นักคณิตศาสตร์หญิงคนแรก เกิดที่เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ เมื่อประมาณ 370 ปีก่อนคริสตกาล พ่อของเธอเป็นผู้ถ่ายทอดศาสตร์ทางการคำนวณและความเป็นนักคณิตศาสตร์ให้กับเธอ ไม่เพียงพรสวรรค์ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น ไฮพาเทียอุทิศตัวในการศึกษาด้านดาราศาสตร์และปรัชญา เธอเขียนบทความเกี่ยวกับการศึกษาระบบจำนวนเชิงซ้อนของไดโอพาทัส ทฤษฎีภาคตัดกรวยของอะพอลไลซ์และงานทางด้านดาราศาสตร์ของพโทเลมี แต่โชคร้ายที่งานทั้งหมดของเธอสูญหายไป เหลือเพียงหัวข้อเรื่องและเอกสารที่อ้างอิงบางส่วนจากงานของเธอเท่านั้น
ไฮพาเทียมีความสามารถในการพูดในที่สาธารณะอย่างคล่องแคล่ว สละสลวย และชัดเจน ทำให้การบรรยายเกี่ยวกับปรัชญาของเธอได้รับความสนใจจากผู้คนจำนวนมากทุกครั้ง จนได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในวงสังคม เธอยังมีตำแหน่งเป็นผู้ดูแลโรงเรียนพลาโต (Platonist School) โรงเรียนแห่งปรัชญาในเมืองอเล็กซานเดรียอีกด้วย นอกจากงานด้านการสอนวิชาคณิตศาสตร์และปรัชญา
ไม่น่าเชื่อว่าวาระสุดท้ายของผู้หญิงที่มีความสามารถเช่นนี้กลับถูกฆาตกรรมอย่างทารุณ ไฮพาเทียถูกจับตัวไปทำร้าย ร่างกายถูกแยกชิ้นส่วนและส่งไปยังที่ต่างๆ ทั่วเมือง สาเหตุมาจากมีผู้อิจฉาในความฉลาดและความเป็นบุคคลสำคัญของไฮพาเทีย การตายของเธอจึงถือเป็นจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์ของเมืองอเล็กซานเดรีย เพราะผู้ที่มีการศึกษาต่างหวาดกลัวและพากันออกจากเมือง ส่งผลให้บทบาทของเมืองอเล็กซานเดรียในฐานะศูนย์กลางทางการศึกษาต้องปิดฉากลงไปโดยปริยาย
คนต่อมาคือ ชาวอิตาเลียน ซึ่งเรารู้จักกันเป็นอย่างดีในฐานะเป็นผู้เริ่มต้นงานด้านพยาบาลและปฏิรูประบบทางด้านสาธารณสุขในโรงพยาบาล นอกจากนี้ฟลอเรนซ์ยังสนับสนุนการปรับปรุงระบบการดูแลสุขภาพของทหาร รวมทั้งผลักดันให้มีการพัฒนาการดูแลสุขภาพแก่ทหารอังกฤษในสมัยนั้นด้วย ทราบหรือไม่ว่า ฟลอเรนซ์ถือเป็นผู้บุกเบิกทางคณิตศาสตร์อีกท่านหนึ่ง โดยริเริ่มแนวทางทางสถิติวิเคราะห์ ด้วยการพัฒนาแผนภาพ “โพลา-แอเรียไดอะแกรม (Polar-areadiagram)” แสดงข้อมูลเกี่ยวกับการเสียชีวิตที่มาจากสภาพหรือการปฏิบัติที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การวิเคราะห์นี้ได้ใช้รูปลิ่มที่มีขนาดแตกต่างกันแทนอัตราส่วนของสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์แสดงในแผนภาพรูปวงกลม
การเก็บข้อมูล การนำเสนอโดยใช้ตารางแสดงผล การอธิบายโดยใช้แผนภูมิรูปภาพที่ฟลอเรนซ์ริเริ่มนับเป็นการปฏิวัติด้านคณิตศาสตร์วิเคราะห์ตามจุดประสงค์เฉพาะด้าน โดยเฉพาะเมื่อเธอคำนวณอัตราการตายในสงครามไครเมีย ที่เมืองสคูทารี เมื่อปี ค.ศ. 1854 แล้วระบุว่าอัตราการตายจะลดลงอย่างมาก หากมีการปรับปรุงระบบสาธารณสุขใหม่ โดยแสดงข้อมูลผ่านแผนภาพไดอะแกรมเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง แน่นอน และเชื่อถือได้ กระทั่งในปี 1858 เธอได้รับเกียรติให้เป็นสมาชิกของราชสมาคมด้านสถิติ และได้รับการยกย่องให้เป็นสมาชิกผู้มีเกียรติของสมาคมนักสถิติแห่งสหรัฐอเมริกาในปี 1874
ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล เสียชีวิตเมื่ออายุได้ 90 ปี ได้รับการขนานนามว่า “สตรีผู้นำหนทางแห่งแสงสว่าง (Lady of the lamp)” ในฐานะเป็นผู้บุกเบิกด้านการพยาบาล เช่นเดียวกับที่เธอมีส่วนให้การศึกษาทางด้านคณิตศาสตร์รุ่งเรืองมาจนปัจจุบัน
แหล่งที่มาของข้อมูล นิตยสาร plook
ขอบคุณข้อมูลจาก ทรูปลูกปัญญา