ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

สพฐ.เปิดตัวเลข "เด็กตกหล่น-ออกกลางคัน" ตั้งทีม "อสศ."ตามหาดึงกลับเข้าเรียน


ข่าวการศึกษา 16 พ.ย. 2564 เวลา 17:35 น. เปิดอ่าน : 5,123 ครั้ง
Advertisement

สพฐ.เปิดตัวเลข "เด็กตกหล่น-ออกกลางคัน" ตั้งทีม "อสศ."ตามหาดึงกลับเข้าเรียน

Advertisement

16 พฤศจิกายน 2564 ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) มีความเป็นห่วงเด็กที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ที่ตกหล่น และออกกลางคันจากระบบการศึกษา ซึ่งทางกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) สำรวจข้อมูลนักเรียนที่ได้รับทุนเสมอภาคจาก กสศ. ในกลุ่มรอยต่อ ตั้งแต่ระดับอนุบาล 3 ที่จะขึ้น ป.1 , ป.6 จะขึ้น ม.1 และ ม.3 ขึ้น ม.4 หรือไปสายอาชีวะฯ ของภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 และจากข้อมูล ณ วันที่ 14 พฤษภาคม 2564 นักเรียนกลุ่มรอยต่อได้รับทุนจาก กสศ. เพื่อจะไปศึกษาต่อแล้วกว่า 200,000 คน ในจำนวนนี้ไม่พบข้อมูลการไปเรียนต่อที่ใด จำนวน 41,610 คน จำแนกเป็นชั้นอนุบาล 3 จำนวน 391 คน , ป.6 จำนวน 8,092 คน และ ม.3 จำนวน 33,127 คน

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จึงได้นำข้อมูลและรายชื่อนักเรียนมาจำแนกว่าเด็กเหล่านี้อยู่โรงเรียนไหน และอยู่จังหวัดใด และได้นำรายชื่อทั้งหมดให้ทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และผู้อำนวยการโรงเรียน เพื่อให้ไปติดตามตัวเด็กเหล่านี้ให้กลับเข้ามาเรียนให้ได้ โดยจากข้อมูลภาคเรียนที่ 1/2564 ถึงวันที่ 28 ตุลาคม 2564 สพฐ.สามารถติดตามเด็กให้กลับเข้ามาเรียนในระบบได้มากถึง 26,657 คน จึงเหลือเด็กที่ยังหาตัวไม่เจอและไม่ไปเข้าเรียนที่ใดเลยอีก 14,953 คน จำแนกเป็นชั้นอนุบาล 3 จำนวน 266 คน , ป.6 จำนวน 5,901 คน และ ม.3 จำนวน 8,786 คน

ทั้งนี้ เด็กในจำนวน 14,953 คนนี้พบเป็นเด็กที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร์ จำนวน 1,052 คน แบ่งเป็น เด็กรหัส G จำนวน 964 คน และเด็กที่มีเลขบัตรประชาชนขึ้นต้นด้วย 00 จำนวน 88 คน จึงเหลือเด็กที่มีข้อมูลทางทะเบียนราษฎร์ จำนวน 13,901 คน ซึ่งในส่วนนี้คงหาไม่ยาก โดย สพฐ.ถือเป็นโจทย์ใหญ่ที่จะต้องไปติดตามให้กลับเข้ามาสู่ระบบการศึกษาต่อไป

Advertisement

“ถือเป็นนโยบายปัญหาสำคัญ ที่ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศธ. ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเรื่องเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคัน และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เน้นย้ำเสมอว่าเราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ต้องติดตามเด็กให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาให้ได้ ซึ่งการติดตามนักเรียนจำนวน 14,953 คน ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา” ว่าที่ร้อยตรี ธนุ กล่าว

ว่าที่ร้อยตรี ธนุ ระบุว่า สพฐ.จะดำเนินการแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

1.การติดตามเด็กที่อยู่ในการศึกษาภาคบังคับ จำนวน 6,167 คน จำแนกเป็นรายภาค ดังนี้

ภาคเหนือ 1,066 คน

ภาคกลาง 697 คน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,726 คน

ภาคตะวันออก 153 คน

ภาคใต้ 2,525 คน

ทั้งนี้ สพฐ.จะตั้งคณะทำงาน ปักหมุด เช็คอิน ค้นหาเด็กทุกคนให้เจอแล้วตามกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาภาคบังคับให้ได้ ถึงแม้เด็กจะไม่อยู่ตามข้อมูลในทะเบียนราษฎร์ สพฐ.ก็จะติดตามหาเด็กให้เจอ และถ้าพบเด็กอยู่พื้นที่ใด ต้องให้เด็กเรียนที่นั่นตามความสะดวกของเด็ก ทั้งนี้ สพฐ.จะทำความเข้าใจกับผู้ปกครองด้วยว่าหากผู้ปกครองไม่ให้เด็กเรียนตามการศึกษาภาคบังคับ จะมีความผิดตามกฎหมายด้วย

2.เด็กที่อายุเกิน 15 ปี ซึ่งอายุไม่อยู่ในการศึกษาภาคบังคับ มีจำนวน 8,786 คน ที่จบ ม.3 แล้ว สพฐ.จะให้คณะทำงานลงพื้นที่เพื่อตามหาตัวเด็กเหล่านี้ และสร้างความเข้าใจ สร้างแรงจูงใจ ให้เด็กเหล่านี้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาตามความสมัครใจ โดยรัฐมนตรีว่าการ ศธ. มีโครงการ “อาชีวะสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน เพื่อผลิตกำลังคนของประเทศ” หรือ “อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ” 16 จุดใน 6 จังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน

ทั้งนี้ จะช่วยเหลือนักเรียนในพื้นที่ห่างไกล ยากจน ขาดโอกาสทางการศึกษา และตกหล่นจากระบบการศึกษา ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษามากขึ้น โดยจะให้มาเรียนในลักษณะโรงเรียนประจำ และได้เรียนฟรี มีที่พัก พร้อมอาหาร ไม่มีค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แต่ถ้าเด็กไม่ต้องการเรียนสายอาชีพ ก็สามารถมาเรียนสายสามัญได้ โดยอาจจะให้ไปเรียนในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ หรือเรียนในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เป็นต้น

นอกจากจะติดตามเด็กที่ตกหล่นจากระบบการศึกษาแล้ว สพฐ.ยังทำการติดตามเด็กพิการที่อยู่ในสังกัด สพฐ. ซึ่งพบว่ามีอยู่กว่า 7,100 คน ให้กลับมาเรียนในระบบควบคู่กันไปด้วย ซึ่ง สพฐ.จะเร่งดำเนินการทั้ง 2 เรื่องนี้ให้เสร็จสิ้นภายในภาคเรียนที่ 2/2564 นี้ เพื่อให้เด็กได้เข้าเรียนในภาคเรียนที่ 1/2565 ได้เลย

รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวอีกว่า ส่วนปัญหาสาเหตุที่ทำให้เด็กไม่ได้เข้าเรียน หรือเข้าเรียนแล้วแต่ออกกลางคัน ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงมีปัญหาด้านเศรษฐกิจ เด็กอาจจะต้องดูแลพ่อแม่ที่เจ็บป่วย เด็กอาจจะต้องย้ายติดตามผู้ปกครองไปพื้นที่อื่น หรือต้องออกมาหารายได้จุนเจือครอบครัวเอง ผู้ปกครองมีรายได้น้อย ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการดำรงชีพ หรือเด็กอยู่ในถิ่นทุรกันดาร ห่างไกล อยู่ในพื้นที่ป่าเขา เกาะแก่ง ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เด็กขาดโอกาสทางการเรียน

“เพื่อให้การค้นหาเด็กมีประสิทธิภาพขึ้น สพฐ.วางแผน และวางระบบจะตั้งอาสาสมัครทางการศึกษา (อสศ.) ขึ้น เพื่อทำหน้าที่คล้ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ประจำแต่ละพื้นที่ในการช่วยค้นหา ติดตามเด็กที่ตกหล่นให้เข้าสู่ระบบการศึกษา” รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าว

 

ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก แนวหน้า วันอังคาร ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

 

 


สพฐ.เปิดตัวเลข "เด็กตกหล่น-ออกกลางคัน" ตั้งทีม "อสศ."ตามหาดึงกลับเข้าเรียนสพฐ.เปิดตัวเลขเด็กตกหล่น-ออกกลางคันตั้งทีมอสศ.ตามหาดึงกลับเข้าเรียน

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

Advertisement


:: เรื่องปักหมุด ::

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

เปิดอ่าน 705 ☕ 23 พ.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เปิดอ่าน 705 ☕ 23 พ.ย. 2567

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เปิดอ่าน 893 ☕ 23 พ.ย. 2567

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เปิดอ่าน 198 ☕ 23 พ.ย. 2567

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เปิดอ่าน 503 ☕ 23 พ.ย. 2567

นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569
นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569
เปิดอ่าน 2,856 ☕ 22 พ.ย. 2567

ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
เปิดอ่าน 634 ☕ 22 พ.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

5 ต้นไม้ดูดสารพิษ ช่วยกรองอากาศแบบธรรมชาติ
5 ต้นไม้ดูดสารพิษ ช่วยกรองอากาศแบบธรรมชาติ
เปิดอ่าน 19,286 ครั้ง

8 ตำรับใช้ข้าวเป็นยารักษาโรค
8 ตำรับใช้ข้าวเป็นยารักษาโรค
เปิดอ่าน 21,520 ครั้ง

คํานาม
คํานาม
เปิดอ่าน 22,053 ครั้ง

ในปี 2561 แมชชีนเลิร์นนิ่งจะกลายเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุด นับตั้งแต่โลกใบนี้มีอินเทอร์เน็ต
ในปี 2561 แมชชีนเลิร์นนิ่งจะกลายเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุด นับตั้งแต่โลกใบนี้มีอินเทอร์เน็ต
เปิดอ่าน 13,630 ครั้ง

ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism
ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism
เปิดอ่าน 157,961 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ