กล่าวว่า ตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 นี้ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ ได้ปรับเปลี่ยนมาตรการการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อการเรียนรู้ที่ดีในโรงเรียนของเด็กไทยต่อไป โดยในวันนี้ได้มีการประชุมชี้แจงมาตรการเปิดเรียน On-Site ปลอดภัย อยู่ได้กับโควิด-19 ในสถานศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ด้วยหลักการพื้นฐานก็คือ 3T 1V “ตัดความเสี่ยง เพิ่มภูมิคุ้มกัน” มาตรการ 6-6-7 เป็นสิ่งที่ยังคงเน้นย้ำ ส่วนโรงเรียนประจำ ต้องดำเนินการตาม Sandbox Safety zone in School โดยเน้นย้ำพื้นที่ ประกอบด้วย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และศึกษาธิการจังหวัดให้ดำเนินการ เพื่อให้เด็กไทยสามารถเรียนรู้ที่โรงเรียนได้เต็มที่ ตามมาตรการต่อไปนี้คือ
เพื่อให้นักเรียนได้รับวัคซีนตามความสมัครใจให้ครอบคลุม
โดยต้องผ่านการประเมินมากกว่าร้อยละ 95
เมื่อเจอผู้ติดเชื้อ หรือเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง เป้าประสงค์นักเรียนควรได้รับการเรียนรู้อย่างเต็มที่ที่โรงเรียน และ
ให้ปฏิบัติตามมาตรการ โดยมอบหมายให้ศูนย์อนามัยในเขตสุขภาพเป็นพี่เลี้ยง
“ นี้ หากพบผู้ติดเชื้อในโรงเรียนประจำให้แยกกักตัวที่โรงเรียน (School Isolation) ตามมาตรการ Sandbox: Safety Zone in School (SSS) สำหรับโรงเรียนไป - กลับ ให้ปฏิบัติตามมาตรการการรักษาของกระทรวงสาธารณสุข หรือพิจารณาจัดทำ School Isolation โดยคณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานสาธารณสุข ผู้ปกครอง ชุมชน พิจารณาร่วมกันให้ความเห็นชอบตามความเหมาะสม คือ ให้ทำความสะอาดห้องเรียน ตามแนวทางกระทรวงสาธารณสุขคือ พิจารณาให้เข้าเรียนได้โดยพิจารณาร่วมกันระหว่างครอบครัว สถานบริการสาธารณสุข และสถานศึกษา กรณีไม่ได้รับวัคซีน ให้แยกกักกัน (Self-quarantine) เป็นเวลา 5 วัน และติดตามเฝ้าระวังอีก 5 วัน รวมเป็น 10 วัน ทั้งนี้ หากมีอาการ ให้ตรวจคัดกรอง ATK ทันที หากไม่มีอาการ ไม่จำเป็นต้องตรวจ ATK โดยผู้สัมผัสเสี่ยงสูง แนะนำให้ตรวจ ATK ในวันที่ 5 และวันที่ 10 หลังจากสัมผัสผู้ติดเชื้อ”
ทางด้าน กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 1/2565 สิ่งที่ทุกสถานศึกษาต้องทำ คือ การประเมินตนเองในระบบ Thai Stop COVID Plus ซึ่งเป็นมาตรการของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข การประเมินนี้จะมีการประเมินอยู่ 44 ข้อ ทั้งในแง่ของการเตรียมการ และการจัดการด้านกายภาพ ส่งไปยังคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดที่โรงเรียนตั้งอยู่ เป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้เปิดเรียนได้ เมื่อเปิดเรียนในวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 ทุกสถานศึกษาต้องดำเนินงานตามมาตรการ 6-6-7 และประเมินตนเองผ่าน “ไทยเซฟไทย” ซึ่งสิ่งที่แตกต่างระหว่างภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 กับภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 คือ การเว้นระยะห่างในห้องเรียน จะเหลือ 1 เมตร จาก 1.5 เมตร เพราะฉะนั้น ห้องเรียนปกติที่มีขนาด 8 X 8 เมตร สามารถจัดโต๊ะเรียนได้ 7 แถว ๆ ละ 6 ที่นั่ง รวม 42 คน ซึ่งโดยปกติ 1 ห้องเรียนจะมีนักเรีนนประมาณ 40 คน ไม่มีปัญหาในเรื่องการเว้นระยะห่าง แต่อาจจะมีปัญหาในโรงเรียนประถมศึกษาบางแห่งเท่านั้น ที่เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ บางห้องอาจจะมีขนาด 6 X 8 เมตร และสิ่งสุดท้ายที่มีความแตกต่าง คือ บางโรงเรียนเป็นการเรียนในห้องปรับอากาศ ต้องมีการเปิดระบายอากาศ ทุก 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 10 นาที ในช่วงพัก สำหรับโอกาสติดเชื้อและแพร่เชื้อในโรงเรียน คือ การถอดหน้ากาก กินข้าวร่วมกัน สนทนาระหว่างกันโดยไม่สวมหน้ากาก ดังนั้น ในโรงอาหารควรมีการแยกสำรับกับข้าว แยกพื้นที่งดการพูดคุย ขณะกินอาหาร และเมื่อมีการเล่นร่วมกัน ควรสวมหน้ากากตลอดเวลา แต่ถ้ามีการแพร่ระบาดในโรงเรียน ขอให้ทุกสถานศึกษาดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุ เช่น หากพบผู้ติดเชื้อเข้าไปเรียนให้ปิดทำความสะอาด 3 วัน แล้วเปิดเรียนตามปกติ โดยสิ่งที่น่ากังวัล คือ ถ้ามีผู้ติดเชื้อมากกว่า 5 คน มีการแพร่กระจายมากกว่า 2 ห้อง ทางโรงเรียน ต้องประสานไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อเข้ามากำกับดูแล ระงับการแพร่ระบาดต่อไป
ทางด้าน กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมสำหรับมาตรการเปิดเรียน On-Site ปลอดภัย อยู่ได้กับโควิด 19 ในสถานศึกษา รับเปิดเทอม On-Site ตามมาตรการความปลอดภัย 3T 1V ประกอบด้วย T : Thai Stop COVID Plus (TSC+) : โรงเรียนต้องประเมินตนเอง เตรียมความพร้อม ก่อนเปิดเรียน T : Thai Save Thai (TST) : นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาประเมินความเสี่ยงตนเองเป็นประจำ T : Test : เฝ้าระวังอย่างเหมาะสม ตรวจคัดกรอง เช่น ATK เมื่อมีความเสี่ยง หรือ เมื่อมีอาการ และ V : Vaccine : ครู บุคลากร ผู้ปกครอง และเด็ก 5 - 17 ปี ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ สำหรับมาตรการ 6-6-7 ประกอบด้วย 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) ได้แก่ เว้นระยะห่าง สวมหน้ากาก ล้างมือ ตรวจคัดกรอง ลดแออัด ทำความสะอาด 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) ได้แก่ ดูแลตนเอง ใช้ช้อนส่วนตัว กินอาหารปรุงสุกใหม่ ลงทะเบียนเข้า-ออก สำรวจตรวจสอบ กักกันตนเองและ 7 มาตรการเข้ม ได้แก่ 1) ประเมิน Thai Stop COVID Plus (TSC+) และรายงานผล ผ่าน MOECOVID 2) ทำกิจกรรมกลุ่มย่อย (Small Bubble) 3) จัดระบบการให้บริการอาหารตามหลักสุขาภิบาลและหลักโภชนาการ 4) อนามัยสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์มาตรฐาน 5) แผนเผชิญเหตุ และมีการซักซ้อม (School Isolation) 6) ควบคุมดูแลการเดินทางจากบ้าน ไปโรงเรียน (Seal Route) และ 7) School Pass สำหรับนักเรียน ครู และบุคลากรในสถานศึกษา
ทางด้าน กล่าวว่า การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ด้วยวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เป็นวิธีที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียน นโยบายจัดให้มีการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) เพื่อลดความรุนแรง และการเสียชีวิตจากการติดเชื้อโรคโควิด-19 ในเด็ก มาตรการเข้ารับวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้น ช่วงเปิดภาคเรียนที่ 1/2565 ในกรณีเด็กอายุ 12 - 17 ปี ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ครบ 2 เข็มแล้ว ให้เข้ารับวัคซีนไฟเซอร์ฝาสีม่วง เข็มกระตุ้น (เข็ม 3) ขนาดครึ่งโดส และต้องมีระยะห่างจากเข็ม 2 เป็นเวลา 4 - 6 เดือนขึ้นไป สำหรับเด็กสุขภาพแข็งแรง เข้ารับบริการฉีดวัคซีน ผ่านระบบสถานศึกษา เดือนพฤษภาคม 2565 และรับการฉีดวัคซีนโดยเร็ว ระหว่างวันที่ 9 - 31 พฤษภาคม 2565 พร้อมกันทั่วประเทศ แต่ในกรณีเด็กนอกระบบการศึกษา รับวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้น (เข็ม 3) จากสถานพยาบาล ได้แก่ กลุ่มเด็ก Home School จัดการเรียนการสอนที่บ้าน กลุ่มเด็ก 7 กลุ่มโรค (อ้วน โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง หัวใจและหลอดเลือด ไตวายเรื้อรัง มะเร็งและภูมิคุ้มกันต่ำ เบาหวาน และโรคพันธุกรรม ซึ่งรวมถึงกลุ่มดาวน์ มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทรุนแรง เด็กมีพัฒนาการล่าช้า) และกลุ่มที่มีเงื่อนไขหรือมีข้อจำกัด การรับวัคซีนตามแนวทางกระทรวงสาธารณสุข ให้เข้ารับวัคซีนผ่านระบบสถานพยาบาลตามความสมัครใจของผู้ปกครองและผู้รับวัคซีน
***
ที่มาเนื้อหาข่าวจาก กรมอนามัย / 3 พฤษภาคม 2565