เปิดภาคเรียน On-site อย่างเป็นทางการแล้ว ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ที่การแพร่ระบาดเริ่มลดลง อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติตนดูแลตนเองยังคงต้องเข้มงวดเหมือนเดิม โดยเฉพาะในเด็กที่สามารถติดเชื้อได้ง่าย ซคชึ่องนอกแมสก์และแอลกอฮอล์ล้างมือที่เป็นอุปกรณ์สำคัญแล้ว ชุดตรวจ ATK ที่ใช้ในการตรวจหาเชื้อก็เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
- ตรวจสอบชุดตรวจว่าได้มาตรฐานได้รับรองจาก อย. ไม่ชำรุดหรือหมดอายุ
- ศึกษาวิธีการตรวจของชุดตรวจนั้นๆ อย่างละเอียด
- ล้างมือให้สะอาด
การเก็บน้ำลาย เพื่อให้ได้สิ่งส่งตรวจที่มีคุณภาพและมีโอกาสตรวจพบเชื้อโควิด-19 ได้สูงที่สุด จะต้องเป็นน้ำลาย ที่มาจากด้านหลังของคอ
- บ้วนน้ำลายกระแอมจากลำคอลงในหลอดเก็บตัวอย่าง
- บีบสารสกัดลงในหลอด ปิดฝาให้แน่นและผสมโดยการคว่ำหลอดขึ้นลงประมาณ 10 ครั้ง
- หยดตัวอย่างประมาณ 3 หยดลงในแผ่นทดสอบ
- ทิ้งไว้ตามระยะเวลาที่คู่มือของชุดตรวจแนะนำก่อนการอ่านผล
- งดการแปรงฟัน และบ้วนปากด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ แนะนำให้บ้วนปากด้วยน้ำสะอาดเท่านั้น
- งดการรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม งดสูบบุหรี่ หรือเคี้ยวหมากฝรั่ง ประมาณ 30 นาที
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของคู่มือในกล่อง ซึ่งอาจจะมีข้อแตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละยี่ห้อ
- เลือกใช้ชุดตรวจที่ได้คุณภาพ ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา
- หากผลตรวจเป็นบวก ให้แยกกักตัวทันที และติดต่อโรงพยาบาล หรือโทร 1330
- หากผลตรวจเป็นลบ ให้ระวังผลลวง เพราะอาจมีเชื้อน้อยจนตรวจไม่พบให้ตรวจซ้ำอีกครั้งภายใน 1 – 2 วัน
- ชุดตรวจที่ใช้แล้วให้รัดปากถุงให้มิดชิดและทิ้งในถังขยะติดเชื้อ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
ก่อนทำต้องอธิบายให้เด็ก ๆ เข้าใจ แล้ว จากนั้นผู้ปกครองใส่ไม้ swab เข้าไปในจมูกเด็ก ๆ
คือ
- เทน้ำยาลงในหลอดตัวอย่างให้ถึงจุดที่กำหนด
- นำก้าน swap แหย่จมูก ให้เด็กเงยศีรษะเล็กน้อย หรือเอียงประมาณ 70 องศาฯ หมุน 3-4 ครั้ง ค้างไว้ 3 วินาที
- นำก้าน swap ใส่หลอด หมุนวนในน้ำยาประมาณ 5 ครั้ง
- นำหลอดดูดน้ำยา หยดลงช่องประมาณ 2-3 หยด
- ทิ้งไว้ตามระยะเวลาที่คู่มือของชุดตรวจแนะนำก่อนการอ่านผล
- ถ้าขึ้น 2 แถบ ที่ C และ T แสดงว่า ติดเชื้อโควิด-19
1.ภาวะน้ำไขสันหลังรั่ว เป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก แต่อย่างไรก็ตาม หากมีน้ำใส ๆ ไหลออกจากจมูก ข้างเดียว ให้สงสัยภาวะนี้ และรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามา คือ ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โดยพบประมาณ 15-20 %
2.ไม้ swab หักคาอยู่ในโพรงจมูก อาจพบได้ในกรณีที่เด็ก ๆ ดิ้น หรือขัดขืน ไม่ให้ความร่วมมือ ดังนั้นหลังดึงไม้ออกมาแล้ว ให้ตรวจสอบว่า ไม้ swab ออกมาครบถ้วนดีหรือไม่ หากสงสัยว่ามีชิ้นส่วนของไม้ติดอยู่ให้รีบพบแพทย์
3.เลือดกำเดาไหล โดยทั่วไปหลังการ swab ตรวจหาเชื้อโควิด-19 มีโอกาสที่จะมีเลือดออกเล็กน้อยได้ แต่หากเลือดกำเดาไหลออกมา ให้กดปีกจมูกด้านนั้นจนกระทั่งเลือดหยุด หรืออาจใช้น้ำแข็งหรือน้ำเย็นประคบด้วย
4.ภาวะติดเชื้อของผนังกั้นจมูก มีรายงานพบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- หากลูกของคุณมีอาการบ่งชี้ของโรคโควิด-19 ให้พบแพทย์ทันทีที่เริ่มมีอาการ แม้ว่าจะมีอาการเพียงเล็กน้อยก็ตาม
- หากแพทย์แจ้งว่าสามารถรักษาตัวที่บ้านได้ ให้เลือกผู้ที่มีหน้าที่ดูแลเด็กเพียงคนเดียวเท่านั้น เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้ที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูง ผู้ดูแลควรมีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว และได้รับวัคซีนแล้ว หากไม่สามารถแยกเด็กและผู้ดูแลออกจากสมาชิกครอบครัวที่เหลือ ขอให้แยกสมาชิกครอบครัวที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงที่อาจป่วยหนักหากได้รับเชื้อโควิด-19 ออกจากเด็กและผู้ดูแลแทน
- ห้ามกักตัวเด็กเพียงลำพัง
- ควรพูดคุยกับลูกหลานของท่านเกี่ยวกับโรคโควิด-19 และอธิบายถึงสาเหตุที่จำเป็นต้องมีการเว้นระยะห่างจากสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวเป็นระยะเวลาหนึ่ง
- ผู้ดูแลและเด็กที่อายุ 6 ขวบขึ้นไป ควรจะใส่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่พอดีกับใบหน้าเมื่อต้องอยู่ใกล้ชิดกัน
- หมั่นล้างมือเป็นประจำ ด้วยสบู่และน้ำหรือแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ
- ทำให้ลูกๆ รู้สึกมั่นใจว่าคุณจะดูแลพวกเขาเป็นอย่างดี และถ้าพักผ่อนเพียงพอ พวกเขาจะค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ
โดยกรณีเด็กติดเชื้อ แพทย์จะมีการพิจารณาอาการก่อนถึงรับเข้ารักษาแบบ Home Isolation
- ผู้ป่วยที่ลงทะเบียนในระบบ 1330
- ผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่ ARI Clinic โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณา
- ผู้ป่วยที่รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลแล้วอาการดีขึ้น แต่ต้องติดตามอาการต่อเนื่องแบบแยกกักตัวที่บ้าน
- เกณฑ์การเข้ารับผู้ป่วยเด็กสู่ Home Isolation มีรายละเอียดดังนี้
- อายุเกิน 1 ปี
- น้ำหนักตัว/ความสูง มากกว่า 160 ในเด็ก (ไม่มีภาวะโรคอ้วน)
- ไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส (อยู่ในดุลพินิจของแพทย์)
- ไม่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยง เช่น หอบหืด, โรคปอดเรื้อรัง, โรคหัวใจ, ลงชักรุนแรง, สมองพิการ, ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- มีพื้นที่กักตัวแยกห้องน้ำแยกจากผู้ไม่ติดเชื้อ
- มีผู้ดูแล
- อาศัยในเขตกรุงเทพฯ
ที่มา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ศูนย์ข้อมูล COVID-19, Siriraj Channel,
ขอบคุณที่มาเนื้อหาจาก PPTV 17 พ.ค. 2565