หรือ คือ ภาวะของคนที่หายจากโควิด-19 แล้วแต่ยังต้องเผชิญกับอาการที่หลงเหลืออยู่ ซึ่งอาการลองโควิดมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30 – 50 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรง
ดังนั้น ผู้ป่วยลองโควิด-19 ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงและสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของตนเองอยู่เสมอ ด้วยการกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ปรุงสุก สะอาด เน้นอาหารย่อยง่าย โดยเมนูที่แนะนำมีดังนี้
- อาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น ปลา นม ไข่ ซึ่งปลามีโอเมก้า 3 จะช่วยยับยั้งการเพิ่มจำนวนไวรัสในเซลล์ได้ และเน้นผัก ผลไม้ 400 กรัมต่อวัน
- อาหารที่บำรุงปอด เช่น ขิง พริกหวาน แอปเปิ้ล ฟักทอง ขมิ้นชัน มะเขือเทศ ธัญพืช น้ำมันมะกอก หอยนางรม และเบอร์รี่
- อาหารที่มีจุลินทรีย์สุขภาพ หรือโพรไบโอติกส์ (Probiotics) ได้แก่ โยเกิร์ต นมเปรี้ยว โดยควรเลือกชนิดที่มีนํ้าตาลน้อย กินร่วมกับอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง กล้วย
- ดื่มน้ำให้เพียงพอวันละ 8-10 แก้ว
- กินอาหารให้ถูกต้องตามธงโภชนาการ โดยกินผัก วันละ 4-6 ทัพพีต่อวัน ผลไม้วันละ 3-5 ส่วน
ใน 1 วัน ประกอบด้วย
1) อาหารเช้า ข้าวกล้องต้มปลา
2) อาหารว่างเช้า นมรสจืด พร่องมันเนย
3) อาหารกลางวัน ราดหน้าทะเลใส่คะน้า
4) อาหารว่างบ่าย ขนมจีบหมู 2 ชิ้น แตงโมหั่นสามเหลี่ยม 2 ชิ้น
5) อาหารเย็น แกงส้มผักรวม และข้าวกล้อง
หากมีอาการเบื่ออาหาร ควรแบ่งอาหารเป็นมื้อย่อย ๆ หลาย ๆ มื้อ เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ตลอดวัน ไม่ให้ร่างกายอ่อนล้าอ่อนเพลีย
อาหารเหล่านี้จะช่วยให้ร่างกายฟื้นฟู แข็งแรง และสร้างภูมิคุ้มกัน
1) วิตามินซี พบมากในผักและผลไม้สด เช่น ส้ม มะละกอ ฝรั่ง มะนาว มะเขือเทศ พริกหวาน เป็นต้น ควรกินแบบสด หากนึ่งหรือผัด ควรใช้ระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อรักษาคุณค่าจากวิตามินซีไว้ได้ดียิ่งขึ้น
2) วิตามินเอ เช่น เครื่องในสัตว์ ไข่แดง นม ผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียวเข้ม ผักและผลไม้สีเหลืองและสีส้ม เช่น ตําลึง ผักบุ้ง แครอท ฟักทอง มันเทศสีเหลือง มะละกอสุก เป็นต้น
3) วิตามินดี ได้แก่ ปลานิล ปลาทับทิม เห็ด ไข่แดง เป็นต้น
4) วิตามินอี ได้แก่ ไข่ ผักและผลไม้ต่าง ๆ เช่น ถั่วต่าง ๆ นํ้ามันถั่วเหลือง นํ้ามันมะกอก นํ้ามันดอกทานตะวัน อะโวคาโด เป็นต้น
5) แร่ธาตุสังกะสี ได้แก่ เนื้อสัตว์ เครื่องใน ตับ หอยนางรม ข้าวกล้อง
6) กรดไขมันโอเมก้า 3 ลดการอักเสบที่เกิดจากความเครียด ได้แก่ ปลาและอาหารทะเล น้ำมันปลา ถั่วต่างๆ น้ำมันพืช เป็นต้น
- อาหารรสจัด ย่อยยาก
- เลี่ยงอาหารแปรรูปต่าง ๆ หรือเนื้อสัตว์แปรรูป อาหารแช่แข็ง อาหารหมักดอง เพราะมีปริมาณไขมัน และเกลือสูง
- จำกัดการบริโภคน้ำตาล ของหวาน และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เพราะน้ำตาลจะทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ที่มา PPTV hd36