ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมภาษาไทย  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การอ่านจับใจความสำคัญ


ภาษาไทย 30 เม.ย. 2565 เวลา 08:00 น. เปิดอ่าน : 155,486 ครั้ง
การอ่านจับใจความสำคัญ

Advertisement

การอ่านจับใจความสำคัญ

ความหมายของการอ่านจับใจความสำคัญ

การอ่านจับใจความสำคัญ หมายถึง การอ่านที่มุ่งค้นหาสาระของข้อความหรือเรื่องราวต่างๆว่าข้อความหรือเรื่องราวนั้นเกี่ยวกับสิ่งใด มีเหตุการณ์ที่สำคัญอะไรบ้าง ส่วนใดเป็นใจความสำคัญและส่วนใดเป็นส่วนขยายใจความสำคัญของเรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญถือเป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้อ่านสามารถแยกส่วนประกอบอื่นๆ หรือที่เรียกว่า "พลความ" ของเรื่องได้

พลความหรือส่วนขยายใจความ หมายถึง ประโยคที่ช่วยขยายเนื้อความของใจความสำคัญเพื่อสนับสนุนหรือแสดงตัวอย่าง เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจมากขึ้น ซึ่งในแต่ละย่อหน้าอาจมีพลความอยู่หลายๆ ประโยคก็ได้

จุดมุ่งหมายของการจับใจความสำคัญ

๑. สามารถบอกรายละเอียดของเรื่องราวที่อ่านได้อย่างชัดเจน
๒. สามารถปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำได้
๓. เพื่อฝึกการอ่านเร็วและสามารถตอบคำถามได้ถูกต้อง
๔. สามารถสรุปหรือย่อเรื่องที่อ่านได้
๕. อ่านแล้วสามารถคาดการณ์ และหาความจริง แสดงข้อคิดเห็นได้

หลักการอ่านจับใจความสำคัญ

การอ่านจับใจความสำคัญ เป็นการอ่านงานเขียนอย่างละเอียด เพื่อพิจารณาหาข้อเท็จจริงที่นำเสนอ รวมถึงทรรศนะ ข้อคิดเห็น อารมณ์ น้ำเสียงของผู้เขียนที่มีต่อเรื่องที่นำเสนอและในกรณีที่ข้อความที่อ่าน มีความยาวเป็นย่อหน้าหรือหลายๆ ย่อหน้า ผู้อ่านสามารถพิจารณาข้อความสำคัญโดยมีหลักการอ่านจับใจความสำคัญดังต่อไปนี้

๑. พิจารณาจากชื่อเรื่อง แล้วอ่านย่อหน้าแรกและย่อหน้าสุดท้าย ซึ่งจะทำให้ทราบว่าบทความนี้เสนอเรื่องอะไรอย่างกว้างๆ
๒. พิจารณาหาใจความสำคัญไปที่ละย่อหน้า ซึ่งส่วนใหญ่ใจความสำคัญของแต่ละย่อหน้าอาจปรากฏอยู่ในตำแหน่งต้น ตำแหน่งกลาง หรือตำแหน่งท้ายของย่อหน้า
๓. พยายามพิจารณาตัดรายละเอียดปลีกย่อย เช่น คำอธิบาย ตัวอย่าง การให้เหตุผลเพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเครื่องสนับสนุนความคิดหลักของเรื่อง
๔.เมื่ออ่านจบ ควรทบทวนหรือตั้งคำถาม ถามตนเองว่า เรื่องที่อ่านเป็นเรื่องอะไรและพยายามตอบให้ได้ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ด้วยวิธีใด จากนั้นจึงบันทึกใจความสำคัญไว้เพื่อศึกษาเพิ่มเติมต่อไป 

ใจความสำคัญและพลความ

งานเขียนในแต่ละย่อหน้าจะประกอบด้วยใจความ 2 ส่วนคือ

1. ใจความสำคัญ
2. พลความ

ใจความสำคัญคือ ข้อความที่เค่นสุดใยย่อหน้า เป็นแก่นของย่อหน้าที่สามารถครอบคลุมเนื้อความในประโยคอื่นๆ ในแต่ละย่อหน้าจะมีประโยคใจความสำคัญเพียงประโยคเดียวหรืออย่างมากไม่เกิน 2 ประโยค

ลักษณะของใจความสำคัญ

1. เป็นข้อความที่ทำหน้าที่คลุมใจความของข้อความอื่นๆ ในตอนนั้นๆได้หมด
2. ย่อหน้าหนึ่งหนึ่งๆส่วนมากจะมีเพียงประการเดียว
3 ส่วนมากมีลักษณะเป็นประโยค อาจจะเป็นประโยคเดียวหรือประโยคซ้อนก็ได้
4. ส่วนมากจะปรากฎอยู่ต้นข้อความ

พลความ คือ ข้อความที่ทำหน้าที่ขยายใจความให้ชัดเจนเด่นชัดมากขึ้น ถ้าตัดพลความออก สารก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง ลักษณะของพลความ มักเป็นการอธิบาย การยกตัวอย่าง การเปรียบเทียบ หรือการให้เหตุผล เป็นต้น

ตำแหน่งของใจความสำคัญ
ประโยคใจความสำคัญปรากฎได้ 4 ตำแหน่ง คือ

1. ตำแหน่งต้นย่อหน้า
2. ตำแหน่งท้ายย่อหน้า
3. ตำแหน่งทั้งต้นและท้ายย่อหน้า
4. ตำแหน่งกลางย่อหน้า

1. ตำแหน่งต้นย่อหน้า เป็นจุดที่พบใจความสำคัญของเรื่องมากที่สุด
ประโยคใจความสำคัญ + ข้อความขยาย ( สังเกตได้ว่าข้อความที่ตามมามีเนื้อความขยายคำสำคัญในประโยคใจความสำคัญ และมีคำเชื่อมหน้าข้อความขยาย คำว่า เพราะ เช่น ได้แก่ ประการที่หนึ่ง ฯลฯ

ตัวอย่างเช่น
คนไม่อ่านหนังสือ คือ คนถอยหลังอยู่ในสังคม เพราะทุกวันนี้โลกเจริญขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อนมีเหตุการณ์ใหม่ๆ ปรากฎสืบเนื่องกันอย่างไม่ขาดสาย ทุกคนที่หวังความก้าวหน้า จึงต้องตามเรื่องเหล่านี้ด้วยการอ่านอย่างมิหยุดยั้ง มิฉะนั้นเขาจะได้นามว่า เป็นผู้ถอยหลัง
( อ่านเพื่อความสมบูรณ์ ของ นายเจือ สตะเวทิน )

2. ตำแหน่งท้ายย่อหน้า โดยผู้เขียนจะบอกรายละเอียด หรือประเด็นย่อยมาก่อนแล้วสรุปด้วยประโยคที่เก็บประเด็นสำคัญไว้ภายหลัง
ข้อความขยาย + ประโยคใจความสำคัญ ( สังเกตได้ว่าประโยคใจความสำคัญจะมีคำเชื่อม "จึง" เป็นประโยคตบท้ายข้อความ)

ตัวอย่างเช่น
"ยังมีนักเรียนธรรมของเราเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่เข้าใจความหมายของคำว่า ทานดี จึงทำให้คิดเขวไปว่า ทานกับบุญนั้นเป็นคนละอย่าง ความเข้าใจอันนี้ทำให้เราพูดติดปากกันไปว่า "ทำบุญแล้วให้ทาน"ดูประหนึ่งว่าทำบุญกับให้ทานไม่ได้เป็นของคู่กัน หรือดำยกต่างกัน บุญหรือทานก็เป็นอันเดียวกันทานเป็นวิธีการทำบุญอย่างหนึ่งนั่นเอง"
( ประเพณีทำบุญ ของ กรมศาสนา )

3. ตำแหน่งทั้งต้นและท้ายย่อหน้า
ประโยคใจความสำคัญ + ข้อความขยาย + ประโยคใจความสำคัญ ( สังเกตได้ว่า ประโยคใจความสำคัญต้นย่อหน้ากับประโยดใจความสำคัญท้ายย่อหน้ามีเนื้อความตรงกัน

ตัวอย่างเช่น
ลักษณะอาหารเจมีความเคร่งครัดในเรื่องการปรุงมากกว่าอาหารมังสวิรัติ เครื่องเทศเครื่องปรุงหลายชนิดถูกห้ามนำมาใช้ในการทำอาหารเจ เพราะมีความเชื่อว่าจะไปกระตุ้นอารมณ์ ในขณะที่อาหารมังสวิรัตินั้นเพียงห้ามรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์เท่านั้น อาหารมังสวิรัติจึงมีความเข้มงวดน้อยกว่าอาหารเจ

4. ตำแหน่งกลางย่อหน้า
ข้อความเกริ่นนำ ( มีเนื้อความอ้างถึงสิ่งที่มีผู้กล่าวไว้ในลักษณะที่เข้าใจผิด ) + ประโยคใจความสำคัญ ( มีเนื้อความแย้งข้อความเกริ่นนำ ) + ข้อความขยาย ( มีเนื้อความขยายประโยดใจความสำคัญ)

ตัวอย่างเช่น
โดยทั่วไปผักที่ขายตามท้องตลาดส่วนใหญ่เกษตรกรมักใช้สารกำจัดศัตรูพืช หากไม่มีความรอบคอบในการใช้ จะทำให้เกิดสารตกค้าง ทำให้มีปัญหาต่อสุขภาพ ฉะนั้นเมื่อซื้อผักไปรับประทานจึงควรล้างผักด้วยน้ำหลายๆครั้ง เพราะจะช่วยกำจัดสารตกค้างไปได้บ้าง บางคนอาจแช่ผักโดยใช้น้ำผสมโซเดียมไบคาร์บอเนตก็ได้ แต่อาจทำให้วิตามินลดลง
( การใช้ภาษาไทย ของ จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และ บาหยัน อิ่มสำราญ)

5. ไม่ปรากฏในตำแหน่งใด ผู้อ่านต้องจับใจความด้วยตัวเอง

ตัวอย่างเช่น
การเดิน การว่ายน้ำ การฝึกโยคะ การออกกำลังกายด้วยอุปกรณ์ต่างๆตลอดจนการหายใจลึกๆ ล้วนมีส่วนทำให้สุขภาพแข็งแรง
ใจความสำคัญคือ การทำให้สุขภาพแข็งแรงทำได้หลายวิธี
( การใช้ภาษาไทย ของ จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และบาหยัน อิ่มสำราญ)

ที่มา 

 


การอ่านจับใจความสำคัญ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ที่มาของคำว่า "บางกะปิ"

ที่มาของคำว่า "บางกะปิ"


เปิดอ่าน 19,839 ครั้ง
ภาษาเขียนและตัวอักษร

ภาษาเขียนและตัวอักษร


เปิดอ่าน 23,201 ครั้ง
คำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์


เปิดอ่าน 584,378 ครั้ง
คำพังเพย

คำพังเพย


เปิดอ่าน 43,422 ครั้ง
คํานาม

คํานาม


เปิดอ่าน 17,892 ครั้ง
อักษรไทยสมัยสุโขทัย

อักษรไทยสมัยสุโขทัย


เปิดอ่าน 45,480 ครั้ง
การเขียนรายงาน

การเขียนรายงาน


เปิดอ่าน 59,398 ครั้ง
ทีฆายุโก - ฑีฆายุโก

ทีฆายุโก - ฑีฆายุโก


เปิดอ่าน 59,372 ครั้ง
คำเรียกชื่อฤดูต่าง ๆ

คำเรียกชื่อฤดูต่าง ๆ


เปิดอ่าน 10,168 ครั้ง
หน้ามน-หน้ามล

หน้ามน-หน้ามล


เปิดอ่าน 76,480 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ความเป็นมาของคำ "ธรรมกาย" โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก

ความเป็นมาของคำ "ธรรมกาย" โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก

เปิดอ่าน 16,031 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เรียนรู้จากนิราศ
เรียนรู้จากนิราศ
เปิดอ่าน 19,509 ☕ คลิกอ่านเลย

เครื่องหมาย ฯลฯ (ไปยาลใหญ่ หรือ เปยยาลใหญ่)
เครื่องหมาย ฯลฯ (ไปยาลใหญ่ หรือ เปยยาลใหญ่)
เปิดอ่าน 981 ☕ คลิกอ่านเลย

สื่อวีดิทัศน์การพัฒนาสมรรถนะการอ่านขั้นสูงสำหรับนักเรียนชั้น ม.ต้น ผ่านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
สื่อวีดิทัศน์การพัฒนาสมรรถนะการอ่านขั้นสูงสำหรับนักเรียนชั้น ม.ต้น ผ่านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
เปิดอ่าน 12,677 ☕ คลิกอ่านเลย

คำพังเพย
คำพังเพย
เปิดอ่าน 43,422 ☕ คลิกอ่านเลย

ประมวลศัพท์ คำพ้องรูป ในภาษาไทย ที่ควรรู้
ประมวลศัพท์ คำพ้องรูป ในภาษาไทย ที่ควรรู้
เปิดอ่าน 860,535 ☕ คลิกอ่านเลย

อักษรไทยสมัยสุโขทัย
อักษรไทยสมัยสุโขทัย
เปิดอ่าน 45,480 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

อวัยวะภายนอกและการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
อวัยวะภายนอกและการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
เปิดอ่าน 12,118 ครั้ง

วงปีของต้นไม้ บอกอะไรกับเรา
วงปีของต้นไม้ บอกอะไรกับเรา
เปิดอ่าน 1,668 ครั้ง

ตัวหนังสือไทยต่างๆ นอกราชอาณาจักรไทย
ตัวหนังสือไทยต่างๆ นอกราชอาณาจักรไทย
เปิดอ่าน 22,767 ครั้ง

SEO กับ SEM คืออะไร...ต่างกันแค่ไหน?
SEO กับ SEM คืออะไร...ต่างกันแค่ไหน?
เปิดอ่าน 15,881 ครั้ง

การศึกษาและเปรียบเทียบสาเหตุการย้ายของข้าราชการครู
การศึกษาและเปรียบเทียบสาเหตุการย้ายของข้าราชการครู
เปิดอ่าน 25,990 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ