เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2565 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ กระทู้ถามแยกเฉพาะที่ 387/ร. โดยมีเนื้อหาสาระคือ รมว.อว. ตอบกระทู้ สส.สุรวาท ทองบุ พรรคก้าวไกล เกี่ยวกับขึ้นเงินเดือน 8% อุดมศึกษา มีรายละเอียด ดังนี้
สภาผู้แทนราษฎร
25 มกราคม 2565
เรื่อง การพิจารณาเยียวยาปรับเงินเดือนให้แก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาจำนวนร้อยละ 8
กราบเรียน ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ข้าพเจ้าขอตั้งกระทู้ถาม ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตรวิจัย และนวัตกรรม ดังต่อไปนี้
สืบเนื่องจากอาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีสถานะเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ได้รับเงินเดือนน้อยกว่าข้าราชการครูสังกัดอื่นอยู่ร้อยละ 8 อันเนื่องมาจากรัฐบาลในยุคปี 2554 ได้ขึ้นเงินเดือนให้ข้าราชการครูทั่วประเทศจึงทำให้อาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีลักษณะวิชาชีพเช่นเดียวกับ ข้าราชการครูซึ่งเป็นความเหลื่อมล้ำมานานกว่า 10 ปี กล่าวคือตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 และขณะนี้มีกฎหมายเกี่ยวกับการเยียวยา ได้แก่ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนใน สถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2562 และในเรื่องนี้ได้มีกระทู้ถาม รวมทั้งท่านได้ตอบกระทู้ถามเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 ไปแล้วนั้น จึงขอเรียนถามว่า
1. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตรวิจัยและนวัตกรรม มีการดำเนินงานกรณี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความเห็นให้ทบทวน เช่น สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง สำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในการทบทวนั้นน มีผล การทบทวนในเรื่องนี้อย่างไร ซึ่งล่วงเลยระยะเวลามาหลายเดือน ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนสิงห์าคม 2564 จนถึงขณะนี้ยังไม่ทราบผลการดำเนินงาน ขอทราบรายละเอียด
2. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตรวิจัยและนวัตกรรม จะเสนอถึงคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการขึ้นเงินเดือน หรือไม่อย่างไร ใช้งบประมาณจากแหล่งใด ครอบคลุมข้าราชการกลุ่มใดบ้าง เริ่มและให้เสร็จสิ้นเมือใด ขอทราบรายละเอียด
ขอให้ตอบในห้องกระทู้ถาม
ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง รองศาสตราจารย์ สรุวาททองบุ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล แบบบัญชีรายชื่อ
ของ รองศาสตราจารย์ สุรวาท ทองบุ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคก้าวไกลแบบบัญชีรายชื่อ
เรื่อง การพิจารณาเยียวยาปรับเงินเดือนให้แก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จำนวนร้อยละ ๘
ข้าพเจ้า นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตรวิจัยและนวัตกรรมขอตอบกระทู้ถามของท่านสมาชิกผู้มเกียีรติกรณีการพิจารณาเยียวยาปรับเงินเดือน ให้แก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จำนวนร้อยละ ๘ ดังนี้
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตรวิจัยและนวัตกรรม ขอชี้แจงการดำเนินการประเด็น การพิจารณาเยียวยาปรับเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ดังนี้
เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตรวิจัยและนวัตกรรม ได้เสนอเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเยียวยาข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา กรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ปรับอัตราเงินเดือนเพื่มขึ้น ไปเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๔ นายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว มีคำสั่งให้ส่งคืนเรื่องดังกล่าว เพื่อให้กระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตรวิจัยและนวัตกรรมพิจารณาทบทวนความถูกต้องเหมาะสม โดยให้รับ ความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ไปประกอบ การพิจารณา
ต่อมากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตรวิจัยและนวัตกรรม มีการดำเนินการกรณีดังกล่าว โดยเมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๕ ได้แต่งตั้ง “คณะทำงานแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำเกี่ยวกับเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา” โดยมี นายดนุช ตันเทอดทิตย์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตรวิจัยและนวัตกรรม เป็นประธาน และมีประธานที่ประชุมประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย (ทปสท.) ประธานที่ปรึกษา ทปสท. ประธานที่ประชุมสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) ประธานชมรม ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ชขอท.) และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นคณะทำงาน เพื่อเปืนการเร่งรัดการดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
โดยคณะทำงานชุดดังกล่าว ได้ดำเนิน การประชุมไปแล้วทั้งสิ้น จำนวน ๕ ครั้ง เพื่อพิจารณา ทบทวนข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านข้อกฎหมายและความเหมาะสม รวมถึงการปรับ ข้อเสนอการขอรับการจัดสรรเยียวยาข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา กรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ปรับอัตราเงินเดือนเพื่มขึ้นให้มีความเหมาะสมัยงขึ้น พร้อมทั้งหารือร่วมกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๖ หน่วยงาน คือกรมบัญชีกลาง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสำนักงาน ก.พ.ร. (ยกเว้นสำนักงบประมาณ) ภายหลังจากรับฟังความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ที่ประชุมคณะทำงานฯ ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๖๕ ได้สรุป “ข้อเสนอหลักเกณฑ์และวิธีการเยียวยาข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษากรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ปรับอัตราเงินเดือนเพื่มขึ้น” ดังนี้
๑. เสนอขอรับการเยียวยาข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา เฉพาะสายวิชาการเป็นเงินเดือน ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๒ มีผลบังคับใช้ (วันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๖๒) กล่าวคือตั้งแต่วันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๖๒ - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ โดยเสนอขอรับเงินชดเชยเพื่อเยียวยาใน ๒ ส่วน คือ
๑.๑ การปรับเงินเดือน สำหรับผู้ที่ยังคงสถานภาพข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ จำนวน ๗,๘๙๓ คน เป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น ๒๖,๓๕๑,๐๕๕ บาท/เดือน
๑.๒ การปรับเงินเดือนย้อนหลังตั้งแต่วันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๖๒ (เงินเดือนตกเบิก) สำหรับผู้ที่ยังคงสถานภาพข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ และผู้ที่พ้นสภาพข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ก่อนวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ จำนวน ๑๐,๕๙๑ คน เป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น ๑,๒๕๒,๕๐๗,๗๕๕ บาท
๒. มีหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อขอให้ตีความว่า การเยียวยาย้อนหลัง ไปถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ (ก่อนที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๒ มีผลบังคับใช้) เป็นสิ่งที่สามารถทำได้หรือไม่ ทั้งนี้ หากสามารถทำได้ จะมีการเสนอขอรับการเยียวยาตั้งแต่วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ - ๑๔ เมษายน ๒๕๖๒ เพิ่มเติมเนื่องจากเป็นการขอรับการเยียวยาย้อนหลังไปถึงวันที่เป็นจุดเริ่มต้นของความเหลื่อมล้ำหรือไม่เป็นธรรม สำหรับผู้ที่ยังคงสถานภาพข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ และผู้ที่พ้นสภาพข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ก่อนวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ จำนวน ๒๑,๕๘๒ คน เป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น ๔,๒๖๒,๙๑๕,๒๕๐ บาท โดยให้ทยอยจ่ายให้กับ ผู้ได้รับผลกระทบจำนวนปีละ ๘๕๒,๕๘๓,๐๕๐ บาท เป็นระยะเวลา ๕ ปี
สำหรับการเยียวยาข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา สายสนับสนุน คณะทำงานฯ ยังมีประเด็นที่ต้องพิจารณารายละเอียดต่อไป
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๕ ได้พิจารณาข้อเสนอของคณะทำงานดังกล่าวข้างต้นแล้ว มีมติเห็นชอบ ตามข้อเสนอโดยขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตรวิจัยและนวัตกรรม เล็งเห็นถึงความสำคัญของ การดำเนินการกรณีการพิจารณาเยียวยาปรับเงินเดือนให้แก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเยียวยาข้าราชการผู้ได้รับผลกระทบ ตามมติคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.)ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๕
ข้อเสนอหลักเกณฑ์และวิธีการเยียวยาดังกล่าวที่อยู่ระหว่างการดำเนินการครั้งนี้ จะครอบคลุม ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา เฉพาะสายวิชาการที่ยังคงสถานภาพข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษา ตั้งแต่วันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๖๒ (ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๒ มีผลบังคับใช้) โดยเสนอขอรับเงินชดเชย เพื่อเยียวยาใน ๒ ส่วน คือ
๑. การปรับเงินเดือน สำหรับผู้ที่ยังคงสถานภาพข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕
๒. การปรับเงินเดือนย้อนหลังตั้งแต่วันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๖๒ (เงินเดือนตกเบิก) สำหรับ ผู้ที่ยังคงสถานภาพข้า ราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ และผู้ที่พ้นสภาพ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ก่อนวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕
ทั้งนี้ แหล่งการใช้งบประมาณ จะเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี
สำหรับประเด็นการขอรับการเยียวยาย้อนหลังไปถึงวันที่เป็นจุดเริ่มต้นของความเหลื่อมล้ำ หรือไม่เป็นธรรมว่าสามารถทำได้หรือไม่นั้น สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตรวิจัยและนวัตกรรม จะมีหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อขอให้ตีความในประเด็นดังกล่าว และหากสามารถทำได้ก็จะมีหนังสือเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเยียวยาข้าราชการผู้ได้รับผลกระทบ ย้อนหลัง ในระหว่างวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ - ๑๔ เมษายน ๒๕๖๒ ต่อไป และสำหรับข้า ราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา สายสนับสนุน คณะทำงานแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำเกี่ยวกับเงินเดือน ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จะพิจารณาผลกระทบที่ได้รับจากการปรับเงินขึ้นเงินเดือนของ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ ในรายละเอียดต่อไป