คำนาม หมายถึง คำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวีต มีตัวตนและไม่มีตัวตน
ตัวอย่าง
สมุด เก้าอี้ โต๊ะ
ต้นไม้ สิงโต รถยนต์
คน |
สัตว์ |
สถานที่ |
สิ่งของ |
พืช |
ปู่, ย่า, ตา, ยาย, ลุง,ป้า, น้า,อา, พ่อ,แม่, พี่,น้อง, เพื่อน, คุณครู, เด็กผู้ชาย, เด็กผู้หญิง, พระ |
นกแก้ว แมว สุนัข เจ้าจ๋อ กระต่าย ปลา
ไก่ กุ้ง ปู |
วัฒนาการแพทย์ บ้าน ห้างสรรพสินค้า ตลาด
โรงเรียน น้าตก ทะเล |
หนังสือ สมุด ปากกา ดินสอ กระเป๋า รถยนต์ นาฬิกา รองเทา้ แหวน พัดลม |
มะละกอ มะนาว พริก ผักกาด กล้วย ทุเรียน เงาะ มะม่วง มะเขือ ผักบุ้ง |
คำนามแบ่งออกเป็น ๕ ชนิดดังนี้
๑. คำนามที่ไม่ชี้เฉพาะหรือสามานยนาม (สา-มาน-ยะ-นาม) คือคำนามที่ใช้
เรียกชื่อโดยทั่วไปของ คน สัตว์ วัตถุ สิ่งของสถานที่สิ่งที่มีชีวิต หรือไม่มีชีวิตจะเป็น สิ่งที่มีรูป หรือไม่มีรูป ก็ได้
ตัวอย่าง
- เด็กนั่งอยู่ในโรงเรียน
- กวางชอบกินหญ้า
- ดินสออยู่ในกระเป๋า
- ท่าทางส่อนิสัย
- บ้านเป็นที่อาศัยของคน
- นกแก้วกินเมล็ดพืช
- นักกีฬาเล่นเทเบิลเทนนิส
- วิชาทำให้เกิดปัญญา
สามานยนาม บางคำมีคำย่อยเพื่อบอกชนิดของนามนั้น ๆ เรียก ว่า สามานยนามย่อย เช่น คนจีน นกแก้ว กล้วยหอม
๒. คำนามชี้เฉพาะ หรือ วิสามานยนาม (วิ-สา-มาน-ยะ-นาม) คือ คำนามที่ใช้เรียกชื่อเฉพาะของคน สัตว์ วัตถุ สิ่งของ และสถานที่ เมื่อกล่าวออกไปแล้วผู้ฟังจะเข้าใจได้ทันทีว่าเป็นอะไรสิ่งไหน
ตัวอย่าง
- สมศรีเป็นหญิงสาวที่เด่นในสังคม
- นายแดงและนายดำเป็นพี่น้องกัน
- เอราวัณเป็นช้างที่อยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
- สามก๊กเป็นหนังสือพงศาวดารจีน
- เขาไปสมัครงานที่กระทรวงศึกษาธิการ
คำนามที่เป็นชื่อขี้เฉพาะ (วิสามานยนาม) ใช้กับ
- บุคคล เช่น ณดล ทิพย์อาภา ปกรณ์ ภานุมาศ ศราธร
- สัตว์ เช่น หนุมาน ม้านิลมังกร ช้างเอราวัณ นิก พิม คุณทองแดง
- สิ่งของ เช่น เพลงชาติไทย บัตรเอทีเอ็มกรุงไทย แถบบันทึกเสียง พระแสงดาบ หนังสือโคลงโลกนิติ
- สถานที่ เช่น ดอยสุเทพ เกาะสีชัง วัดพระมหาธาตุ หอพระสูง พัทยา วัดพระศรีรัตนศาสดาราม อนุสาวรีย์วีรชนไทย
ข้อสังเกต
คำวิสามายนามจำนวนมากมักใช้ตามหลังคำสามายนาม เช่น (ประเทศ) ไทย , (เรือพระที่นั่ง) สุพรรณหงส์ , (โรงพยาบาล) ศรีสะเกษ
๓. คำนามบอกลักษณะ หรือ ลักษณนาม (ลัก-สะ-หนะ-นาม) คือ คำนามที่ใช้บอกลักษณะของคน สัตว์ และสิ่งของ เพื่อต้องการให้ทราบว่าคำนามนั้นมีลักษณะรูปร่าง สัณฐานปริมาณ เวลา วิธีทำ และลักษณะอื่น ๆ คำลักษณนามจะวางอยู่หลังคำนามและมีตัวบอกจำนวน (ประมาณวิเศษณ์)
ตัวอย่าง
- นกฝูงหนึ่งลงกินข้าวในนาแปลงหนึ่ง
- คุณแม่ซื้อแหวนทอง ๑ วงให้ฉันในวันเกิด
- เศรษฐีคนนั้นสวมสร้อยทอง ๒ เส้น
- แห ๑ ปาก ตากอยู่บนไม่ไผ่ ๑ ลำ
การใช้ลักษณะนามแบ่งเป็นประเภท ๆ คือ
๓.๑ บุคคลที่มีสถานภาพพิเศษ ใช้ลักษณะนามเป็น พระองค์ องค์ รูป เช่น
- กรุงธนบุรีมีพระมหากษัตริย์ ๑ พระองค์
- ที่วัดนี้มีพระภิกษุสามเณรจำพรรษา ๕ รูป
- คุณตาพรมีพระพุทธรูป ๙ องค์
เครื่องใช้ของพระมหากษัตริย์คำราชาศัพท์สิ่งที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าใช้องค์
๓.๒ อมนุษย์ ใช้ลักษณะนาม ตน เช่น กินนร กินรี คนธรรพ์ นักสิทธิ์ฤษี วิทยาธร ยักษ์ ผี นางไม้ พรายน้ำ อสูรกาย ปีศาจ
๓.๓ สัตว์ทั่ว ๆ ไป ใช้ลักษณะนาม ตัว
ยกเว้น ช้างซึ่งถือว่าเป็นสัตว์พิเศษ ช้างบ้านใช้ เชือก ช้างป่าใช้ ตัว ช้างขึ้นระวาง (ช้างหลวง) ใช้ ช้าง
๓.๔ คำนามที่เป็นนามธรรม ใช้ลักษณะนาม ข้อ ประการ ประเภท
เช่น - อุบาสกอุบาสิกาถือศีล ๕ ข้อ - เขามีเหตุผล ๓ ประการ
- นักวิทยาศาสตร์แบ่งสัตว์ได้ ๒ ประเภท
๓.๕ สิ่งต่างๆ ใช้ลักษณะนามที่จำแนกตามลักษณะหรือจำแนกตามจำนวน ปริมาณ ระยะ ขนาด ความจุ หรือ ตามลักษณะของบรรจุภัณฑ์
เช่น - ทวนเทียนเกวียนใช้เล่ม
- เทียนพรรษาใช้ต้น
- โทรทัศน์โทรศัพท์โทรสารใช้เครื่อง
- ดวงตราไปรษณียากรตะเกียงดาวเทียมวิญญาณใช้ดวง
- จักรเย็บผ้าโซโลเปียนโนม้งใช้หลัง
๓.๕.๑ ลักษณนามบอกสัณฐาน เช่น วง หลัง แผ่นผืน บาน ลูก ใบ แท่ง ก้อน คัน ต้น ลำ เครื่อง ดวง กระบอก เส้น ปาก ขึ้น ขี่ แพ รางเม็ด ตับ เป็นต้น
๓.๕.๒ ลักษณนามบอกจำแนก เช่น กอง พวก เหล่า ฝูง หมวด หมู่ โขลง คณะ นิกาย สำหรับ ชุด ข้อ โรง ครอก ชั้น ฉบับ ระดับ จำพวก อย่าง ชนิด รูปแบบ ประเด็น เป็นต้น
๓.๕.๓ ลักษณนามบอกปริมาณ เช่น คู่ กุลี บาท ชั่ง กิโลกรัม ชะลอม ขวด หีบ หยด กล่อง ช้อน ถ้อย ลิตร ตุ่ม ไห โยชน์ เป็นต้น
๓.๕.๔ ลักษณนามบอกเวลา เช่น วินาที นาที ชั่วโมง วัน เดือน ปี ยก รอบ ครั้ง คราว สมัย ยุค หก ที ช่วง ศตวรรษ กะ เป็นต้น
๓.๕.๕ ลักษณนามบอกวิธีทำ เช่น จีบ มวน มัด ตับ ม้วน กำ ท่อน ห่อ หยิบ จับ ผูก เป็นต้น
๔. คำนามบอกอาการ (อาการนาม) คือ คำนามที่บอกอาการ หรือ ความเป็นอยู่ ส่วนมากมีคำว่า "การ" และ "ความ" นำหน้า
คำว่า"การ" ใช้นำหน้าคำกริยาที่แสดงความเป็นไปทางกาย วาจา เช่น การนั่ง การเดิน การวิ่ง การพูด การนอน การกิน การจับ
คำว่า"ความ" ใช้นำหน้าคำริยาที่แสดงความเป็นไปทางจิตใจ หรือความนึกคิด เช่น ความคิด ความเข้าใจ ความเสื่อม ความเจริญ ความรัก ความเกลียด ความรู้ ใช้นำหน้าคำวิเศษณ์ เช่น ความชั่ว ความดี ความสุข
ข้อสังเกต"การ" "ความ" นำหน้าคำชนิดอื่นนอกเหนือจากคำกริยาและคำวิเศษณ์ ไม่ใช่อาการนาม เช่น การบ้าน การเรือน การฝึก การเมือง การคลังการประปา การไฟฟ้า ความวัว ความควาย ความอาญา ความแพ่ง จะเป็นสามานยนาม(นามทั่วไป)
๕. คำนามบอกหมวดหมู่ (สมุหนาม) คือ คำนามที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ ที่อยู่เป็นหมวดหมู่รวมกัน เช่น กรม กอง ฝูง โขลง คณะ บริษัท ทีม กลุ่ม หมู่เหล่า สมาคม เป็นต้น การสังเกต จะเขียนไว้หน้าคำนาม
ตัวอย่าง
- โขลงช้างเดินอยู่ริมลำธาร
- คณะครูประชุมในห้องสมุด
- หมู่ลูกเสือกำลังเดินทางไกล
- กองทหารตั้งอยู่ที่เชิงเขา
สมุหนามแยกย่อย ได้ดังนี้
๕.๑ คำที่แสดงหมวดหมู่ของนาม ได้แก่ กอง กลุ่ม ก๊ก โขลง คณะ ชุด พวก ฝูง รัฐบาล เช่น
- รัฐบาลไทยกำลังเจรจากับกัมพูชาเรื่องเขาพระวิหาร
- กลุ่มวัยรุ่นออกช่วยเหลือชาวบ้านประสบภัยแล้ง
- เด็กนักเรียนอนุบาลกำลังเล่นอยู่ที่กองทราย
๕.๒ คำที่เป็นชื่อของสถานที่ หรือ องค์การต่าง ๆ แต่สมมติให้เป็นบุคคลขึ้นตามความนิยมของภาษา หมายถึง กลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในสถานที่ หรือองค์การนั้นๆก็จัดเป็นสมุหนาม เช่น กรม องค์การ สภา ศาล บริษัท ประเทศ โรงเรียน กระทรว
ตัวอย่าง
- กรมการปกครองประกาศรับสมัครการสอบคัดเลือกเป็นข้าราชการ
- สภากาชาดออกให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ชายแดน
- บริษัทประกาศรับสมัครพนักงานหลายตำแหน่ง
- ประเทศไทยเตรียมต้อนรับนักกีษาต่างชาติ
- ศาลตัดสินคดีผู้ก่อการร้ายแล้วเมื่อวันศุกร์
ตารางเปรียบเทียบสมุหนามกับลักษณนาม
สมุหนาม |
ลักษณนาม |
คณะครูโรงเรียนเทศบาลวัดหลวง
|
ครูคณะหนึ่งเดินทางมาโรงเรียนเทศบาลวัดหลวง
|
นักเรียนชั้น ป.๖ กำลังเดินทางไปที่กองทหาร
|
ทหารกองนั้นกำลังเตรียมตัวต้อนรับนักเรียน ชั้นป.๖
|
ฝูงนกบินผ่านอาคารเรียน
|
นกหนึ่งฝูงกำลังบินผ่านอาคารเรียน
|
สมุหนามในข้อ ๕.๒ จะต้องเป็นสมมติบุคคล จึงจะนับว่าเป็น "สมุหนาม" แต่ถ้า หมายถึง สถานที่ หรือ องค์การตามรูปศัพท์ต้องนับว่าเป็นนามชนิดอื่นตามชนิดของแต่ละคำไม่ใช่เป็นสมุหนาม เช่น
- บริษัทตั้งอยู่ที่ถนนศรีปราชญ์ บริษัท สามานยนาม
- บริษัทขอแสดงความขอบคุณลูกค้าทุกคน บริษัท สมุหนาม
- โรงเรียนออกใบรับรองความประพฤติให้นักเรียน โรงเรียน สมุหนาม
- ประชาชนในตาบลกุดเสลาช่วยกันสร้างโรงเรียน โรงเรียน สามานยนาม
ที่มา ชุดการเรียนรู้เรื่องการจำแนกชนิดของคำในภาษาไทย ผลงานครูยุวดี วงศ์ทอง