น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวภายหลังงานเสวนา “โอมิครอนร้ายจริงหรือ? ถึงต้องปิดโรงเรียน” ชี้ตอนนี้สถานการณ์ไม่เหมือนช่วงแรกที่มีการระบาดหนัก ทำให้ต้องปิดเรียนแบบ 100 เปอร์เซ็น โดยปัจจุบัน เราเรียนรู้ที่จะอยู่กับโควิด-19
10 มกราคม 2565 น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.กระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวเปิดเสวนา “โอมิครอนร้ายจริงหรือ? ถึงต้องปิดโรงเรียน” จัดโดยกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อรวบรวมความคิดเห็นประเมินสถานการณ์โดยหน่วยงานหลัก ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ถ่ายทอดสดผ่าน obec channel ว่า เกือบ 2 ปี ที่ต้องผจญโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งเป็นความท้าทายคนทั้งโลก การศึกษาถือว่าอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงที่ผันผวน
อย่างไรก็ตาม จากก่อนหน้านี้ที่ต้องปิดโรงเรียน 100 เปอร์เซ็นต์เต็ม ด้วยเป็นโรคใหม่ แต่ตอนนี้ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไป จะมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาอย่างไร ทำอย่างไรให้เด็กเช้าถึงการศึกษาได้ วัคซีนครูจึงเป็นสิ่งแรกที่ดำเนินการตั้งแต่ เม.ย.ปีที่ผ่านมา และ ต.ค.เป็นต้นมา นายกฯ มีความเป็นห่วง ให้เร่งฉีดไฟเซอร์ในกลุ่ม 12-18 ปี กว่า 5 ล้านคน พบ 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ประสงค์จะฉีด ซึ่งปัจจุบันฉีดได้กว่า 94 เปอร์เซ็นต์แล้ว ส่วนครูเข็มแรกฉีดได้แล้ว 99% ส่วนเข็มที่สองคิดเป็น 78%
ทั้งนี้ ศธ.ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขมาตลอด เบื้องต้นเด็ก-ครูมีวัคซีนแล้ว แต่ถึงแม้จะมีวัคซีนแล้ว แต่สำคัญสุดโควิดติดต่อง่าย มาตรการต่างๆ จึงจำเป็นและสำคัญมาก
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ปัจจุบันต้องมีคำตอบว่า จากที่โรงเรียนเปิดไปแล้วกว่า 18,000 แห่ง แต่ ม.ค.65 มีเชื้อมาใหม่มีความกังวล แพร่ง่าย จึงได้ให้ผู้ทรงคุณวฒิจากกระทรวงสาธารณสุข ทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง ผู้บริหาร ได้เข้าใจถึงสถานการณ์ ปรับเปลี่ยนจัดการเรียนสอนได้ ภายใต้สถานการณ์ที่ยังระบาด จากก่อนหน้ามีปิดล็อกดาวน์ทั่วประเทศ ทำให้เด็กเสียกระบวนการเรียนรู้ พื้นที่ห่างไกลเข้าไม่ถึง จึงได้จัดปรับการเรียนสการสอนหลายรูปแบบให้เข้าถึง
อย่างไรก็ตาม พบว่าการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือ การได้กลับมาเรียนทีโรงเรียน ได้ลดเครียด ณ วันนี้จึงมีมาตรการว่าการปิดโรงเรียนไม่ใช่มาตรการหลัก จึงได้ ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดแต่ละพื้นที่ประเมินเป็นรายตำบล อำเภอ บางที่จังหวัดแพร่ระบาด ที่อื่นในพื้นที่อาจไม่ระบาด ยังเปิดได้ ให้มีการประเมิน ขณะรร.ขนาดใหญ่พบมีการเปิดสลับวันกันมาเรียน ลดแออัด ซึ่งศธ.ให้ผู้ตรวจฯลงพื้นที่ เข้มงวด
พร้อมมีมาตรการแผนเชิญเหตุ หากการแพร่ระบาดเกิดขึ้นทำอย่างไรให้รวดเร็ว เพื่อไม่ให้เด็กขาดโอกาส ทำอย่างไรที่จะจัดการเรียนรู้ภายใต้ความปลอดภัย ทั้งนี้ ต้องขอบคุณกระทรวงสาธารณสุข ผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ ที่ให้ความรู้แนวทางว่าการเปิดการเรียนภายใต้สถานการณ์โอไมครอน ส่วนการจัดสรรวัคซีนสำหรับเด็ก 5-11 ปี ศธ.ได้เร่งสำรวจ ให้ฉีดวัคซีน โดยกำลังทำข้อมูลให้เด็กเข้าถึงวัคซีนได้เร็วที่สุด เพื่อได้กลับเข้ามาสู่การเรียนการสอนโดยไม่ขาดตอน
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก เนชั่นออนไลน์ วันที่ 10 ม.ค. 2565