วันที่ 11 พฤษภาคม 2565 กล่าวถึงกรณีกระแสโซเชียลวิพากษ์วิจารณ์ถึงระเบียบกติกาที่โรงเรียนนำมาใช้กับนักเรียนบางเรื่องไม่มีความเหมาะสม ว่า วันนี้ตนก็ได้สื่อสารไปยังโรงเรียนทุกแห่งในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)อีกครั้งหนึ่งแล้ว และสพฐ.ยังยืนยันจะเปิดเรียนแบบออนไซต์ในวันที่ 17 พ.ค.นี้ แต่เปิดอย่างไรให้ปลอดภัย จึงมีคำถามต่อมาว่า เด็กปลอดภัย ครูปลอดภัยจะทำอย่างไร ดังนั้น โรงเรียนจะต้องทำความร่วมมือกับทั้งผู้ปกครอง เด็กและครู เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการทำงานแต่ละแห่ง ตนไม่คาดหวังว่าโรงเรียนทุกแห่งจะต้องมีกติกาเดียวกันทั้งหมด เพราะบริบทของแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น สพฐ.จึงได้สื่อสารไปว่า การที่ครูจะให้นักเรียนทำอะไรแค่ไหน เริ่มตั้งแต่เรื่องการแต่งกายจะแต่งอย่างไร เครื่องมืออุปกรณ์การเรียนการสอนจะแค่ไหน การมาโรงเรียนจะมีกติการ่วมกันอย่างไร ซึ่งผู้อำนวยการโรงเรียนแต่ละแห่งต้องมีบทบาทหน้าที่โดยตรงที่จะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และนำเข้าคณะกรรมการสถานศึกษาให้ความเห็นชอบ จากนั้นก็สื่อสารให้พ่อ แม่ ผู้ปกครองทุกคนเข้าใจ
“ตอนนี้จะมาบอกว่าทำไมโรงเรียนนั้นทำอย่างนั้น โรงเรียนนี้ทำอย่างนั้น ก็คงจะไปเทียบกันไม่ได้ เพราะบริบทโรงเรียนเข้าต้องการแบบนั้น และชุมชนเขามีความพอใจแบบนั้น ซึ่งก็ถือว่าจบในแต่ละพื้นที่ไป ดังนั้น ผมคิดว่าถูกหรือผิด ใช่หรือไม่ใช่ อยู่ที่ระเบียบเราเปิดกว้างให้โรงเรียนเลือกสรรได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้ข้อตกลงร่วมกันของทุกฝ่าย ส่วนกรณีโรงเรียนอนุบาล จังหวัดกาญจนบุรี ที่กำหนดการแต่งกายของนักเรียนระดับชั้นปฐมวัย โดยหนึ่งสัปดาห์ให้นักเรียนแต่งทั้งชุดนักเรียน ชุดพละ ชุดทหาร และชุดอาเซียน นั้น ผมได้ติดตามข้อมูลซึ่งโดยกติกาที่โรงเรียนทำตัวอย่างให้กับผู้ปกครองดูว่าชุดแต่ละชุดจะมีลักษณะแบบนี้ ๆ โรงเรียนไม่ได้บอกว่าทุกคนต้องใส่ เพียงแต่ระเบียบที่กำหนดไว้เดิมเป็นแบบนี้ ส่วนใครไม่พร้อม โรงเรียนก็ยืดหยุ่นและมาทำข้อตกลงกับผู้ปกครองและนักเรียน ซึ่งโรงเรียนก็ออกมาอธิบายก็เข้าใจตรงกันแล้ว” นายอัมพร กล่าว
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีโรงเรียนใน อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ออกกฏเหล็กหักคะแนนพฤติกรรมของนักเรียนจนเป็นที่วิพากษ์วิจาณ์อย่างมากนั้น ตนคิดว่าเรื่องนี้ไม่ได้เป็นระเบียบกติกา เพียงแต่เป็นการกำหนดกฏขึ้นมาของโรงเรียนเพื่อเป็นกรอบ เพื่อฝึกให้นักเรียนเกิดความรับผิดชอบ แต่ในภาพกว้างเหมือนเป็นการบังคับเด็กมากเกินไป ซึ่งตนก็ได้เสนอไปแล้วว่าทำอะไรก็ให้พอเหมาะพอควร และต้องถามผู้ปกครอง และนักเรียนก่อนว่าเห็นด้วยหรือไม่มีความพอใจกับกฎกติกานี้หรือไม่ หากตกลงกันแต่ต้นว่ามีความพอใจที่ต้องการให้มีระเบียบก็อยู่ในกติกาที่เขาตกลงกัน ซึ่งเรื่องนี้คณะกรรมการสถานศึกษาต้องเข้ามาดูแล เพราะการกำหนดระเบียบกติกาแต่ละเรื่องเมื่อส่งผลกระทบโดยรวมโรงเรียนเป็นอำนาจของกรรมการสถานศึกษา แต่ต้องผ่านความเห็นชอบจาก 3 ฝ่าย คือ ครู นักเรียน ผู้ปกครองที่จะตกลงร่วมกัน
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก แนวหน้า วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
เมื่อวันที่ 11 พ.ค.2565 ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.)กล่าวถึงกรณีกระแสโซเชียลวิพากษ์วิจารณ์ระเบียบกติกาที่โรงเรียนนำมาใช้กับนักเรียนบางเรื่องเป็นกฏเหล็กมากเกินไปและบางเรื่องทำให้สิ้นเปลือง ว่า ตนได้สื่อสารไปยังโรงเรียนทุกโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)อีกครั้งหนึ่งแล้ว และวันนี้ สพฐ.ยังยืนยันว่าจะเปิดเรียนในวันที่ 17 พ.ค.นี้ โดยการเปิดเรียนแบบออนไซต์ แต่มีข้อแม้ว่าเปิดอย่างไรให้ปลอดภัย ซึ่งคำถามก็คือเด็กปลอดภัย ครูปลอดภัย จะทำอย่างไร ทั้งนี้การทำงานจะต้องทำความร่วมมือกับผู้ปกครอง เด็ก และครู ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับการทำงาน และจะต้องมีกติกาเดียวกันทั้งหมด แต่บริบทของพื้นที่ไม่มีทางที่จะเหมือนกันได้ แต่สิ่งที่สพฐ.ได้สื่อสารไปคือ ครูจะให้นักเรียนทำอะไร เช่น เรื่องการแต่งกาย อุปกรณ์การเรียนการสอนแค่ไหน การมาโรงเรียนจะมีกติการ่วมกันอย่างไร ซึ่งผู้อำนวยการโรงเรียนมีบทบาทหน้าที่โดยตรงในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อให้เกิดความปลอดภัย และนำเข้าคณะกรรมการสถานศึกษาให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ต้องทำความเข้าใจกับผู้ปกครองเพื่อนำไปปฏิบัติด้วย
“ตอนนี้จะมาบอกว่าโรงเรียนนั้นทำอย่างโน้น โรงเรียนนี้ทำอย่างนั้นจะไปเทียบกันไม่ได้ เพราะบริบทแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งบริบทพื้นที่เขาเป็นอย่างนั้นและชุมชนพึงพอใจและต้องการอย่างนั้น ซึ่งก็ถือว่าจบ แต่ละพื้นที่ไป ดังนั้นผมคิดว่าถูกหรือผิด ใช่หรือไม่ใช่ อยู่ที่ระเบียบเปิดกว้างให้โรงเรียนเลือกได้ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้ข้อตกลงของทุกฝ่าย อาทิ โรงเรียนที่จังหวัดกาญจนบุรี ตามที่ผมได้ดูโรงเรียนได้ทำตัวอย่างแต่ละชุดให้ดู ไม่ได้บอกว่าทุกคนต้องใส่ เพียงแต่ระเบียบได้กำหนดไว้นานแล้ว ใครไม่พร้อมโรงเรียนก็ไม่ได้บังคับ ซึ่งโรงเรียนก็ออกมาอธิบายแล้ว”ดร.อัมพร กล่าวและว่า ส่วนโรงเรียนที่อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ที่ออกกฏเหล็กมาหักคะแนนนักเรียนนั้น คิดว่าเรื่องนี้ไม่ได้เป็นระเบียบกติกา เพียงแต่เป็นการกำหนดกฏขึ้นมาของโรงเรียนขึ้นมาเพื่อเป็นกรอบ และฝึกให้นักเรียนเกิดความรับผิดชอบ แต่เหมือนว่าเป็นการบังคับมากเกินไป ซึ่งตนก็ได้บอกไปแล้วว่าทำอะไรก็ให้พอเหมาะพอควร ต้องถามผู้ปกครอง และนักเรียนว่ามีความพอใจกับกฎกติกานี้หรือไม่ หากตกลงกันแต่ต้นมีความพอใจที่ต้องการให้มีระเบียบก็อยู่ในกติกาที่เขาตกลงกัน ซึ่งเรื่องนี้คณะกรรมการสถานศึกษาต้องเข้ามาดู เพราะการกำหนดระเบียบกติกาในโรงเรียนเป็นอำนาจของกรรมการสถานศึกษา ครูและผู้ปกครองที่จะตกลงร่วมกัน
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก FOCUSNEWS วันที่ 11 พฤษภาคม 2565