ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมศิลปศึกษาและดนตรี  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

"เพลงอีแซว" การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง


ศิลปศึกษาและดนตรี 22 พ.ค. 2565 เวลา 05:47 น. เปิดอ่าน : 20,382 ครั้ง
"เพลงอีแซว" การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง

Advertisement

เพลงอีแซว เป็นเพลงพื้นบ้านประจำท้องถิ่นและเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสุพรรณบุรี มีกำเนิดและเป็นที่ยอมรับกันว่าเพลงนี้เกิดในถิ่นสุพรรณบุรีโดยตรง แพร่หลายในเขตจังหวัดสุพรรณ บุรีและใกล้เคียง เพลงอีแซวมีความเป็นมาที่ยาวนาน มากกว่า ๑๐๐ ปี โดยในช่วงแรกๆ นั้นมีลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์ (เพลงโต้ตอบ) ที่ หนุ่มสาวใช้ร้องยั่วเย้า เกี้ยวพาราสีกันอย่างง่ายๆ สั้นๆ เพลงอีแซว แต่ก่อนเรียก เพลงยั่วเพราะร้องยั่วกัน คล้ายเพลงกลองยาว ต่อมามีผู้เอาแคนไปขายที่สุพรรณ ก็เอาแคนมาเป่าประกอบด้วย เรียกกันว่า เพลงแคน เวลาร้องใช้มือตบ เป็นจังหวะบางคนจึงเรียก เพลงตบแผละ จากนั้น ทำนองและเนื้อร้องก็ค่อย ๆ มีแบบเป็นของตัวเองขึ้น จึงมาเรียกเพลงอีแซว มีการยืมเนื้อจากเพลงฉ่อยทางอ่างทองมาร้องเป็นเรื่องยาวขึ้น เหตุที่เรียกเพลงอีแซวนั้น ก็สันนิษฐานกันไป ที่น่าเชื่อก็คือ พ่อบัวเผื่อน สันนิษฐานว่า "เพราะยืนร้องแซวกันทั้งคืน" กระทั่งเมื่อ ๖๐ - ๗๐ ปีที่ผ่านมาจึงได้พัฒนาเป็นเพลงปฏิพากย์ยาวคือมีเนื้อเพลงที่ใช้ร้องในแต่ละครั้งยาวมากขึ้น พร้อมกับมีการดัดแปลงทำนองและลักษณะการร้องรับของลูกคู่ นอกจากนั้นยังได้มีการพัฒนาเสื้อผ้าของผู้แสดง โดยจะนุ่งโจงกระเบนทั้งฝ่ายชายและหญิง ส่วนเสื้อนั้น ฝ่ายหญิงจะใส่เสื้อแขนสั้นคอกลมหรือ คอเหลี่ยมกว้าง ฝ่ายชายมักจะ ใส่เสื้อแขนสั้นคอกลม สร้าง สรรค์ความสะดุดตาด้วยสี ที่ฉูดฉาดเพื่อดึงดูดใจผู้ชม ด้วยความนิยมในเพลงอีแซวทำให้สามารถแสดงได้เกือบทุกสถานที่และทุกโอกาสเพียงแต่ จะไม่มีการแสดงในงานแต่งงาน วงอีแซวจะไม่มีข้อกำหนดเรื่อง จำนวนผู้แสดง แต่ในวงหนึ่งๆ จะมีการจัดสรรแหน่งหน้าที่ ของผู้แสดงประกอบด้วย พ่อเพลง (ผู้ร้องนำฝ่ายชาย) แม่เพลง (ผู้ร้องนำฝ่ายหญิง) คอต้น (ผู้ร้องเพลงโต้ตอบคนแรก) คอสอง , คอสาม (ผู้ร้องคนที่สองและ สาม) และ ลูกคู่ (จำนวนไม่จำกัด มีหน้าที่ร้องรับ ร้องซ้ำความ ร้องสอดแทรกขัดจังหวะ เพื่อความสนุกสนาน)

เพลงอีแซวมีจะดำเนินการแสดงโดยมีเนื้อหาเรียงลำดับ เริ่มต้นด้วยบทไหว้ครู บทเกริ่น บทประ และจบท้ายด้วยบทจาก หรือบทลา

๑. บทไหว้ครู เป็นบทกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และผู้มีพระคุณ ได้แก่ พระรัตนตรัย เทวดา ภูตผี พ่อแม่ ครูอาจารย์ ( ครูเพลงของอีแซวจะมีสองแบบ “ ครูเพลงที่เป็นจิตวิญญาณ ” เช่นพระนารายณ์ ฤาษีหรือพ่อแก่ และครูอีกประเภทคือ “ ครู เพลงที่เป็นมนุษย์ ” นอกจากครูเพลงทั้งสองแบบแล้ว ก็มี “ครู พักลักจำ” ซึ่งหมายถึงครูที่ผู้ร้องไม่ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ แต่ได้ แอบจดจำเพลงหรือลีลา ) การร้องบทไหว้ครูจะต้องนั่งกับพื้นร้อง โดยมี “พาน กำนล” หรือพานไหว้ครูวางไว้ข้างหน้า หรือยกถือไว้ในขณะร้อง โดยพ่อเพลงจะร้องก่อน ตามด้วยแม่เพลง

๒. บทเกริ่น เป็นบทร้องของฝ่ายชายและหญิงก่อนที่จะ มาพบกันตามเหตุการณ์ที่สมมุติไว้ บทเกริ่นเริ่มต้นภายหลังจาก บทไหว้ครูจบลง ผู้แสดงทั้งหมดจะลุกขึ้นยืนร้อง “เพลงออกตัว” มีเนื้อหาทักทายกัน แนะนำตัว ฝากตัวกับผู้ชม ตามด้วย “เพลง แต่งตัว” หากสมมุติเหตุการณ์เป็นการชักชวนกันไปเที่ยวบ้าน สาวๆ พอมาถึงบ้านฝ่ายหญิงแล้วจะร้อง “เพลงปลอบ” ซึ่งเป็น เพลงที่ชักชวนให้ฝ่ายหญิงออกมาร้องเพลงโต้ตอบกัน

๓. เพลงประ หมายถึงการร้องปะทะคารมกันของทั้งสอง ฝ่าย เพลงประของวงอีแซวมีหลายแบบ ได้แก่ แนวรัก ( การเกี้ยว พาราสี ) แนวประลอง ( การทดสอบฝีปากหรือทดสอบภูมิปัญญา ) และแนวเพลงเรื่อง ( ดำเนินเรื่องราวตามเรื่องของ นิทาน นิยาย หรือวรรณกรรม )

๔. บทจาก หรือ บทลา เป็นเพลงที่ใช้ร้องเพื่อ แสดงถึงความอาลัยคู่เล่นเพลง ผู้ชม หรือ กล่าวอำลาผู้ชม หรือเจ้าภาพผู้ว่าจ้างให้มาแสดง

๕. การอวยพร เป็นการร้องขอบคุณเจ้าภาพ และ ผู้ชม รวมทั้งขอบคุณผู้ให้รางวัล

ทำนองเนื้อร้องเดิมจะร้องลักษณะนี้
ชาย “ตั้งวงไว้เผื่อ ปูเสื่อไว้ท่า เอย…..
จะให้วงฉันรา ซะแล้วทำไม (จะให้วงฉันราชะแล้วทำไม)
รักจะเล่นก็ให้เต้นเข้ามาเอย…….
คนสวยจะช้า ซะแล้วทำไม (รับคนสวยจะช้า ซะแล้วทำไม”)
มาในปัจจุบันทำนองจะผิดไป และภายหลังคำ ซะแล้ว จะเหลือเพียง แล้ว ต่อมาสันนิษฐานว่า นายกร่าย พ่อเพลงรุ่นเดียวกับพ่อบัวเผื่อน หรือหวังเต๊ะ นักลำตัดชั้นครูได้ดัดแปลงทำนองเพลงอีแซวเป็นอีกทำนองหนึ่ง อย่างที่ขึ้นต้นว่า “เอ้ามาเถิดมากระไรแม่มา ๆ …..”พ่อไสว เป็นผู้เอาตะโพนสองหน้าเข้าไปตีประกอบเป็นเครื่องให้จังหวะเพิ่ม จากฉิ่ง กรับ และการปรบมืออีกเพลงอีแซวมีจังหวะกระชั้นเร็วกว่าเพลงฉ่อยหนึ่งเท่า คนร้องจึงต้องจำเพลงหลักให้แม่และมีปฏิภาณว่องไว ไม่อย่างนั้นก็ร้องไม่ทัน

ตัวอย่างเพลงอีแซวของพ่อไสว

จากนาง (เพลงอีแซวของพ่อไสว)

เอย…พี่น้องป้าน้าจะต้องลาแน่วแน่เอย….. ปากลาตาแลยังหลงอาลัย
มันเกิดกรรมปางก่อนต้องจากก่อนไกลกัน เกิดกรรมกางกั้นจะไม่ได้กอดก่าย
แม่คู่ข้าเคียงข้าง อย่าระคายเคืองขุ่น ต้องจากแน่แม่คุณเอยแม่ข่อยใบคาย
มันมีข้อขัดข้องไม่ได้ประคองเคียงข้าง รักพี่ตกค้างไม่รู้ไปฝากไว้กะใคร
รักใครรักเขามันไม่เท่ารักน้อง แม่คู่เคยประคองแม่แก้วขาวปานไข่
อีแม่คู่เคยเข็น เห็นจะเป็นคู่เขา พี่มานั่งกอดเข่าแทบจะเป็นไข้
น้องจะมีคู่ ให้นึกถึงข้า (เอย…..นึกถึงข้า)

เนื่องจากช่วงเวลาที่เล่นเป็นฤดูน้ำหลาก เป็นช่วงทำนาบรรดาพ่อเพลงแม่เพลงจากถิ่นต่าง ๆ ก็จะมาชุมนุมกัน พวกที่มาทางบกก็เล่นเพลงอีแซว ด้วยเหตุเป็นเพลงเร็ว จังหวะกระชั้น ผู้ร้องมีปฏิภาณดีหรือที่เรียกว่า มุติโตแตกฉาน ซึ่งสะท้อนภาพสังคม สอดแทรกมุขต่าง ๆ ลงในบทร้อง มีข้อความเสียดสี กินใจ สั่งสอน และบทตลก ลงท้ายด้วยการขออภัยที่ได้ล่วงเกิน จากนั้นก็ให้พรซึ่งกันและกัน ทั้งเจ้าภาพและผู้ฟัง

อุปกรณ์และวิธีการเล่น
พ่อเพลงและแม่เพลง จะเริ่มต้นโดยการกล่าวบทไหว้ครู จากนั้นฝ่ายชายจะเป็นผู้เริ่มเรียกว่า ปลอบ ฝ่ายหญิงจะว่าบท รับแขก จากนั้นฝ่ายชายจะวกเข้าหา บทเกี้ยว ฝ่ายหญิงจะรับด้วยบท เล่นตัว ฝ่ายชายจะว่าบท ออด ฝ่ายหญิงจะตอบด้วยบทเสียแค่นไม่ได้ รับรัก จากนั้นฝ่ายหญิงจะขึ้นบท เกี่ยง ให้มาสู่ขอฝ่ายชายจะขอพาหนีพอหนีตามกันก็จะถึงบทชมนกชมไม้

โอกาสและเวลาการเล่น
เล่นในเวลาเทศกาลงานสำคัญ เช่น ตรุษสงกรานต์ ขึ้นปีใหม่ งานมนัสการหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์เดือน๑๒งานทอดกฐินรวมทั้งงานเกี่ยวข้าว  

 

 

ที่มา ทรูปลูกปัญญา


"เพลงอีแซว" การแสดงพื้นเมืองภาคกลางอีแซวเพลงโอกาสพ่อไสวการแสดงภาคกลาง

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ประติมากรรม

ประติมากรรม


เปิดอ่าน 65,740 ครั้ง
จิตรกรรมไทย

จิตรกรรมไทย


เปิดอ่าน 38,186 ครั้ง
ศิลปะและสิ่งแวดล้อม

ศิลปะและสิ่งแวดล้อม


เปิดอ่าน 14,850 ครั้ง
จิตรกรรม

จิตรกรรม


เปิดอ่าน 20,468 ครั้ง
เพลง "วันแม่"

เพลง "วันแม่"


เปิดอ่าน 23,610 ครั้ง
การวาดภาพนกเบื้องต้น

การวาดภาพนกเบื้องต้น


เปิดอ่าน 70,433 ครั้ง
แนวคิดในการแรเงาน้ำหนัก

แนวคิดในการแรเงาน้ำหนัก


เปิดอ่าน 27,147 ครั้ง
การช่างและหมู่บ้านช่าง

การช่างและหมู่บ้านช่าง


เปิดอ่าน 24,278 ครั้ง
การแรเงา

การแรเงา


เปิดอ่าน 71,920 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เครื่องปั้นดินเผา (CERAMICS)

เครื่องปั้นดินเผา (CERAMICS)

เปิดอ่าน 28,381 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
โนบิ โนบิตะ : ตัวละครจากการ์ตูนโดราเอมอน
โนบิ โนบิตะ : ตัวละครจากการ์ตูนโดราเอมอน
เปิดอ่าน 35,710 ☕ คลิกอ่านเลย

แนวคิดในการแรเงาน้ำหนัก
แนวคิดในการแรเงาน้ำหนัก
เปิดอ่าน 27,147 ☕ คลิกอ่านเลย

จิตรกรรมไทยแบบประเพณี
จิตรกรรมไทยแบบประเพณี
เปิดอ่าน 25,993 ☕ คลิกอ่านเลย

ละครสังคีต
ละครสังคีต
เปิดอ่าน 81,321 ☕ คลิกอ่านเลย

การวาดภาพนกเบื้องต้น
การวาดภาพนกเบื้องต้น
เปิดอ่าน 70,433 ☕ คลิกอ่านเลย

ประติมากรรม
ประติมากรรม
เปิดอ่าน 65,740 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เพลง   :   Jingle Bell
เพลง : Jingle Bell
เปิดอ่าน 149,867 ครั้ง

ปลูก "มะละกอ" สร้างรายได้ที่น่าทึ่ง
ปลูก "มะละกอ" สร้างรายได้ที่น่าทึ่ง
เปิดอ่าน 18,123 ครั้ง

IE8 ครองตำแหน่งบราวเซอร์ที่มีผู้ใช้มากที่สุด
IE8 ครองตำแหน่งบราวเซอร์ที่มีผู้ใช้มากที่สุด
เปิดอ่าน 9,854 ครั้ง

โดเรมี : ตัวละครจากการ์ตูนโดราเอมอน
โดเรมี : ตัวละครจากการ์ตูนโดราเอมอน
เปิดอ่าน 64,387 ครั้ง

ชมคลิปฮา! นักเรียนแลกเปลี่ยนเม็กซิกัน พูดความ (จริง) ในใจ ถึงการเรียนในเมืองไทย
ชมคลิปฮา! นักเรียนแลกเปลี่ยนเม็กซิกัน พูดความ (จริง) ในใจ ถึงการเรียนในเมืองไทย
เปิดอ่าน 12,333 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ