ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

"ข้อมูลเชิงสถานการณ์" หัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา


ข่าวการศึกษา 28 พ.ค. 2565 เวลา 10:22 น. เปิดอ่าน : 2,513 ครั้ง
Advertisement

"ข้อมูลเชิงสถานการณ์" หัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

Advertisement

‘ข้อมูลเชิงสถานการณ์’ หัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
 
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หากติดตามความเคลื่อนไหวในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่า กสศ. หรือกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาพยายามนำเสนอแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญเด็กนอกระบบการศึกษา ผ่านโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดยได้มีการเชื้อเชิญกลุ่มผู้บริหารจากจังหวัดต่าง ๆ ทั้งสิ้น 44 จังหวัดเพื่อมาร่วมกันขบคิดหากลไกในการช่วยกันคลี่คลายสถานการณ์ปัญหาเด็กนอกระบบการศึกษา

แต่การช่วยเหลือเด็กภายใต้สถานการณ์ของสังคมที่ค่อนข้างจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและคาดการณ์ได้ยาก สิ่งที่สำคัญมากในการดำเนินงานคือ “ข้อมูลเชิงสถานการณ์” ทั้งที่เป็นสถานการณ์ในปัจจุบัน และภาพในอนาคต รวมถึงข้อมูลตัวเลขที่สำคัญ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือตัวเลขของน้อง ๆ ที่อยู่ภาวะที่ยากจนและด้อยโอกาสทางการศึกษา

โดยข้อมูลทั้งที่เป็นสถานการณ์ และข้อมูลที่เป็นตัวเลข จะช่วยให้คณะทำงานระดับจังหวัด สามารถกำหนดประเด็นและคิดโจทย์ได้อย่างแม่นยำ
ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า Keyword ของโครงการนี้คือ “นวัตกรรม” ซึ่งนวัตกรรมจะถูกสร้างขึ้นก็ต่อเมื่อวิธีการแก้ปัญหาแบบเดิม ๆ ทำไม่ได้แล้ว

“ยกตัวอย่างเช่น ผมเป็นคนที่ชอบกินเนื้อแดดเดียวแล้วจะทำให้ติดฟันเราจะใช้ไหมขัดฟันไปเรื่อย ๆ บางครั้งขัดแล้วออกไม่หมด ต้องใช้ตัวฉีดน้ำเข้าไป ผมจึงใช้วิธีการแบบใหม่ในการนำชิ้นเนื้อนั้นออก นี่คือตัวอย่างนวัตกรรม เมื่อแก้ปัญหาแบบเดิมไม่ได้ ต้องคิดค้นวิธีการใหม่”

ดร.เกียรติอนันต์ บอกว่า เช่นเดียวกับเรื่องจัดการศึกษา ที่เรายังคงใช้วิธีการเดิม แก้ปัญหาเดิม ผลที่ออกมาก็คือไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ซึ่งจำเป็นต้องหาวิธีการใหม่ ๆ แต่อย่างไรก็ตามความน่าเป็นห่วงของสถานการณ์ปัญหาตอนนี้เราเจอโจทย์เก่า ภายใต้โลกที่มีแต่ความไม่สงบและความไม่แน่นอน

“ภายใต้โจทย์ที่เราจะต้องเจอ เราจะรับมือกับมันอย่างไร แม้ว่าโจทย์ใหญ่จะเหมือนกัน ข้อเสนอของผมซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์สำหรับจังหวัดที่กำลังจะดำเนินงานโครงการการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำจะทำให้ท่านเข้าใจปัญหา เข้าใจลูกหลานของท่าน เข้าใจจังหวัด และเข้าใจระบบของท่าน”

ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกับการศึกษา
ดร.เกียรติอนันต์ กล่าวต่อว่า ความรุนแรงของวิกฤติเศรษฐกิจไทย ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ลดคนทำงาน บ้างตกงาน เหล่านี้เป็นโจทย์สำคัญที่ต้องหาทางเข้าไปจัดการในการแก้ไขปัญหากันต่อไป

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่ชัดเจนและเห็นภาพมากที่สุดคือ สภาพเศรษฐกิจในขณะนี้ส่งผลต่อกลุ่มคนที่เปราะบางค่อนข้างมาก ตัวอย่างเช่น เงิน 500 บาท ที่หายไปจากครอบครัวที่มีรายได้ 4-5 หมื่นบาท กับเงิน 500 บาท ที่หายไปจากครอบครัวที่มีรายได้ไม่ถึง 6,500 บาท สร้างผลกระทบต่างกันมหาศาล แม้ว่าเงินจะถูกสะกิดออกเพียงนิดเดียวแต่สำหรับคนที่เขาลำบาก เงิน 500 บาท ที่หายไปนั้นเขามองว่าเป็นจำนวนที่มาก

“ซึ่งถ้าประเทศไทยโชคดีจะฟื้นตัวภายในปี 2567-2568 แต่ก็ไม่ได้ความว่าสภาพเศรษฐกิจจะกลับไปดีขนาดนั้นและใช้เวลาอีกหลายปีกว่าที่เศรษฐกิจจะกลับมาเป็นปกติอีกครั้ง นั่นหมายความว่า การจัดการศึกษาในอีก 5 ปี เป็นหนทางที่ยากลำบาก เด็กที่เข้าเรียน ม.1 เมื่อจบ ม.6 ไปเขาจะต้องจบไปท่ามกลางสภาพความเสี่ยงของพ่อแม่ที่อาจจะต้องตกงาน เขาอาจจะต้องจบไปในสภาพที่พ่อแม่ต้องย้ายไปตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อหางานทำ”

สถานการณ์ดังกล่าว สอดคล้องกับตัวเลขที่ นางสาวณัฐชา ก๋องแก้ว นักวิชาการฝ่ายนวัตกรรมข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ที่ระบุว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้จำนวนนักเรียนเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มยากจนพิเศษก่อนโควิดมีไม่ถึง 1 ล้านคน วิกฤติโควิดทำให้ตัวเลขนักเรียนยากจนสูงขึ้นกว่า 1.2 ล้านคน นอกจากนี้เรายังพบว่ารายได้เฉลี่ยครัวเรือนของนักเรียนมีแนวโน้มที่จะลดลง ยิ่งไปกว่านั้นสมาชิกในครัวเรือนอายุประมาณ 15-65 ปี หรือวัยแรงงานว่างงานเพิ่มมากขึ้น”

สำหรับนักเรียนยากจนหรือยากจนพิเศษ คือนักเรียนที่อยูในครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 3,000 บาทต่อคนต่อเดือน และมีการวัดรายได้ทางอ้อมผ่านสถานะครัวเรือน 8 ด้าน คือ 1.การมีภาวะพึ่งพิง อาทิ พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว มีคนว่างงาน ผู้สูงอายุ 2.การอยู่อาศัย อยู่กับเจ้านายหรืออาศัยผู้อื่น หรือเช่าอยู่ 3.ลักษณะที่อยู่อาศัย พื้นบ้าน/หลังคา/ฝาบ้านทำจากวัสดุอะไรบ้าง 4.ที่ดินทำกิน 5.แหล่งน้ำดื่ม 6.แหล่งไฟฟ้า 7.ยานพาหนะในครัวเรือน 8.ของใช้ในครัวเรือน

เห็นข้อมูล = เห็นถึงมิติความเหลื่อมล้ำ
นอกจากตัวเลขเด็กยากจนที่เพิ่มขึ้น นางสาวณัฐชา กล่าวเพิ่มว่า ในระบบฐานข้อมูลของกสศ.ที่เรียกสั้น ๆ ว่า iSEE ซึ่งเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ครอบคุลมจำนวนประชากรเด็กและเยาวชนของ กสศ. ซึ่งสามารถแสดงผลในรูปแบบของจังหวัดต่าง ๆ ทำให้ทุกจังหวัดสามารถเข้าไปดูได้ว่าในแต่ละจังหวัดมีความเหลื่อมล้ำ หรือมีขนาดของความเหลื่อมล้ำของเด็กยากจนหรือครัวเรือนยากจนมากน้อยแค่ไหน

“ข้อมูลใน iSEE มีความแม่นยำสูง เพราะเป็นข้อมูลที่ได้รับความอนุเคราะห์มาจากครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่เกิดจากการสำรวจในพื้นที่ และนำไปบูรณาการข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ เช่น ทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง กระทรวงศึกษาธิการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ”

และนอกจากความแม่นยำของข้อมูล ความสำคัญอีกประการของกลุ่มข้อมูลเหล่านี้คือ การชี้เป้าเด็กนอกระบบการศึกษา เป็นข้อมูลเด็กที่ไม่มีข้อมูลในระบบการศึกษาที่ถูกเชื่อมกับข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์ เพื่อชี้เป้าและเป็นแนวทางในการค้นหาว่าเด็กคนไหนที่ยังไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา ซึ่งการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ 20 จังหวัดเดิม ได้ทำงานกับกลุ่มนี้ มีการนำข้อมูลเพิ่มเติมไว้ใน iSEE ด้วย

ดร.เกียรติอนันต์ ให้ทัศนะว่า ในแง่ของการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ มีเด็ก 2 กลุ่มที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ คือ เด็กที่อยู่กับที่ และ เด็กที่มีการปรับตัว กล่าวคือ กลุ่มเด็กที่มีการปรับตัวจะมีการเคลื่อนย้ายสถานศึกษาไปเรื่อย ๆ เด็กจะหางานทำ ดังนั้น “การจัดการศึกษาในพื้นที่” อาจต้องทำในสองรูปแบบคือ สำหรับคนในจังหวัด และคนจากต่างพื้นที่ที่เข้ามาทำมาหาเลี้ยงชีพในจังหวัดของเรา ซึ่งก็พาลูกหลานเข้ามาด้วย แต่ละจังหวัดจะมีวิธีการจัดการศึกษาอย่างไร โจทย์อย่างนี้จะวนเวียนอย่างนี้ไปอีกราว 5 ปี

“เพราะฉะนั้นการศึกษาในอีก 5 ปี คือเด็กที่เข้าเรียน ม.1 เมื่อจบ ม.6 ไปเขาจะต้องจบไปท่ามกลางสภาพความเสี่ยงของพ่อแม่ที่อาจจะต้องตกงาน เขาอาจจะต้องจบไปในสภาพที่พ่อแม่ต้องย้ายไปตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อหางานทำ เหล่านี้คือ โจทย์ และปัญหาที่รอไม่ได้”

และไม่เฉพาะแค่การทำให้เด็กในอีก 5 ปีข้างหน้าสามาถหลุดพ้นจากความเสี่ยงข้างต้น กระบวนการพัฒนากลุ่มเหล่านี้ก็ต้องตามให้ทันโลกที่หมุนเร็วขึ้นกว่าเดิม

“โลกที่หมุนเร็วอาชีพยิ่งเปลี่ยน” ดร.เกียรติอนันต์ ระบุก่อนอธบายเพิ่มว่า

“ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัด ๆ ก็คือเด็กคนนั้นอยู่ริมทะเล ครอบครัวมีอาชีพประมง ถ้าเราสร้างเด็กโดยยึดอาชีพเป็นตัวตั้ง เราจะสร้างเด็กให้เป็นชาวประมงนั้นอย่างไร แต่เราต้องนึกภาพว่าเด็กจะมีอาชีพชาวประมงแบบนี้ในอีก 3-5 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ทุกวันวันนี้จีนเลี้ยงกุ้งกร้ามกรามโดย AI การทำประมงตั้งแต่คัดกุ้ง ให้อาหาร ส่งขาย ครบทุกกระบวนการโดยใช้คน 0 คน เพราะฉะนั้นถ้าเราสร้างเด็กเป็นชาวประมงแบบเดิม ไทยจะไปสู้อะไรกับเขา”

ดร.เกียรติอนันต์ แนะว่า กุญแจสำคัญในการทำงานเพื่ออยู่ให้รอดคือ เราต้องใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อเสริมทักษะเดิมที่เรามีอยู่

“อันนี้คือโจทย์ที่สำคัญ บางอาชีพใช้เทคโนโลยีง่ายๆ ที่ไม่ซับซ้อนเข้าไปช่วยได้ เช่น การเป็นเกษตรกรที่ถ่ายรูปเก่ง ขายเก่ง เกษตรกรที่หามุมดี ๆ คิด Caption ดี ๆ ขายแคนตาลูปแป๊บเดียวหมด เพื่อนำออกมาสู่ช่องทางการขายสิ่งเหล่านี้เรียกว่าเทคโนโลยี เป็นต้น”

เพราะฉะนั้น การสร้างนวัตกรรมต้องใช้ร่วมกับคน โดยที่สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มความเก่ง ชีวิตเขาถึงดีขึ้นได้
“และอยากจะบอกว่าระดับโลกเขาไม่พูดกันแล้วว่า อาชีพไหนจะรุ่ง อาชีพไหนจะร่วง แต่ทุกอาชีพจะร่วงหมดเพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น เพราะโลกเปลี่ยนเร็วกว่าที่เราคิด”  

 

ข้อมูลจาก ทีมสื่อสารองค์กรโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กสศ.
 

ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopee

https://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6


"ข้อมูลเชิงสถานการณ์" หัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาข้อมูลเชิงสถานการณ์หัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ด่วนที่สุด! แนวทางการบริหารจัดการงบประมาณค่าอาหารกลางวัน นักเรียนชั้น ม.1-3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

ด่วนที่สุด! แนวทางการบริหารจัดการงบประมาณค่าอาหารกลางวัน นักเรียนชั้น ม.1-3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

เปิดอ่าน 4,807 ☕ 2 ธ.ค. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ผลการคัดเลือกโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ รุ่นที่ 15
ผลการคัดเลือกโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ รุ่นที่ 15
เปิดอ่าน 268 ☕ 22 ธ.ค. 2567

สพฐ.สำรวจความต้องการขอรับจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ตำแหน่งครูผู้สอนเพิ่มเติม
สพฐ.สำรวจความต้องการขอรับจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ตำแหน่งครูผู้สอนเพิ่มเติม
เปิดอ่าน 189 ☕ 22 ธ.ค. 2567

เกียรติบัตรสำหรับสถานศึกษาที่เข้าร่วมการประกวดคลิปวีดิทัศน์ "Meditation Clip Contest"
เกียรติบัตรสำหรับสถานศึกษาที่เข้าร่วมการประกวดคลิปวีดิทัศน์ "Meditation Clip Contest"
เปิดอ่าน 433 ☕ 20 ธ.ค. 2567

ชื่อเต็ม ชื่อย่อ ของหน่วยงานและผู้บริหารระดับสูง ในสังกัด สพฐ.
ชื่อเต็ม ชื่อย่อ ของหน่วยงานและผู้บริหารระดับสูง ในสังกัด สพฐ.
เปิดอ่าน 811 ☕ 19 ธ.ค. 2567

ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัล "ครูดีในดวงใจ" ครั้งที่ 22 ประจำปี พ.ศ. 2568
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัล "ครูดีในดวงใจ" ครั้งที่ 22 ประจำปี พ.ศ. 2568
เปิดอ่าน 1,818 ☕ 19 ธ.ค. 2567

ศธ. เปิดตัวระบบTRS ย้ายครูออนไลน์ทุกกรณี แก้ปัญหาทุจริตโยกย้ายไม่เป็นธรรม
ศธ. เปิดตัวระบบTRS ย้ายครูออนไลน์ทุกกรณี แก้ปัญหาทุจริตโยกย้ายไม่เป็นธรรม
เปิดอ่าน 729 ☕ 17 ธ.ค. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

"หนี้ครู" ปัญหาอมตะคู่แม่พิมพ์ของชาติ
"หนี้ครู" ปัญหาอมตะคู่แม่พิมพ์ของชาติ
เปิดอ่าน 11,677 ครั้ง

วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก
วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก
เปิดอ่าน 146,877 ครั้ง

ดื่มชาดำหรือเขียวประจำวันละ3ถ้วย ปัดเป่าอัมพาตไกลร้อยละ21
ดื่มชาดำหรือเขียวประจำวันละ3ถ้วย ปัดเป่าอัมพาตไกลร้อยละ21
เปิดอ่าน 9,548 ครั้ง

A Systems Approach for Developing Technological Literacy
A Systems Approach for Developing Technological Literacy
เปิดอ่าน 11,151 ครั้ง

ตัวอย่างการแต่งกายของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ
ตัวอย่างการแต่งกายของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ
เปิดอ่าน 93,277 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ