ช่องท้องประกอบไปด้วยอวัยวะต่างๆจำนวนมาก ได้แก่ ตับ ถุงน้ำดี กระเพาะอาหาร ม้าม ตับอ่อน ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ รวมไปถึงอวัยวะของระบบสืบพันธุ์ เป็นต้น ทำให้ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้องจึงมีสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆมากมาย นับเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่นำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์
อาจเกิดจากโรคของอวัยวะต่างๆที่อยู่ในช่องท้อง หรืออาจเกิดจากอวัยวะนอกช่องท้อง เรียกว่าอาการปวดท้องที่ร้าวมาจากอวัยวะอื่น(Referred Pain) เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคปอดบวม การติดเชื้อที่ผิวหนัง เช่นโรคงูสวัด เป็นต้น
การหาสาเหตุของอาการปวดท้องประกอบด้วยวิธีต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่การซักประวัติ ตรวจร่างกาย การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมไปถึงการส่งตรวจวินิจฉัยทางรังสี แม้ว่าจะมีวิธีตรวจมากมายแต่
กล่าวคือ โดยทั่วไปแบ่งช่องท้องเป็น 7 ส่วน เมื่อใช้สะดือเป็นจุดตรงกลางลากเส้นสมมุติแนวนอน เหนือเส้นแนวสะดือเป็นช่องท้องช่วงบน ใต้เส้นแนวสะดือเป็นช่องท้องช่วงล่าง ต่อมาลากเส้นแนวตั้งกลางลำตัวแบ่งเป็นช่องท้องซีกซ้ายและซีกขวา และเพิ่มอีก 3 ส่วนคือ ใต้ลิ้นปี่(Epigastrium) บริเวณรอบสะดือ(Periumbilical area) และบริเวณเหนือหัวหน่าว(Suprapubic area) เมื่อมีอาการปวดท้องในตำแหน่งเหล่านี้มักเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นึกถึงโรคของอวัยวะต่างๆที่อยู่ในตำแหน่งเหล่านี้ ได้แก่
- อาจเป็นโรคที่เกิดจาก ตับ ถุงน้ำดี ลำไส้ที่อยู่บริเวณนี้ และไตขวา เช่น ตับอักเสบ นิ่วในถุงน้ำดี กรวยไตขวาอักเสบ นิ่วในไตขวา เป็นต้น
- อาจเป็นโรคที่เกิดจาก กระเพาะอาหาร ม้าม ตับอ่อน ลำไส้ที่อยู่บริเวณนี้และไตซ้าย เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ ม้ามแตก กรวยไตซ้ายอักเสบ นิ่วในไตซ้าย เป็นต้น
- อาจเป็นโรคที่เกิดจาก ไส้ติ่ง ลำไส้ที่อยู่บริเวณนี้ ปีกมดลูกด้านขวา เช่น ไส้ติ่งอักเสบ ปีกมดลูกขวาอักเสบ เป็นต้น
- อาจเป็นโรคที่เกิดจาก ลำไส้ที่อยู่บริเวณนี้ ปีกมดลูกด้านซ้าย เช่น ลำไส้อักเสบ ปีกมดลูกซ้ายอักเสบ เป็นต้น
- อาจเป็นโรคที่เกิดจากกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร ถุงน้ำดี เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ กรดไหลย้อน นิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น
- เป็นตำแหน่งของลำไส้เล็ก อาจเกิดจากลำไส้อักเสบ และเป็นอาการเริ่มปวดท้องของไส้ติ่งอักเสบได้ (ก่อนจะย้ายไปปวดบริเวณด้านขวาช่วงล่าง)
- อาจเป็นโรคที่เกิดจาก กระเพาะปัสสาวะ มดลูก เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ มดลูกอักเสบ เนื้องอกมดลูก เป็นต้น
สามารถติดต่อเพื่อขอรับคำปรึกษาและตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่
แผนกผู้ป่วยนอก อาคาร ภปร ชั้น 1
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
โทรศัพท์ 02 256 4000
ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย