้อความรู้ แต่กระบวนการของเราเป็นการสร้างความรู้ แล้วนำความรู้ที่ได้ไปรับใช้ผู้อื่นและรับใช้สังคม เมื่อการเรียนแบบนี้ไม่ต้องซื้อหา ไม่ได้เสียค่าลงทะเบียน ผู้เรียนก็จะเข้ามาด้วยความอ่อนน้อม และตระหนักในคุณค่าของสิ่งที่เรียน"

สำหรับ ชัยพร นำประทีป หรือ เอี้ยว นักดนตรีผู้เคยหลงรักการเดินทาง เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีวิธีการเรียนรู้โดดเด่น เขากล้าหาญพอที่จะเดินออกจากรั้วสถาบันทั้งที่ยังเรียนไม่จบเพื่อแสวงหาตัวเองจากการเดินทาง โดยเอาระยะทางเป็นตัวตั้ง สุดท้ายเขาก็กลับมาหยุดอยู่ที่เดิม แล้วเริ่มเดินทางเข้าสู่ภายในเพื่อค้นหาชีวิตจากพุทธธรรม

"หลังจากได้ฝึกนั่งสมาธิมา ๓-๔ ปี ก็ทำให้พบว่า การเดินทางไปยังสถานที่ใกล้ไกลหลายๆ แห่งนั้น มันจะไม่มีคุณค่าเลยถ้าเราละเลยมิติภายใน คือจิตใจ จิตวิญญาณของเรา บางทีการออกเดินทางมากๆ อาจจะไม่พบตัวตนที่เราตามหาเลยก็ได้" ชัยพรเล่าถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จาการเดินทาง

วิชาที่โรงเรียนไม่ได้สอน ในทัศนะของชัยพรจึงเป็นวิชาที่เกิดจากการ "ใช้ชีวิต" ด้วยการเดินทางทั้งภายนอกและภายใน จนทำให้ "เข้าใจชีวิต" อย่างถ่องแท้และนำไปสู่การละวางตัวตนในที่สุด

นอกจาก "วิชา" ที่จะนำผู้เรียนไปสู่ความมีตัวตนที่ชัดเจนบนเวทีชีวิตแล้ว การศึกษาที่แท้จริงยังควรเป็นไปเพื่อสร้างความเข้าใจอันถ่องแท้ทั้งภายในตัวเอง สังคม และโลก ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน โดยตัววิชาความรู้ที่เล่าเรียนนั้น เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่เอื้อให้ดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมั่นใจ แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ การทำให้ผู้เรียนตระหนักว่า "หากเปิดดวงใจให้กว้าง ชีวิตก็จะมอบทุกอย่างให้เราได้เรียนรู้" ดังที่อาจารย์ประมวลได้ให้ข้อคิดปิดท้ายไว้ว่า

"ชีวิตของแต่ละคนมีขั้นตอนในการดำเนินไป และขั้นตอนของการดำเนินชีวิตไปนั้น มันจะมีบทเรียนไปเป็นระยะๆ ผมจึงพยายามสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ว่า ขอให้มีศรัทธาเชื่อมั่นในชีวิตที่มีอยู่ จงศรัทธาเถิดว่าชีวิตนี้จะดำเนินไปเพื่อการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ และเพื่อการค้นพบความหมายที่งดงามของชีวิต หากแม้นวันนี้ยังไม่พบสิ่งที่งดงามในชีวิต ก็อย่าสูญเสียศรัทธาในการมีชีวิตอยู่"

ทีมงานเวทีสร้างสุข ... รายงาน
ที่มา: http://www.seubsan.net/th/index.php/2008-06-14-04-14-46/center/240-notinschool.html

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 923 วันที่ 5 พ.ค. 2552


"วิชา..." ที่โรงเรียนไม่ได้สอน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน


เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง
เรารอ...เขาลืม

เรารอ...เขาลืม


เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง
The Letter ( ฮา กระจาย )

The Letter ( ฮา กระจาย )


เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
๙ ความเชื่อเรื่องนาฬิกา...

๙ ความเชื่อเรื่องนาฬิกา...


เปิดอ่าน 7,226 ครั้ง
เทคนิคจำศัพท์ภาษาอังกฤษ

เทคนิคจำศัพท์ภาษาอังกฤษ


เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

สกัดน้ำผลไม้ดื่มล้างพิษลำไส้  ...ต้านมะเร็ง

สกัดน้ำผลไม้ดื่มล้างพิษลำไส้ ...ต้านมะเร็ง

เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
NASA_องค์การนาซ่าจะพาครูสุทธิพรไปดาวอังคาร...ได้ยังไง???
NASA_องค์การนาซ่าจะพาครูสุทธิพรไปดาวอังคาร...ได้ยังไง???
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย

ผลไม้สปา
ผลไม้สปา
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย

เรื่อง  เกษตรพื้นฐานการขยายพันธุ์พืชไม้ดอกไม้ประดับ
เรื่อง เกษตรพื้นฐานการขยายพันธุ์พืชไม้ดอกไม้ประดับ
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย

การศึกษาการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนลูกเสือ - เนตรนารี โรงเรียนตะดอบวิทยา โครงงานเยาวชนลูกเสือไทย
การศึกษาการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนลูกเสือ - เนตรนารี โรงเรียนตะดอบวิทยา โครงงานเยาวชนลูกเสือไทย
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย

ชีวิตครูของผม ตอน อาสาสอนโรงเรียนคนตาบอด
ชีวิตครูของผม ตอน อาสาสอนโรงเรียนคนตาบอด
เปิดอ่าน 7,551 ☕ คลิกอ่านเลย

>>รู้จัก 13 มรดกโลกแห่งใหม่!!!!
>>รู้จัก 13 มรดกโลกแห่งใหม่!!!!
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

วิธีเช็คไฟฟ้าแบบง่าย ๆ
วิธีเช็คไฟฟ้าแบบง่าย ๆ
เปิดอ่าน 16,943 ครั้ง

ความสำคัญของงานกราฟิก
ความสำคัญของงานกราฟิก
เปิดอ่าน 81,912 ครั้ง

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์กราฟิก
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์กราฟิก
เปิดอ่าน 55,216 ครั้ง

แบบคำร้องขอย้ายครู ตามหนังสือ ว 18/2565 หลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
แบบคำร้องขอย้ายครู ตามหนังสือ ว 18/2565 หลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
เปิดอ่าน 21,530 ครั้ง

ประเพณีการบอกหมาก ในงานแต่งงาน
ประเพณีการบอกหมาก ในงานแต่งงาน
เปิดอ่าน 30,009 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ