จากปัญหาราคาพลังงานเชื้อเพลิงที่กำลังพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับรายได้ และเศรษฐกิจของประเทศไทยที่กำลังอยู่ในภาวะถดถอยในขณะนี้นั้น ส่งผลให้รัฐบาลพยายามหาทางออก แนวทางต่าง ๆ เข้ามาช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเชื้อเพลิง ที่ล่าสุดกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้เปิดตัว "เตามหาเศรษฐี" หรือ เตาอั้งโล่ ประหยัดถ่าน พร้อมทั้งแนะนำให้ประชาชนหันมาใช้ เตาอั้งโล่มหาเศรษฐี แทนเพราะประหยัดถ่านได้มากกว่าเตาอั้งโล่ทั่ว ๆ ไป มากถึง 40 %
หลังจากที่ พพ. เปิดตัว "เตามหาเศรษฐี" ได้เพียงแค่ 1 วัน ก็ดูเหมือนว่าจะได้รับความสนใจเป็นอย่างดี เพราะด้วยประสิทธิภาพการใช้งานก็มีท่าทีว่าจะช่วยประชาชนประหยัดได้จริงๆ เพราะ เตาอั้งโล่มหาเศรษฐี ถูกออกแบบมาให้แตกต่างจาก เตาอั้งโล่ทั่ว ๆ บนพื้นฐานความเป็นไปได้ของการออกแบบ และหลักการเผาไหม้ คือ
- มีลักษณะเพรียวและน้ำหนักเบากว่า
- ให้ความร้อนสูง อุณหภูมิกลางเตาประมาณ 1,000 – 1,200 องศาเซลเซียส โดยปกติเตาทั่วไปจะเกิดการเผาไหม้อยู่ที่ 500-600 องศาเซลเชียส
- ประหยัดถ่านกว่าเตาอั้งโล่ท้องตลาด 30 – 40% โดยมีอัตราการสิ้นเปลืองถ่านอยู่ที่ 528 กก./ปี ขณะที่เตาอั้งโล่ทั่วไปอัตราการสิ้นเปลืองถ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 730 กก./ปี
- วางภาชนะหุงต้ม(หม้อ) ได้ 9 ขนาด ตั้งแต่เบอร์ 16-32
- ขณะหุงต้มไม่มีควันและก๊าซพิษเกิดขึ้นเนื่องจากเผาไหม้สมบูรณ์
- อายุการใช้งานเฉลี่ยมากกว่า 2 ปี
ดูคุณสมบัติกันไปขนาดนี้แล้ว เชื่อว่าหลายคนคงกำลังร้องว้าวแน่นอน เพราะแนวทางที่เชิญชวนประชาชนให้หันมาใช้ "เตามหาเศรษฐี" เหมือนจะดี และเข้ากับยุคราคาพลังงานพุ่งกระฉูดมากๆ แต่หากลองพิจารณาองค์ประกอบแล้ว การใช้เตาเศรษฐียังมีข้อจำกัดอยู่ โดยเฉพาะเรื่องของการควบคุมอุณหภูมิในระหว่างประกอบอาหาร เนื่องจากอาหารบางอย่างจำเป็นจะต้องใช้ไฟแรง กลาง อ่อน เพื่อควบคุมอุณหภูมิ ไม่ให้อาหารไหม้ก่อนสุก รวมไปถึงปัญหาที่ เตาอั้งโล่ จะต้องใช้ถ่านไม้เนื้อแข็ง เพื่อช่วยให้ไฟแรงไม่แตกเป็นประกายก็ค่อนข้างหายาก เพราะปัจจุบันนี้ถ่านส่วนใหญ่มาจากไม้เนื้ออ่อนกันหมด
ด้านความเห็นของผู้ที่ต้องใช้เตาเพื่อทำอาหารโดยตรงบอกว่าคงไม่เอาด้วย เพราะกว่าจะติดเตาแต่ละทีก็ใช้เวลานานเป็น 10-15 นาที หากมัวแต่มานั่งติดเตาก็ไม่ทันใช้กันพอดี อีกทั้งวัสดุเชื้อเพลิง ถ่านก็ยังหายาก อีกทั้งยังเก็บรักษายาก แม้ว่าจะประหยัดแค่ไหนแต่ในยุคสมัยนี้ความสะดวก และรวดเร็วจะต้องมาก่อน
ในขณะนี้ที่โซเชียลก็มีการพูดถึงแนวคิดการนำเอา "เตามหาเศรษฐี" มาให้เพื่อประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงค่อนข้างมาก บางคนถึงกับบอกว่าเรากำลังจะถอยหลังลงคลองกันอยู่หรือเปล่า เพราะประเทศอื่น ๆ เดินหน้าใช้พลังงานทดแทน พลังงานสะอาดกันไปหมดแล้ว หรือบางคนมองว่าเตาอั้งโล่ประหยัดถ่านไม่ได้เพิ่งจะมีนะแต่มีมานานแล้ว และแม้ว่าจะประหยัดแค่ไหนแต่ก็ยังไม่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในปัจจุบันอยู่ดี
เปรียบเทียบคุณสมบัติระหว่างเตาอั้งโล่ทั่วไปและเตามหาเศรษฐี
|
เตาอั้งโล่ทั่วไป
|
เตามหาเศรษฐี
|
1
|
ลักษณะหนาเทอะทะมีน้ำหนักมาก
|
ลักษณะเพียวและมีน้ำหนักที่เบากว่า
|
2
|
เปลือกเตาใช้โลหะที่บางทำให้ผุกร่อนเร็ว
|
เปลือกเทาใช้โลหะหนาถูกผ่อนช้าแข็งแรงทนทาน
|
3
|
ปากเต้าตรงวางภาชนะหุงต้มได้น้อยขนาด
|
ปากเตาลาดเอียงลงด้านในสามารถวางภาชนะหุงต้มได้ 9 ขนาดรองรับการใช้งานร่วมกับหม้อตั้งแต่เบอร์ 16 ถึง 32
|
4
|
เส้าเต่าวางภาชนะหุงต้มได้สูงกว่าทำให้สูญเสียความร้อนได้มาก
|
เส้าเต่าต่ำกว่าขอบเตาเล็กน้อยทำให้สูญเสียความร้อนน้อยกว่าและให้ความร้อนที่มากกว่า
|
5
|
เมื่อวางภาชนะหุงต้มก้นภาชนะอยู่สูงกว่าขอบเตา
|
เมื่อวางภาชนะหุงต้มก้นภาชนะหุงต้มอยู่ต่ำกว่าขอบเทา
|
6
|
ช่องบรรจุถ่านใหญ่ต้องใช้ถ่านจำนวนมากในการที่จะทำความร้อน
|
ช่องบรรจุถ่านมีขนาดที่เพียงพอต่อการใช้งานในการหุงต้มได้แต่ละมื้อโดยไม่ต้องเติมถ่านอีก
|
7
|
รังผึ้งบางทำด้วยดินปั้นเตาทั่วไปชำรุดง่ายรูรังผึ้งใหญ่ไม่ดูดอากาศ
|
รังผึ้งหนาทำด้วยดินปั้นคุณภาพดีทนทานนมผึ้งเล็กและเรียวดูดอากาศได้ดี
|
8
|
ตัวเต่าทำด้วยดินเหนียวปั้นเตาทั่วไป
|
ตัวเตาทำด้วยดินเหนียวปั้นเตาอย่างดี
|
9
|
ไม่มีฉนวนกันความร้อนระหว่างทั้งเปลือกเตากับตัวเตา
|
มีฉนวนกันความร้อนระหว่างเปลือกตัวเตากับตัวเต่า
|
10
|
ขนาดหุงต้มจะมีก๊าซพิษเนื่องจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์
|
มีการเผาไหม้ที่สมบูรณ์และไม่เกิดก๊าซพิษขณะที่ใช้งาน
|
11
|
ให้ความร้อนต่ำโดยมีอุณหภูมิกลางเตาประมาณ 500 ถึง 600 องศาเซลเซียส
|
ให้ความร้อนที่สูงกว่าโดยอุณหภูมิกลางเตาอยู่ที่ประมาณ 1000 ถึง 1,200 องศาเซลเซียส
|
12
|
ประสิทธิภาพเชิงความร้อนเฉลี่ยอยู่ที่ 21 เปอร์เซ็นต์
|
ประสิทธิภาพเชิงความร้อนเฉลี่ยอยู่ที่ 29 เปอร์เซ็นต์
|
13
|
อายุการใช้งานสั้นประมาณ 1 ปี
|
อายุการใช้งานเฉลี่ยมากกว่า 2 ปี
|
14
|
ไม่ประหยัดถ่านเนื่องจากประสิทธิภาพในการใช้งานต่ำ
|
ประหยัดทานกว่าตะวันโลก 30 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์
|
ที่มา คมชัดลึก , blogsdit , กระทรวงพลังงาน