ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

MOE Mini Hackathon 2022 แก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) จากการเรียนออนไลน์ ช่วงสถานการณ์โควิด 19


ข่าวการศึกษา 26 เม.ย. 2565 เวลา 08:04 น. เปิดอ่าน : 2,999 ครั้ง
MOE Mini Hackathon 2022 แก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) จากการเรียนออนไลน์ ช่วงสถานการณ์โควิด 19

Advertisement

เลขาธิการ กพฐ. เปิดงาน MOE Mini Hackathon 2022 แก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) จากการเรียนออนไลน์ ช่วงสถานการณ์โควิด 19 

25 เมษายน 2565 – ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานเปิดการแข่งขัน MOE Mini Hackathon 2022 ณ โรงแรมรอยัล ริเวอร์ กรุงเทพฯ โดยมี ดร.นิพนธ์ ก้องเวหา ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. พร้อมด้วยผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เข้าร่วมงาน

ดร.อัมพร พินะสา กล่าวถึงที่มาและความสำคัญของการจัดแข่งขันครั้งนี้ว่า น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีความห่วงใยนักเรียนที่เกิดปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) จากการเรียนออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 จึงมีนโยบายให้ สพฐ. จับมือกับเครือข่ายครูรุ่นใหม่ และภาคเอกชนที่ให้ความ สำคัญเรื่องการศึกษา รวมถึงสตาร์ทอัพด้านการศึกษา (EdTech) จัดงาน MOE Mini Hackathon 2022 ระหว่างวันที่ 25-27 เมษายน 2565 เพื่อเฟ้นหาหรือสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ หรือ Learning Loss ที่สามารถนำไปขยายผลการทำงานร่วมกันในอนาคต

โดยการใช้วิธีการ Hackathon เป็นการสร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วน ที่จะทำให้ได้คำตอบของปัญหาอย่างรวดเร็ว นั่นคือ วิธีการแก้ปัญหาและการนำวิธีการแก้ปัญหาไปขยายผลสู่ความสำเร็จ ซึ่งผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะได้รู้จักและเข้าใจปัญหา Learning Loss ได้เรียนรู้การ Brainstorm ระดมความคิด การคิดอย่างสร้างสรรค์ ฝึกฝนการนำเสนอผลงาน รวมถึงได้รับฟังไอเดียการแก้ปัญหาจากทีม showcase 12 ทีม และมี Mentor คอยดูแลเป็นที่ปรึกษาตลอดการแข่งขัน

งาน MOE Mini Hackathon 2022 ในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนเป็นอย่างดี ได้แก่ คุณกระทิง เรืองโรจน์ พูนผล ประธาน Kasikorn Business-Technology Group บริษัทเทคโนโลยีในเครือธนาคารกสิกรไทย เจ้าของฉายา “นักปั้น” จนถึง “Godfather of Thai Tech Startup” ที่ได้ให้คำปรึกษา แนะนำกระบวนการ Hackathon และเป็นวิทยากรในครั้งนี้ รวมทั้งช่วยระดมภาคเอกชน ได้แก่ ทีม ดิสรัปท์ เทคโนโลยี เวนเจอร์, เอ็ดไวซอรี่, mappa, เพจ Toolmorrow, Starfish Education รวมถึงคุณหมอกุมารแพทย์และนักจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น มาเป็นทีมวิทยากรและ MENTORS เพื่อให้ความรู้และเป็นพี่เลี้ยง เป็นที่ปรึกษาแก่ผู้เข้าแข่งขันทุกคน

นอกจากนี้ ยังเป็นการรวมตัวกันของภาครัฐและภาคเอกชนที่คร่ำหวอดในวงการศึกษามาร่วมเป็นทีม showcase นำเสนอไอเดียสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา Learning loss จำนวน 12 ทีม และคนรุ่นใหม่ของ สพฐ.ที่จะนำไอเดียนั้นไป Hackathon เพื่อต่อยอดความคิด พร้อมสร้างสรรค์วิธีการขยายผลสู่ความสำเร็จต่อไป โดย สพฐ. ดำเนินการถ่ายทอดสดการแข่งขันตลอดระยะเวลา 3 วัน ผ่านช่องทางเพจ Facebook และ YouTube ของ OBEC Channel

ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความมุ่งหวังว่า หลังจากได้วิธีการแก้ปัญหา Learning Loss รวมทั้งวิธีการขยายผลสู่ความสำเร็จ ก็จะร่วมมือกับภาคเอกชน เครือข่ายผู้ปกครอง ครู และสถานศึกษา ในการช่วยกันผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างแท้จริงต่อไป

 

ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก ศธ 360 องศา

Hackathon คืออะไร มีประวัติการแข่งขันอย่างไร

Hackathon มาจากคำว่า Hack รวมกับคำว่า Marathon โดยที่คำว่า Hack ก็คือ Hacker ซึ่งในที่นี้ หมายถึงบุคคลที่ชอบคิดใหม่ ทำใหม่ ส่วน Marathon ก็คือการวิ่งระยะยาว แต่ในที่นี้เราหมายถึงการทำกิจกรรมใดซักกิจกรรมหนึ่งต่อเนื่องกันเป็นเวลานานๆค่ะ เลยทำให้คำว่า Hackathon คือการรวมหัว...เอ๊ย ระดมความคิดของคนที่ชอบคิดใหม่ ทำใหม่ โดยที่มานั่งระดมสมองช่วยกันคิด ช่วยกันผลิตผลงานชิ้นหนึ่งขึ้นมา โดยใช้เวลาทำแบบต่อเนื่องชนิดที่ว่าข้ามวันข้ามคืน มีทั้ง 12 ชั่วโมง 24 ชั่วโมง หรือเลยเถิดอยู่กันไปยาวนานจน 48 ชั่วโมงเลยก็มีค่ะ และนอกจากมีการระดมสมองต่อเนื่องกันเป็นเวลานานแล้ว Hackathon ก็จะมีการแข่งขันกันระหว่างผู้สมัครทีมต่างๆ โดยจะต้องมีตัวแทนของแต่ละทีมออกมานำเสนอไอเดียหรือที่เรียกว่า pitch ไอเดีย โดยผู้ที่เป็นกรรมการตัดสินว่าทีมใดจะได้รางวัลก็คือบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวกับโจทย์ของการทำ Hackathon นั้นๆและ/หรือเป็นนักลงทุน ผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการที่ต้องการจะซื้อไอเดียของผู้เข้าแข่งขัน Hackathon ไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายสู่ตลาดต่อไป และในระหว่างการ Hack นั้น แต่ละทีมที่เข้าแข่งขันก็มีโอกาสที่จะได้รับคำแนะนำจาก Mentor หรือทีมพี่เลี้ยงซึ่งมีประสบการณ์ในการทำ Startup เพื่อทำการปรับปรุง เพิ่มเติมหรือแก้ไขผลงานของทีมตนเองเพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้จริงอีกด้วย

ใครคือ Hacker ได้บ้าง

มีคนเคยกล่าวไว้ว่า Hackers are doers ซึ่ง Doers ในที่นี้ หมายถึงทั้งคนที่ know and do หรือคนที่รู้แล้วลงมือทำ และ do not know but do หรือคนที่ไม่รู้แต่ก็ลงมือทำ ซึ่งจะเห็นได้ว่า คนสองประเภทนี้ มีหนึ่งอย่างที่เหมือนกันคือการลงมือทำ เพราะฉะนั้น Hacker ก็คือใครก็ได้ที่ลงมือทำ ไม่ว่าเค้าผู้นั้นจะมีหรือไม่มีความรู้เรื่องที่เค้าจะลงมือทำหรือไม่ก็ตาม

โจทย์ของ Hackathon สามารถเป็นอะไรได้บ้าง

ในปัจจุบัน การจัด Hackathon นั้น กำลังได้รับความนิยมทั่วโลก อย่างเช่น Elon Musk (ชื่อนี้คุ้นๆหรือไม่คะ?? ใช่ค่ะ Elon Musk ผู้ที่มาเยือนถ้ำหลวง จังหวัดเชียงรายนั่นแหละค่ะ) ซีอีโอของ Tesla ก็ได้ประกาศใน Twitter ว่าจะจัด Hackathon เพื่อระดมสมองในการหาทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสายการผลิตรถยนต์ Tesla Model 3 หรือแม้กระทั่ง รัฐวาติกัน...ทุกคนอ่านไม่ผิดค่ะ...นครรัฐวาติกัน ก็ได้จัด VHacks หรือ Hackathon ที่มีโจทย์คือการพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อเอาชนะอุปสรรคทางสังคม ซึ่งแบ่งเป็น 3 หัวข้อหลัก ได้แก่ การรวมตัวกันทางสังคม ความหลากหลายทางเชื่อชาติ ศาสนา และการช่วยเหลือผู้อพยพ ผู้ลี้ภัย โดยผู้ที่เข้าร่วม VHacks นั้นเป็นนักเรียนนักศึกษาประมาณ 120 คน และก็ยังมีให้ความสำคัญกับความหลากหลายทางภูมิหลังของผู้เข้าร่วมแข่งขันด้วยค่ะ

จะเห็นได้ว่าการจัด Hackathon มิได้มีวัตถุประสงค์จำกัดอยู่แค่การระดมสมองพัฒนานวัตกรรมที่แก้ปัญหาเชิงเทคนิคเท่านั้น แต่ยังสามารถเป็น event ที่ระดมสมองในการแก้ปัญหาเชิงสังคมได้อีกด้วย

แล้วในประเทศไทยมีการทำ Hackathon อะไรบ้าง

สำหรับในประเทศไทยนั้น ก็ได้มีการจัด Hackathon อยู่หลายครั้ง และโจทย์ของแต่ละงานก็จะมีความแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น งาน Emergency Disaster Mitigation Hackathon ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือของหลายหน่วยงาน อาทิ สถาบันนวัตกรรมแห่งชาติ The Asia Foundation เว็บไซต์ Data.go.th และ Social Technology Institute ฯลฯ ได้เชิญชวน web/mobile application developer มาเข้าร่วม hackathon เพื่อแข่งขันกันสร้าง application ที่ใช้ open data จากหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อเตรียมการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือ บริษัท Line ประเทศไทย ก็ได้จัดงาน Hackathon ที่มีชื่อว่า LINE Hack Thailand 2016 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันกันสร้างบริการใหม่ๆ ภายใต้ Business Connection API ของ LINE หรือแม้แต่ในวงการการศึกษาในประเทศไทย ก็ได้มีการจัด Hackathon เมื่อเดือนมีนาคม 2561 ที่ผ่านมา ภายใต้ชื่องานว่า Education Disruption Hackathon 2018 เพื่อหา Edtech Startup ที่จะมาสร้างนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการการศึกษาบ้านเรา ซึ่งในงานนี้ มีทีมที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้ารอบถึง 29 ทีมเลยทีเดียว จึงนับได้ว่า Education Disruption Hackathon 2018 เป็นอีกหนึ่ง event ที่เป็นที่สนใจของคนในแวดวงการศึกษาหรือผู้ที่สนใจเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาในประเทศไทยเลยทีเดียว

 

ที่มา

เรื่องโดย ดร.พัชรพรรณ ศิริวัฒน์ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล

ขอบคุณที่มาจาก สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล

 


MOE Mini Hackathon 2022 แก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) จากการเรียนออนไลน์ ช่วงสถานการณ์โควิด 19MOEMiniHackathon2022แก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้(LearningLoss)จากการเรียนออนไลน์ช่วงสถานการณ์โควิด19

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป

ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป

เปิดอ่าน 3,382 ☕ 18 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ปฏิทินการจ้างและการประเมินนักการภารโรง ระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม – กันยายน 2567)
ปฏิทินการจ้างและการประเมินนักการภารโรง ระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม – กันยายน 2567)
เปิดอ่าน 1,817 ☕ 24 เม.ย. 2567

คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด
เปิดอ่าน 647 ☕ 24 เม.ย. 2567

เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน
เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน
เปิดอ่าน 473 ☕ 24 เม.ย. 2567

มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
เปิดอ่าน 6,429 ☕ 23 เม.ย. 2567

การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 5,728 ☕ 23 เม.ย. 2567

กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 475 ☕ 23 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

โรค Computer Syndrome
โรค Computer Syndrome
เปิดอ่าน 12,175 ครั้ง

กินแก้โรค ข้าวสมุนไพรหลากสี
กินแก้โรค ข้าวสมุนไพรหลากสี
เปิดอ่าน 18,905 ครั้ง

อนามัยโลกเตือนไม่ควรดื่มเครื่องดื่ม "ร้อนเกินไป"
อนามัยโลกเตือนไม่ควรดื่มเครื่องดื่ม "ร้อนเกินไป"
เปิดอ่าน 15,702 ครั้ง

10 สายพันธุ์สุนัขที่ฉลาดที่สุดในโลก
10 สายพันธุ์สุนัขที่ฉลาดที่สุดในโลก
เปิดอ่าน 21,121 ครั้ง

การวิจัยระดับปริญญาโทและปริญญาเอกทางเทคโนโลยีการศึกษา
การวิจัยระดับปริญญาโทและปริญญาเอกทางเทคโนโลยีการศึกษา
เปิดอ่าน 21,352 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ