คำนาม คือ คำที่ใช้เรียก คน พืช สัตว์ สิ่งของ สถานที่ สภาพกริยาอาการและความรู้สึกนึกคิดต่างๆ รวมทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม
คือ
๑. สามานยนาม (อ่านว่า สา - มาน - ยะ - นาม) คือ คำนามสามัญ ได้แก่ นามทั่วไป เป็นนามที่ไม่เฉพาะเจาะจง ใช้เรียกคน พืช สัตว์ สิ่งของ สถานที่ทั่วไป เช่น
เรียกคน - พ่อ แม่ พยาบาล นักเรียน
เรียกพืช - ต้นไม้ ดอกไม้ ผลไม้
เรียกสัตว์ - นก ช้าง สุกร เป็ด
เรียกสิ่งของ - ปากกา ดินสอ กล่อง
เรียกสถานที่ - บ้าน โรงเรียน แม่น้ำ
รูปธรรม - คะแนน
นามธรรม - ปัญญา
สภาพกริยาอาการ - นิสัยใจคอ
๒. วิสามานยนาม (อ่านว่า วิ - สา - มาน - ยะ - นาม) คือ นามที่เป็นชื่อเฉพาะของคำนามสามัญ หรือนามที่ขี้เฉพาะ เช่น
ชื่อคน - ณเดช ภัทรวดี
ชื่อสัตว์ - เจ้าแต้ม, คุณทองแดง, ม้าสีหมอก
ขื่อสิ่งของ - สุพรรณหงส์, นารายณ์ทรงสุบรรณ
ชื่อสถานที่ - วัดพะแก้ว, สุวรรณภูมิ, ดินเมือง
๓. สมุหนาม (อ่านว่า สะ - หมุ - หะ - นาม) คือ ได้แก่ นามที่เรียกการรวมกันของสามานยนาม และวิสามานยนาม เช่น หมู่ กอง เหล่า รัฐบาล คณะ พวก ฝูง ชมรม บริษัท สมาคม ฯลฯ เช่น
- คณะทูตานุทูตต่างประเทศกำลังชมกองทหารแสดงแสนยานุภาพ
- ฝูงวัวควายและโขลงช้างเข้าทำลายพืชไร้ของชาวบ้าน
ข้อสังเกต คำสมุหนามชนิดนี้มักจะอยู่หน้าคำนามเสมอ
เช่น หมู่มัจฉา หมู่วิหค)
๔. อาการนาม (อ่านว่า อา -กาน - ระ - นาม) คือ คำนามบอกอาการ เป็นคำนามซึ่งเกิดจากคำกริยา หรือคำวิเศษณ์ ที่มีคำว่า การ หรือ ความนำหน้า ดังนี้
- คำ การ นำหน้าคำกริยาที่แสดงอาการทางกาย วาจา เช่น การกินการนอน การอ่าน การเล่นดนตรี ฯลฯ
- คำว่า ความ นำหน้าคำกริยาที่แสดงความรู้สึกนึกคิดทางนามธรรม เช่น ความคิด ความรู้ ความเข้าใจ และนำหน้าคำวิเศษณ์ เช่น ความดี ความเร็ว
ความรวย
ข้อสังเกตุ คำว่า "การ" และคำว่า "ความ" นี้ ถ้านำหน้าคำอื่นที่ไม่ใช่คำกริยา และคำวิเศษณ์ จะถือว่าเป็น สามานยนามไม่ใช่อาการนาม เช่น การเมือง การไฟฟ้า ความแพ่ง ฯลฯ
๕. ลักษณนาม (อ่านว่า ลัก - สะ - หนะ - นาม) คือ คำบอกลักษณะของนามอื่นๆ โดยจะแสดงรูป ลักษณะ ขนาด จำนวน ฯลฯ ของนามให้ซัดเจนยิ่งขึ้น เช่น
- รถยนต์ ๑ คัน
- คน ๒ คน
- เลื่อย ๑ ขึ้น
- ต้นไม้ ๓ ต้น
- นก ๖ ตัว
คำนามมีหน้าที่จำแนกได้ ๗ อย่าง ดังนี้
๑. ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น น้องร้องเพลง ครูชมนักเรียน
๒. ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค เช่น แมวกินปลา ตำรวจจับผู้ร้าย
๓. ทำหน้าที่เป็นกรรมตรงและกรรมรอง เช่น ครูสั่งการบ้านนักเรียน
๔. ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายคำนามอื่น เช่น สัตว์ป่าต้องอยู่ในป่า ตุ๊กตาหยกตัวนี้สวยมาก
๕. ทำหน้าที่ขยายคำริยาเพื่อบอกสถานที่ ทิศทาง หรือเวลา เช่น แม่ไปตลาด น้องอยู่บ้าน
๖. ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของคำกริยาบางคำ ได้แก่คำว่า "เป็น เหมือน คล้าย เท่า" ซึ่งต้องมีคำนามหรือสรรพนามมารับ จึงจะมีความสมบูณ์ เช่น เขาเป็นผู้ใหญ่แล้ว ชีวิตเหมือนละคร
๗. ทำหน้าที่เป็นคำเรียกขาน เรามีการใช้คำเรียกเครืญาติ และตำแหน่ง หน้าที่การงานแทนชื่อตัว เช่น คุณครูครับ ผมขออนุญาตออกนอกห้องเรียนครับ เด็กๆ ออกไปเข้าแถวได้แล้ว น้องแมวคุณพ่อ มารับหรือยัง
ข้อสังเกต คำนามชนิดนี้จะใช้ในภาษาสนทนาเท่านั้น
ที่มา แบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง ชนิดของคำในภาษาไทย ผลงานครูพิษณุ อินทุภูติ