หรือ ไชนีสพาสย์เลย์ (Chinese parsley) เป็นผัก (vegetable) และเป็นพืชสมุนไพรมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า คอร์เรียนดรัม ซาติวัม (Coriandrum sativum L.) จัดอยู่ในวงศ์ อัมเบลลิฟีรี้ (Umbelliferae) มีชื่อพื้นบ้านว่า ผักชีไทย ผักชีลี ผักชีลา ผักหอม ผักชีไร่ ผักหอมน้อย ผักชีมีชื่อเรียกหลายชนิดแตกต่างกันไปตามพื้นที่ปลูก เช่น ภาคเหนือเรียกว่า ผักหอมป้อม และผักหอมผอม ภาคอีสานเรียกว่า ผักหอมน้อย และที่นครพนมเรียกว่า ผักหอม
ผักชีเป็นพืชล้มลุกสามารถปลูกได้กับดินแทบทุกชนิด แต่จะชอบดินร่วนมากกว่า หรือดินที่มีการระบายน้ำดี ปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ในดินที่มีความชื้นพอสมควร ผักชีเป็นล้มลุก มีอายุสั้นประมาณ 40-60 วัน ก่อนถอนผักชีควรรดน้ำให้ดินชุ่มชื้นก่อนเพื่อสะดวกในการถอน ควรถอนด้วยมือเพื่อที่จะได้ติดทั้งต้นและราก
ทุกส่วนของผักชี สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ตั้งแต่ส่วนของ ใบ ก้าน ราก และโดยนิยมนำมาบริโภคเป็นผักสด และใช้เป็นส่วนประกอบอาหารได้หลายชนิด และยังช่วยทำให้อาหารมีกลิ่นหอม รสชาติดีอีกด้วยผักชี" ผักชีที่ปลูกกันแพร่หลายในประเทศไทยมี 2 ชนิดคือ1. พันธุ์พื้นเมือง มีลักษณะใบบาง ต้นเล็ก เมล็ดเล็ก ออกดอกเร็ว อายุสั้น มีกลิ่นหอมมากจนฉุน2. พันธุ์อาฟริกา มีลักษณะใบใหญ่หนา ต้นใหญ่ กลิ่นหอมเล็กน้อย อายุยาวนานกว่าพันธุ์พื้นเมือง
ผลซึ่งเรียกว่า ลูกผักชี ใช้เป็นเครื่องเทศคุณค่าทางโภชนาการของผักชีใบสด ประกอบด้วย โปรตีน เส้นใย ฟอสฟอรัส บีตา-แคโรทีน ผล หรือ ลูกผักชี มีน้ำมันหอมระเหย (1.8%) ประกอบด้วยสารลินาโลออล (linalool) เป็นส่วนใหญ่ มีน้ำมันไม่ระเหย 13% มีสารสำคัญชื่อคอเรียนดรอล (coriandrol) มีแทนนิน และแคลเซียมออกซาเลต และมีสารเอสโตรเจน (plant estrogen) สรรพคุณในทางเป็นสมุนไพรของผักชี
ใบผักชี ช่วยย่อย บำรุงกระเพาะอาหาร เจริญอาหาร ขับลมขับพิษ แก้หวัด ขับเหงื่อ ช่วยย่อยอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด แก้โรคหัด พอกทาแก้ผื่นคัน แก้ไฟลามทุ่ง แก้ตับอักเสบ ลดการปวดบวมข้อ ต้มดื่มแก้ไอ แก้หวัด อาหารเป็นพิษ แก้สะอึก กระตุ้นการทำงานของเลือดพลาสมา และกล้ามเนื้อ มีสารต้านมะเร็ง ต้านแบคทีเรีย เชื้อรา และไข่ของแมลง จึงใช้เพื่อการถนอมอาหาร ราก เป็น กระสายยา กระทุ้งพิษไข้หัว เหือดหัด อีสุกอีใส อีดำอีแดง
1. การเลือกเมล็ดพันธุ์ผักชี เมล็ดพันธุ์ผักชีที่นิยมปลูกกันเนื่องจากปลูกง่าย หาซื้อง่ายตามท้องตลาดทั่วไปและเจริญงอกงามดี ได้แก่พันธุ์ เมล็ดผักชีพันธุ์สิงคโปร์และเมล็ดผักชีไต้หวัน
2. การเตรียมดินเพื่อปลูกผักชี การปลูกผักชีสามารถปลูกได้ทั้งในกระถางและปลูกในแปลงดิน การปลูกในกระถางเหมาะสำหรับท่านที่ต้องการปลูกรับประทานเอง และการปลูกในแปลงดินเป็นการปลูกเพื่อจำหน่าย สำหรับท่านที่ต้องการปลูกในแปลงดินควรขุดดินหรือพรวนดินขึ้นมาตากแดดไว้ก่อนสัก5-7วัน แล้วทำการพรวนดินซ้ำอีกทีนึงเพื่อให้ดินมีความร่วนและทำการผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยสดคลุกเคล้ากับแปลงดิน
3. เมื่อได้เมล็ดพันธุ์ผักชีมาแล้ว ให้ทำการบดเมล็ดผักชีให้แตกออกเป็น2ส่วนก่อน(สำคัญมาก) แล้วจึงนำไปแช่น้ำ 1-3วัน (แนะนำ การแช่น้ำควรนำผ้ามาห่อไว้ แล้วหาอะไรกดทับให้มิดจมน้ำไปเลย) การบดเมล็ดผักชีจะทำให้ผักชีเจริญเติบโตง่ายและเร็วขึ้น ที่สำคัญเมล็ดพันธุ์ผักชีที่จะนำมาปลูกควรเป็นเมล็ดพันธุ์ผักชีที่ใหม่เพราะเมล็ดพันธุ์ผักชีเก่าที่เป็นราปลูกยังไงก็ไม่ขึ้น
4. เมื่อแช่เมล็ดพันธุ์ผักชีแล้ว นำไปผึ่งลม เมื่อเมล็ดพันธุ์ผักชีเริ่มงอกก็นำไปหว่าน
5. ก่อนการนำเมล็ดพันธุ์ผักไปหว่านควรรถน้ำให้ซุ่มแปลงดิน แล้วจึงนำเมล็ดพันธุ์ผักไปหว่าน และคลุมด้วยฟางข้าวบางๆ เพื่อป้องกันต้นอ่อนจากแสงแดดและรักษาความซุ่มซื้นของแปลงดิน
6. การรดน้ำและการกำจัดวัชพืช ผักชีเป็นผักที่ต้องการน้ำมาก ดังนั้นควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอวันละ2ครั้ง แต่อย่ารถน้ำมากเกินไป เพราะผักชีไม่ชอบน้ำที่ขัง จะทำให้ผักชีเน่าง่าย ส่วนการกำจัดวัชพืชควรกำจัดอย่างทันที โดยใช้มือถอนได้เลย เพราะวัชพืชจะเป็นตัวแย่งน้ำจากผักชีทำให้ผักไปไม่เจริบเติบโต
7. การใส่ปุ๋ยให้ผักชีหลังจากแตกใบแล้วแนะนำให้ใส่ปุ๋ยหมัก
ผักชีจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 40-45วัน ก่อนการเก็บเกี่ยวควนรดน้ำให้ซุ่มแปลงดินเพื่อการถอนผักชีที่ง่ายขึ้นทำให้ต้นผักชีไม่ขาด การเก็บเกี่ยวผักชีทำได้โดยการใช้มือจับที่โคนรากแล้วถอนดึงขึ้นมา แล้วสะบัดดินออก แล้วน้ำไปล้างน้ำ คัดใบสีเหลืองหรือใบที่เน่าออก มัดๆเป็นกำแล้วใส่ตะกร้าเพื่อทำการขนส่งต่อไป ต้นผักชีที่เป็นสีเขียวสม่ำเสมอจะขายได้ราคาดี
โรคที่เป็นง่ายและพบเจอกันบ่อยๆก็คือโรคใบเน่าใบเหลืองและแมลงศัตรูของผักชี คือ เพลี้ย ปัญหทั้ง2อย่าง แก้ไขโดยการใช้ เครื่องพ่นยาสะพายหลัง ฉีดพ่นยา
ผักชี เป็นผักที่เป็นที่ต้องการของตลาดและราคาสูง ผักชีเป็นผักที่มีประโยชน์มาก ใช้ได้ทั้งต้นและใบที่ใช้นำไปประกอบอาหาร ส่วนรากผักชีมีนำมาตำเพื่อเป็นเครื่องแกงเนื่องจากมีกลิ่นหอมทำให้เพิ่มรสชาติของอาหารให้อร่อยขึ้น
1. หมั่นรดน้ำ
2. ให้ผักชีโดนแดดตลอดวันหรือเกือบทั้งวัน
3. ดินต้องร่วนซุน ไม่ขังน้ำ
4. ถ้าผักชีงอกแล้วใบหงิก แสดงว่ามีเพลี้ยไฟ
5. ระวังมด
ขอบคุณที่มาจาก วีโกเทค, Food Network Solution