ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

"ดร.กมล" แนะ 3 ทริค สถานศึกษา เตรียมพร้อม "เปิดภาคเรียน"


ข่าวการศึกษา 29 ต.ค. 2564 เวลา 05:05 น. เปิดอ่าน : 4,894 ครั้ง
"ดร.กมล" แนะ 3 ทริค สถานศึกษา เตรียมพร้อม "เปิดภาคเรียน"

Advertisement

“เปิดภาคเรียน” 1 พฤศจิกายน นี้ ค่อนข้างแน่นอน ล่าสุด ดร.กมล รอดคล้าย อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(อดีตเลขาธิการกพฐ.)ในฐานะที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์) ฉายภาพการเรียนช่วงโควิดและการเตรียมพร้อมรับปิดเทอม2 ผ่านบทความในหัวข้อ "เตรียมพร้อมเปิดภาคเรียน : ดร.กมล รอดคล้าย" เอาไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง

เตรียมพร้อมเปิดภาคเรียน : ดร.กมล รอดคล้าย
วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นหมุดหมายสำคัญอีกวันหนึ่งของประเทศ ในการเปิดภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2564 ในความเป็นจริงการเปิดภาคเรียนได้ดำเนินการมาแล้วในภาคเรียนที่ 1 หากแต่รูปแบบการจัดการเรียนการสอน เน้นไปที่การเรียน ผ่านระบบ online หรืออาจมีวิธีการอื่นประกอบบ้าง

เช่น on hand ครูนำเอกสารไปส่งให้กับผู้เรียนที่บ้าน on demand สำหรับนักเรียนที่มีความพร้อม เปิดคอมพิวเตอร์ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง on air เรียนจากโทรทัศน์ แต่ในขณะเดียวกันภาพโดยรวมส่วนใหญ่เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ผ่านเครื่องมือสื่อสาร และแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ เช่น Google classroom / Zoom /Microsoft Team เป็นต้น

ปัญหาสำคัญคือการเรียนในระบบดังกล่าวสามารถให้ความรู้กับผู้เรียนได้เฉพาะส่วนที่เป็นความรู้เชิงวิชาการ หรือพุทธิศึกษาในขณะที่จริยศึกษา หัตถศึกษา หรือพลศึกษา ไม่มีโอกาสได้พัฒนาให้กับผู้เรียนเลย หรือหากเอาแนวคิดของ เพียเจต์ (Jean Piaget) มาเป็นตัวกำหนด ยิ่งตระหนักว่าการพัฒนาด้านสติปัญญาเท่านั้นที่ได้รับการดูแล


หากในส่วนของพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ และด้านสังคม กลับได้รับการพัฒนาน้อยมาก จนเป็นที่มาของความตระหนกในสังคมว่า อาจเป็นความถดถอยด้านคุณภาพทางการศึกษาของประเทศ

ในต่างประเทศ เกือบทุกประเทศก็ใช้ระบบการเรียนการสอนแบบเดียวกับในประเทศไทย เพียงแต่มีความต่างตามสถานการณ์และแนวคิดในการจัดการศึกษา อาทิ ประเทศจีนใช้ระบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์

แต่มีกิจกรรมสำคัญที่ต้องทำร่วมกันเช่น ร้องเพลงชาติผ่านระบบออนไลน์ทุกเช้า มีชั่วโมงสำหรับให้ผู้บริหารการศึกษาของประเทศหรือ ครูใหญ่กล่าวปราศรัย หรือประชุมชี้เเจงครู และนักเรียนเป็นระยะ โดยไม่ปล่อยให้เพียงแค่ครูประจำชั้นหรือครูประจำวิชาสอนนักเรียนเพียงฝ่ายเดียว

ประเทศสิงคโปร์ใช้ระบบการเรียนแบบ HBO หรือ Home Based Learning คือสลับนักเรียนมาเรียนชั้นละวัน เช่น ป.1 เรียนวันจันทร์ ป.2 เรียนวันอังคาร เป็นต้น

อังกฤษ ญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศในยุโรป อเมริกา หลายๆประเทศมีรูปแบบที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกัน คือพยายามหาวิธีให้นักเรียนได้กลับมาเรียนที่โรงเรียน โดยต้องให้ผู้เรียนปลอดภัย และได้ความรู้

สำหรับประเทศไทย ถึงเวลาที่เด็กจะต้องไปเรียนที่โรงเรียน on-site เพื่อทำให้เด็ก ได้มีโอกาสรับการพัฒนาในทุกด้าน แม้ในภาคเรียนที่ 1 จะมีโรงเรียนจำนวนมากสามารถเปิดเรียนแบบ ออนไซต์ได้ แต่ก็เฉพาะในต่างจังหวัด พื้นที่ห่างไกลปลอดโควิด

หรือเป็นโรงเรียนขนาดเล็กนักเรียน 60 คน หรือไม่เกิน 120 คน เป็นโรงเรียนที่มีพื้นที่กว้างขวาง แต่เมื่อจำเป็นต้องอยู่ในมาตรการการป้องกันของ ศบค. จังหวัด เมื่อสรุปเป็นภาพรวมของประเทศก็อาจกล่าวได้ว่าแทบทั้งหมด เป็นการเรียนแบบออนไลน์นั่นเอง

การเตรียมการเปิดภาคเรียน ในภาคเรียนที่2 ของปีการศึกษานี้ ได้กำหนดวันที่ 1 พฤศจิกายนเป็นวัน "เปิดภาคเรียน" พร้อมกันทั้งประเทศ แต่ก็มิได้เป็นกรณีบังคับ เพราะมีหลายโรงเรียน เช่น โรงเรียนนานาชาติ โรงเรียนที่มีลักษณะเฉพาะบางประเภท โรงเรียนประจำ โรงเรียนเด็กพิการ บางแห่ง ได้เปิดเรียนไปล่วงหน้าแล้ว หรือโรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัย

รวมทั้งโรงเรียนบางสังกัด อาจเปิดภาคเรียนภายหลัง ตามกำหนดเวลาเปิดปิดเทอมที่แตกต่างกันออกไป แต่เมื่อกล่าวโดยรวมโรงเรียนส่วนใหญ่ก็จะใช้วันที่ 1 พฤศจิกายนเป็นวันเปิดเรียนแบบ on-site พร้อม ๆ กัน เมื่อกำหนดไว้เช่นนี้ สิ่งที่จะต้องดำเนินการโดยกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานทางการศึกษา รวมทั้งสถานศึกษาทั้งประเทศ จึงต้องมีทิศทางที่เป็นไปในแนวเดียวกัน ต้องมีการจัดทำคู่มือกำหนดวิธีดำเนินการไว้ โดยแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ

1. การเตรียมการในช่วงก่อนเปิดภาคเรียน ซึ่งเน้นไปที่ การสร้างความปลอดภัยให้กับเด็ก อาทิโรงเรียนต้องมีการประเมินตนเองแบบเช็คลิสต์ ตามระบบ Sandbox Safety zone in School ประมาณ 20 ถึง 30 ข้อ

เช่น การฉีดวัคซีนของนักเรียน ซึ่งศธ. กำหนดเป้าหมายไว้ว่าต้องเกิน 80 % การฉีดวัคซีนครูและบุคลากรกำหนดไว้ที่ 100% ความพร้อมด้านอาคารสถานที่ การทำความสะอาดบริเวณห้องเรียน ห้องอาหาร สนามเด็กเล่น และการบริการต่าง ๆ เช่นการสุ่มตรวจวัดด้วย ATK ช่วงเปิดเรียน การจัดเตรียมตารางเรียนที่สามารถสร้างระยะห่างให้เกิดขึ้นกับเด็ก การติดตามสภาพการระบาดในชุมชนรอบโรงเรียน รวมทั้งการขอให้ ศบค.จังหวัด เข้ามาตรวจสอบ รับรอง และอนุญาต การเปิดเรียน

สิ่งที่ทุกฝ่ายต้องตระหนักคือต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทำ / ครู ช่วยกันเตรียมโรงเรียนให้ปลอดภัย เตรียมจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ ต้องใปฉีดวัคซีนป้องกันให้ครบถ้วน / ผู้ปกครองก็ต้องพาตัวเองและลูกหลานไปฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุดเว้นแต่มีเหตุจำเป็นจริง ๆ / ชุมชน สังคมรอบข้าง ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ก็ต้องช่วยทำให้จังหวัดปลอดโรค พ้นจากสถานการณ์แพร่ระบาด

2. การจัดการเรียนการสอนตั้งแต่นี้ไป จะต้องเน้นความปลอดภัยของผู้เรียนเป็นสำคัญ แต่ก็ต้องให้เด็กได้รับความรู้มากที่สุด การมาเรียนพร้อมกันทั้งโรงเรียนน่าจะเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก อาจต้องมีการสลับเวลาเรียนสลับชั้นเรียน แบ่งเด็กออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ใช้วิธีเรียนหลายอย่างประกอบกัน

เช่นเรียนออนไลน์ในส่วนของเนื้อหาวิชาการ มาโรงเรียนเพียงบางวันเพื่อพบครูและเพื่อน ทำแบบฝึกหัดหรือกิจกรรมร่วมกัน มีการจัดค่าย เสาร์- อาทิตย์ เรียนว่ายน้ำ กีฬา ดนตรี กิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อให้เด็กได้มีสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม อาชีวศึกษา อาจต้องใช้ระบบ เรียนเป็นโมดูล หรือ บล๊อคคอร์ส เรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มแรกเรียนหนึ่งเดือน จบหนึ่งวิชา จากนั้นกลุ่มที่สองก็มาเรียนต่อ เพื่อไม่ให้จำนวนผู้เรียนแออัดจนเกินไป

ระดับมหาวิทยาลัยเน้นเรียนเนื้อหาจากระบบออนไลน์ และมาเรียนที่สถาบันเฉพาะในส่วนของกิจกรรม การเข้าห้อง Lab ฝึกปฏิบัติ การทำกิจกรรมกลุ่ม การฝึกงาน การจัดการเรียนการสอนเหล่านี้ ต้องเน้นบูรณาการ มีรูปแบบที่หลากหลาย

และมุ่งให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาครบถ้วนในทุกด้าน ครูทุกคนมีความสามารถในการปรับตัวมาใช้ระบบออนไลน์อยู่แล้วในภาคเรียนที่ 1 หรือในปีที่ผ่านมา ซึ่งก็ทำได้ดีมาก เมื่อจะปรับระบบการเรียนการสอนอีกครั้งหนึ่งให้มีความหลากหลาย และบูรณาการ ก็เชื่อว่าจะไม่เกินความสามารถของครูไทย

3. การเตรียมแผนเผชิญเหตุ กรณีเกิดปัญหาขึ้นในโรงเรียน เช่น มีนักเรียนติดโควิดในบางชั้น บางระดับ หรือชุมชนรอบข้าง มีผู้ติดโควิดจำนวนมากหรือในบางกรณีครอบครัวของนักเรียนติดโควิด หรือนักเรียนติดโควิดจากโรงเรียนแล้วนำไปติดคนในครอบครัว การติดโควิดจากการนั่งรถนักเรียนหรือติดจากชุมชน แล้วส่งผลกระทบต่อโรงเรียน

จำเป็นต้องมีการประเมินร่วมกันระหว่างสถานศึกษา หน่วยงานสาธารณสุขและทีม ศบค.จังหวัดในการกำหนดทิศทางหรือการแก้ปัญหาร่วมกัน จึงไม่ต้องแปลกใจหรือกังวลใจ หากจะมีโรงเรียนเปิดแล้ว และต้องปิด แล้วเปิดใหม่ สลับกันไปเป็นระยะ ถือได้ว่าเป็นความจำเป็นที่ต้องบริหารตามสถานการณ์

ท้ายที่สุดการจัดการศึกษา เป็นเรื่องที่ทุกคนให้ความสนใจและต้องร่วมมือกันในการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเฉพาะเรื่อง เฉพาะพื้นที่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เด็กได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ สิ่งเหล่านี้ยังไม่ได้หมายรวมไปถึงคนที่อาจต้องออกกลางคัน ตกหล่นจากระบบ เด็กกำพร้าจากการที่พ่อแม่เสียชีวิตด้วยโควิด

หรือเด็กที่อยู่ในภาวะยากลำบากจากปัญหาเศรษฐกิจในครอบครัว ที่จำเป็นจะต้องแก้ไขต่อไป แต่อย่างน้อย การเริ่มต้น "เปิดภาคเรียน" น่าจะนำไปสู่การฟื้นฟูความรู้ให้กับเด็ก เป็นการเริ่มต้นก้าวเดินอีกครั้งของประเทศ เพราะไม่ว่าเราจะผ่านความยากลำบากเพียงใด ชีวิตก็ต้องเดินไปข้างหน้า ประเทศก็คงเป็นเช่นเดียวกัน


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก คม ชัด ลึก วันที่ 27 ต.ค. 2564

 


"ดร.กมล" แนะ 3 ทริค สถานศึกษา เตรียมพร้อม "เปิดภาคเรียน"ดร.กมลแนะ3ทริคสถานศึกษาเตรียมพร้อมเปิดภาคเรียน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ว 8/2567 การกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง และการกำหนดอัตราเงินเดือนชดเชยและจำนวนเงินที่ได้ปรับตามคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง

ว 8/2567 การกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง และการกำหนดอัตราเงินเดือนชดเชยและจำนวนเงินที่ได้ปรับตามคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง

เปิดอ่าน 7,320 ☕ 1 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ปฏิทินการจ้างและการประเมินนักการภารโรง ระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม – กันยายน 2567)
ปฏิทินการจ้างและการประเมินนักการภารโรง ระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม – กันยายน 2567)
เปิดอ่าน 481 ☕ 24 เม.ย. 2567

คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด
เปิดอ่าน 207 ☕ 24 เม.ย. 2567

เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน
เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน
เปิดอ่าน 281 ☕ 24 เม.ย. 2567

มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
เปิดอ่าน 4,969 ☕ 23 เม.ย. 2567

การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 3,785 ☕ 23 เม.ย. 2567

กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 365 ☕ 23 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

อนาคตหนังสือเรียนไทยในยุคก้าวไกลของ IT
อนาคตหนังสือเรียนไทยในยุคก้าวไกลของ IT
เปิดอ่าน 26,417 ครั้ง

15 วิธีแก้เคราะห์ สะเดาะกรรมให้ร่ำรวย
15 วิธีแก้เคราะห์ สะเดาะกรรมให้ร่ำรวย
เปิดอ่าน 31,649 ครั้ง

เรื่องกล้วย ๆ
เรื่องกล้วย ๆ
เปิดอ่าน 15,402 ครั้ง

รายการคำทับศัพท์รวบรวมจากการสะกดตามราชบัณฑิตยสถาน
รายการคำทับศัพท์รวบรวมจากการสะกดตามราชบัณฑิตยสถาน
เปิดอ่าน 284,447 ครั้ง

ฮาก๊ากคู่รักตัวกะเปี๊ยก นัดวิวาห์เหาะข้ามทวีป
ฮาก๊ากคู่รักตัวกะเปี๊ยก นัดวิวาห์เหาะข้ามทวีป
เปิดอ่าน 11,896 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ