Advertisement
อย่าไปให้ความสำคัญกับนิสัย "เลว"
พฤติกรรมบางอย่างของลูก ถ้าพ่อแม่ไปเห็นว่าไม่ดีเด็กยิ่งอยากทำ จุดประสงค์ของเด็กคือเพื่อท้าทาย เพื่อเรียกร้องความสนใจ หรือเอาชนะก็ได้
หลังอาหารเย็นทุกวัน คุณแม่ต้องคอยจ้องดูแจ็คลูกชายอายุห้าขวบให้ดื่มน้ำน้อยที่สุด ทุกคืนประมาณเที่ยงคืนคุณพ่อหรือคุณแม่ต้องลุกขึ้นปลุกแจ็คให้ไปเข้าห้องน้ำ แม้ทำอย่างนั้นแล้วตอนเช้าเวลาคุณแม่ไปปลุกก็ยังพบว่าที่นอนของแจ็คเปียกบ่อย ๆ
คุณแม่อ้อนวอนแจ็คว่าขอให้พยายามอย่าปัสสาวะรดที่นอน บางครั้งคุณแม่ก็โกรธเพราะต้องมีงานซักผ้าเพิ่มมากขึ้น คุณแม่และคุณพ่อพยายามทุกทาง ทั้งลงโทษทั้งปลอบโยนเท่าที่จะคิดออก แต่ก็ไม่ได้ผล น้องแจ็คเป็นนักปัสสาวะรดที่นอนเรื้อรัง
เด็กที่ปัสสาวะรดที่นอนคือเด็กที่ชอบทำอะไรตามใจชอบ เด็กเขาบอกตัวเองว่าเขากลั้นไม่อยู่ แต่ความจริงแล้วเขาไม่อยากจะทำในสิ่งที่จำเป็นต่อสถานการณ์ ความพยายามดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษของคุณพ่อคุณแม่ไปสนับสนุนความเชื่อว่าเขากลั้นปัสสาวะไม่ได้ให้มั่นคงยิ่งขึ้น การดุว่า ลงโทษ หรืออ้อนวอนจะไปเพิ่มความย่อท้อในตัวเขาเอง ทำให้เขาคิดว่าคงเป็นไปอย่างนี้ คือกลั้นปัสสาวะไม่ได้ และนอกจากนั้นยังถูกลงโทษ ถูกดูหมิ่นให้ได้รับความอับอาย
น้องแจ็คจำเป็นต้องเรียนรู้ว่าควรจะต้องทำอย่างไรกับตัวเองด้วยตัวเอง คุณแม่และคุณพ่อจะช่วยลูกได้ก็คือมอบปัญหานี้ให้ลูก มันเป็นเรื่องธุระของลูกเขา คุณพ่อคุณแม่อาจพูดอย่างเชื่อมั่นว่า คุณพ่อคุณแม่จะไม่ไปห่วงใยกับเตียงนอนของลูกอีกแล้ว
"พ่อกับแม่จะไม่ปลุกลูกลุกขึ้นกลางดึกอีกแล้ว ลูกตัดสินใจเอาเองก็แล้วกัน ถ้าเตียงเปียกนอนไม่สบาย ลูกลุกขึ้นมาเปลี่ยนเอง"
คุณแม่คุณพ่อจะต้องทำเช่นนั้นไปตลอดคือไม่ห่วงใยเลยจริง ๆ การนอนบนเตียงเปียกนั้นไม่สบายเป็นผลที่ตามมาโดยธรรมชาติ คงใช้เวลาบ้างในการเปลี่ยนความคิดของเด็ก และเกิดความมั่นใจว่าเขาสามารถดูแลตัวเองได้ เรื่องนี้อย่าเพิ่งหวังว่าจะได้ผลอย่างอัศจรรย์
เมื่อเด็กหัดด่าหรือพูดคำหยาบ เด็กเขาวัดคุณค่าของการกระทำว่าพ่อแม่ตกใจแค่ไหน ถ้าเราเป็นไปตามที่เขาต้องการคือ ตกอกตกใจและเอาเรื่องเอาราวขึ้นมา เราไปสนับสนุนให้เขาใช้ถ้อยคำเหล่านั้นต่อไปอีก เราควรลดใบเรือของเราให้พ้นลมของลูก แกล้งทำเป็นโง่ไปเลย
"ลูกพูดคำนั้นอย่างไรนะ พ่อไม่เข้าใจเลย มันหมายความว่าอะไร" ลูกเราคงพยายามหลีกเลี่ยงที่จะไม่จนมุมอย่างนี้อีก
เด็กที่มีนิสัย "ไม่ดี" นั้นต้องการความช่วยเหลือและความเข้าใจจากพ่อแม่ นิสัยไม่ดีเป็นเพียงอาการโรค เราจะไม่ได้รับความสำเร็จถ้าไปเล่นงานกับอาการ อะไรคือสาเหตุที่ซ่อนอยู่ภายใต้อาการ มีบ่อย ๆ ครั้งเราก็สามารถเข้าใจลูกได้ด้วยการพูดคุยกับลูกอย่างสนิทสนมเป็นปกติ เช่นเวลาจะเข้านอน หรือเวลาที่ทั้งลูกและคุณแม่กำลังอารมณ์ดี คุณแม่อาจเริ่มต้นเกมการสนทนาว่า "วันนี้ลูกชอบอะไรบ้าง"
หลังจากลูกตอบความรู้สึกของเขาให้ฟังแล้ว คุณแม่อาจเล่าให้ลูกฟังบ้างว่าวันนี้คุณแม่ชอบอะไร ต่อไปคุณแม่อาจถามว่า "วันนี้ลูกไม่ชอบอะไร" ถึงตอนนี้คุณแม่อาจได้ทราบว่าอะไรบ้างที่ทำให้ลูกเราไม่พอใจ ขุ่นเคือง คุณแม่อาจสามารถใช้ข้อมูลที่เธอได้มาเพื่อใช้ในการปฏิบัติ ไม่ใช่ด้วยคำพูด คุณแม่จะต้องไม่วิพากษ์วิจารณ์ไม่ต้องไปพยายามอธิบายถึงสิ่งที่เด็กบอกว่าไม่ชอบ แต่คุณแม่อาจถามว่าลูกคิดว่าทำอย่างไรจึงจะดี
นี่เองเป็นโอกาสที่จะได้ฟังลูก ถ้าหากลูกเขาไม่มีข้อเสนอ คุณแม่อาจเล่นเกมการสนทนาต่อไปอีกโดยเล่าเรื่องที่คุณแม่เองไม่ชอบ แต่ต้องเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับตัวลูก มิฉะนั้นเกมก็จะกลายเป็นการไปตำหนิลูก เราจะต้องระวังไม่ทำในทำนองสืบหาข้อเท็จจริง ถ้าทำเช่นนั้นแล้วลูกเขาจะหุบปาก ลูกจะปิดประตู ไม่ให้เรามีโอกาสได้ทราบความรู้สึกความคิดเห็นของเขาอีกต่อไป เกมการสนทนานี้อาจทำได้ซ้ำเป็นครั้งคราว และเป็นการติดต่อกันทางอ้อม
ที่มา : หนังสือเมื่อลูกท้าทายคุณ เล่ม 3
วันที่ 5 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,357 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,192 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,148 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 14,978 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,737 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,541 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,237 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,577 ครั้ง |
|
|