ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เงินเฟ้อ คืออะไร


ความรู้ทั่วไป 7 มิ.ย. 2565 เวลา 03:48 น. เปิดอ่าน : 4,120 ครั้ง
เงินเฟ้อ คืออะไร

Advertisement

เงินเฟ้อ คืออะไร มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและประชาชนมากน้อยแค่ไหน

เงินเฟ้อ คือ ภาวะที่ราคาสินค้า-บริการโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง หากเงินเฟ้อเพิ่มมากขึ้นจะกระทบฐานะ และความเป็นอยู่ของประชาชน

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานทำหน้าที่ควบคุมดูแลเรื่องเงินเฟ้อ คือ กระทรวงพาณิชย์ และธนาคารแห่งประเทศไทย

กระทรวงพาณิชย์ ส่วนหนึ่งคือการดูแลราคาสินค้าและบริการไม่ให้ผู้ประกอบการฉวยโอกาส หรือเอาเปรียบผู้บริโภค หรือตรึงราคาไว้ในช่วงที่สินค้าขาดแคลนระยะสั้น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ติดตามรวบรวมข้อมูลราคาสินค้า และบริการที่ผู้บริโภคซื้อเป็นประจำทุกวันจากตลาดและแหล่งจำหน่ายต่างๆ ทั่วประเทศ นำมาคำนวณจัดทำเป็นดัชนีที่เรียกว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทราบภาวะเงินเฟ้อสามารถวัดได้จากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีดังกล่าว ซึ่งเรียกตัวชี้วัดนี้ว่า "อัตราเงินเฟ้อ"

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดำเนินนโยบายการเงินผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อดูและเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำและไม่ผันผวน เอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว และความกินดีอยู่ดีของประชาชน

เงินเฟ้อเกิดจากอะไร

สาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อแบ่งได้ 2 สาเหตุหลักๆ คือ

  1. ประชาชนต้องการซื้อสินค้า และบริการเพิ่มขึ้น (เรียกว่า Demand-Pull Inflation) ประกอบกับสินค้าและบริการนั้นๆ ในตลาดมีไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ขายปรับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น
  2. ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น (เรียกว่า Cost-Push Inflation) คือ หากผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้ จะทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าและบริการให้สูงขึ้นด้วย

เงินเฟ้อกับเงินฝืดต่างกันอย่างไร

ตรงกันข้ามกับภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินฝืดเกิดขึ้นเมื่อระดับราคาสินค้าและบริการลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุหลายประการ เช่น ความต้องการซื้อสินค้าและบริการของประชาชนลดลง หรือ ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ มีไม่เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งอาจทำให้ราคาสินค้าปรับลดลง ผู้ผลิตก็อาจไม่ต้องการผลิตสินค้าและบริการในปริมาณเท่าเดิม ทำให้ลดกำลังการผลิตลง และส่งผลให้เศรษฐกิจซบเซาในที่สุด

จะเห็นได้ว่า ทั้งภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืด เกิดจากการเคลื่อนไหวขึ้นลงของเศรษฐกิจตามวัฏจักร แต่หากมีความรุนแรงและยืดเยื้อ ก็ล้วนส่งผลเสียต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและความกินดีอยู่ดีของประชาชนด้วยกันทั้งสิ้น

ผลกระทบต่อประชาชนทั่วไป

รายจ่ายหรือภาระค่าครองชีพสูงขึ้น ทำให้ประชาชนมีอานาจซื้อน้อยลง มีความสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการได้น้อยลง และอาจทำให้รายได้ที่มีหรือเงินที่หามาได้ไม่เพียงพอกับการยังชีพ

อัตราเงินเฟ้อยิ่งสูง จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่หักเงินเฟ้อออก หรือที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง จะมีค่าลดลงไป เนื่องจากดอกเบี้ยที่เราได้รับเอาไปใช้ซื้อของได้น้อยลง ยกตัวอย่างกรณีที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี แต่หากอัตราเงินเฟ้อหรือราคาเพิ่มขึ้นมาร้อยละ1 อาจกล่าวได้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงหรือผลตอบแทนสุทธิที่ได้รับจริงๆ อยู่ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปีเท่านั้น แต่หากปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังเท่าเดิม แต่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 2 อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะกลายเป็นร้อยละ - 0.5 ต่อปีซึ่งถือว่ากาลังซื้อของผู้ฝากเงินลดลง การฝากเงินทำให้ได้รับผลตอบแทนจริงๆ ติดลบ ทำให้ผู้ฝากไม่อยากออมเงิน และอาจหันไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น ทองคำ อสังหาริมทรัพย์และหุ้น เป็นต้น ทำให้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วย หากไม่มีความรู้เพียงพอในการบริหารจัดการ ก็อาจทำให้เกิดเป็นภาระหนี้สินได้

ผลต่อผู้ประกอบการ-นักธุรกิจ

เมื่อสินค้ามีราคาแพงขึ้น ยอดขายก็จะลดลง ในขณะเดียวกัน ต้นทุนการผลิตก็จะสูงขึ้นด้วย ส่งผลให้เจ้าของธุรกิจบางรายอาจตัดสินใจชะลอการผลิต ลดการลงทุนและการจ้างงาน ทำให้คนตกงานมากขึ้น

ความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศลดลง เนื่องจากราคาสินค้าส่งออกของเราจะสูงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาสินค้าออกของประเทศอื่นๆ

ผลต่อประเทศ

ในภาวะที่ประชาชนซื้อของน้อยลง ธุรกิจไม่สามารถขายของได้การลงทุนเพื่อผลิตสินค้าก็จะชะลอออกไป ทำให้การพัฒนาศักยภาพการผลิตของประเทศในระยะยาวอาจชะลอลงตามไปด้วย

ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงจนทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบนานๆ ประชาชนก็จะหันไปเก็งกำไรในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง สะสมปัญหาฟองสบู่ในสินทรัพย์ต่างๆ (asset price bubble)และความไม่สมดุลในภาคการเงินของประเทศได้ เช่น หนี้ครัวเรือน

บทบาทของหน่วยงานในการแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงพาณิชย์ จะใช้เครื่องมือนโยบายการเงินดูแลคาดการเงินเฟ้อ โดยมีคณะกรรมการนโยบายการเงินดูแลรักษาระดับของเงินเฟ้อผ่านเครื่องมือ 3 ประเภท ดังนี้

  • การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของสถาบันการเงิน (Reserve Requirement)
  • การทำธุรกรรมปรับสภาพคล่องผ่านตลาดการเงิน (Open Market Operations)
  • หน้าต่างปรับสภาพคล่อง ณ สิ้นวัน (Standing Facilities)

โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะประชุมปีละ 8 ครั้ง หรือ 6-8 สัปดาห์ เพื่อกำหนดนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม


ข้อมูลจาก : ธปท.

 


เงินเฟ้อ คืออะไรเงินเฟ้อคืออะไร

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

กระเทียม....เปี่ยมคุณค่า

กระเทียม....เปี่ยมคุณค่า


เปิดอ่าน 16,641 ครั้ง
วิธีดูแลรักษาที่นอน

วิธีดูแลรักษาที่นอน


เปิดอ่าน 10,448 ครั้ง
12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน

12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน


เปิดอ่าน 12,370 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน

12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน

เปิดอ่าน 12,370 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ผิวสวย หน้าใส ด้วยมะพร้าว
ผิวสวย หน้าใส ด้วยมะพร้าว
เปิดอ่าน 12,195 ☕ คลิกอ่านเลย

วิธีแก้อาการอ่อนเพลีย หลังเดินทาง
วิธีแก้อาการอ่อนเพลีย หลังเดินทาง
เปิดอ่าน 15,272 ☕ คลิกอ่านเลย

เตือนภัย ระวังไวรัสบน Facebook กำลังระบาด
เตือนภัย ระวังไวรัสบน Facebook กำลังระบาด
เปิดอ่าน 17,342 ☕ คลิกอ่านเลย

4 พฤติกรรมเสี่ยง ทำสิ่งเหล่านี้ในอนาคตปวดหลังเรื้อรังแน่นอน
4 พฤติกรรมเสี่ยง ทำสิ่งเหล่านี้ในอนาคตปวดหลังเรื้อรังแน่นอน
เปิดอ่าน 41,485 ☕ คลิกอ่านเลย

แอร์รถมีกลิ่นตอนเปิด เกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไร
แอร์รถมีกลิ่นตอนเปิด เกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไร
เปิดอ่าน 19,936 ☕ คลิกอ่านเลย

ใครเป็นหนี้???..มีทางออก
ใครเป็นหนี้???..มีทางออก
เปิดอ่าน 16,781 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

มอบอำนาจให้ รอง กพฐ.ทำสัญญาการผ่อนชำระหนี้ รับสภาพหนี้ การดำเนินคดีฯ
มอบอำนาจให้ รอง กพฐ.ทำสัญญาการผ่อนชำระหนี้ รับสภาพหนี้ การดำเนินคดีฯ
เปิดอ่าน 22,662 ครั้ง

รู้ทันแก๊งบัตรเครดิต ขโมยง่ายกว่า ATM
รู้ทันแก๊งบัตรเครดิต ขโมยง่ายกว่า ATM
เปิดอ่าน 12,327 ครั้ง

แบบคำขอมีบัตร ประจำตัวข้าราชการ ตำแหน่ง ผอ.สพท.
แบบคำขอมีบัตร ประจำตัวข้าราชการ ตำแหน่ง ผอ.สพท.
เปิดอ่าน 10,509 ครั้ง

คิดจะซื้อ "ทีวีจอแบน" ต้องรู้อะไรบ้าง ?
คิดจะซื้อ "ทีวีจอแบน" ต้องรู้อะไรบ้าง ?
เปิดอ่าน 36,377 ครั้ง

ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์...ตลอดปี 2556
ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์...ตลอดปี 2556
เปิดอ่าน 21,886 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ