ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 11/2564 วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม 2564 โดยมี นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม และมี รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. เป็นเลขานุการการประชุม ซึ่งที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและมีมติที่สำคัญ ดังนี้
ตามที่สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้จัดทำมาตรฐานตำแหน่งทุกตำแหน่งใหม่ให้จำแนกตำแหน่งเป็นประเภท และสายงานตามลักษณะงาน และจัดตำแหน่งในประเภทและสายงานที่มีลักษณะงานอย่างเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันให้อยู่ในตำแหน่งประเภทหรือสายงานเดียวกันหรือโดยประมาณเป็นกลุ่มเดียวกัน โดยแสดงชื่อตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่ง ลักษณะงานที่ปฏิบัติ และคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งของผู้ที่ดำรงตำแหน่งนั้นเพื่อให้การดำเนินงานด้านการบริหารงานบุคคลเป็นไปอย่างครอบคลุมและไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ก.ค.ศ. จึงได้ปรับแนวทางการเทียบตำแหน่งโดยพิจารณาจากหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งที่ดำรงอยู่ตามมาตรฐานตำแหน่งที่ ก.ค.ศ. กำหนด และให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับการกำหนดตำแหน่งอย่างอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่าตามมาตรฐานตำแหน่ง และมาตรฐานวิทยฐานะ โดย (ร่าง) การกำหนดตำแหน่งอย่างอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า สำหรับตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด และผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัด/กรุงเทพมหานคร
ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ รองผู้อำนวยการสำนักงานาเขตพื้นที่การศึกษารองผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด และรองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัด/กรุงเทพมหานคร
ได้แก่ ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประเภท ก. ข. และ ค. (1) ที่มีวิทยฐานะเชี่ยวชาญ
ได้แก่ ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประเภท ก. ข. และ ค. (1) ที่มีวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
ได้แก่ ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประเภท ก. ข. และ ค. (1) ที่มีวิทยฐานะชำนาญการ
ทั้งนี้ ให้ยกเลิกการกำหนดตำแหน่งอย่างอื่นที่ ก.ค.ศ. กำหนด เพื่อเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัด รองศึกษาธิการจังหวัด และตำแหน่งประเภทอำนวยการ ตามที่ ก.ค.ศ. ได้เคยกำหนดไว้เดิม
Advertisement
สืบเนื่องจากที่ ก.ค.ศ. เห็นชอบกรอบการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง สำหรับตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ใหม่ โดยกำหนดให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งและมีความประสงค์จะเปลี่ยนตำแหน่งเข้าสู่สายงานดังกล่าว จะต้องผ่านการพัฒนาทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นตามที่กำหนดในมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิชาชีพก่อน จากนั้นจึงจะเป็นผู้มีคุณสมบัติในการเข้ารับการสรรหาเข้าสู่ตำแหน่งต่อไป ดังนั้นเพื่อให้ระบบการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนการคัดเลือกเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษามีความถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และเหมาะสม เพราะกระบวนการดังกล่าวถือเป็นกระบวนการแรกในการกลั่นกรองข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนที่จะเข้าสู่ขั้นตอนการคัดเลือก รวมทั้งยังมีความเชื่อมโยงกับระบบอื่น ๆ ต่อไป เช่น การประเมินวิทยฐานะ การประเมินผลการปฏิบัติงาน ฯลฯ สำนักงาน ก.ค.ศ. จึงได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาที่มีความน่าเชื่อถือสูงและเป็นที่ยอมรับในวงการศึกษา โดยเฉพาะด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลและองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยในการออกแบบระบบ จัดทำระบบ พัฒนาระบบ และทดลองใช้ระบบดังกล่าว โดยโครงการพัฒนาสมรรถนะดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. ออกแบบระบบการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก่อนการคัดเลือกเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา
2. จัดทำระบบการคัดกรองข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามหลักสมรรถนะก่อนเข้าสู่กระบวนการคัดเลือก
3. เพื่อพัฒนาหลักสูตรผู้บริหารสถานศึกษาที่ถึงพร้อมด้วยการพัฒนาศักยภาพการบริหาร (Management) และภาวะผู้นำ (Leadership) ก่อนการคัดเลือกเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา
4. ประเมินสมรรถนะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
5. จัดทำฐานข้อมูลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนเข้าสู่กระบวนการคัดเลือก
กลุ่มเป้าหมาย คือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณสมบัติ เฉพาะสำหรับตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา
กรอบการดำเนินการ
1. ขั้นตอนการคัดกรองเข้าสู่การพัฒนา
2. ขั้นตอนการเรียนรู้และการพัฒนา
3. ขั้นตอนการประเมินสมรรถนะ
4. ขั้นตอนการเตรียมฐานข้อมูล
ระยะเวลาการดำเนินการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 – 2566
ทั้งนี้ โครงการนี้จะส่งเสริมให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับโอกาสในการพัฒนาศักยภาพการบริหาร (Management) และภาวะผู้นา (Leadership) ก่อนการคัดเลือกเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา รวมถึงสำนักงาน ก.ค.ศ. จะได้มีตัวอย่างในการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นระบบและมีความต่อเนื่อง และเพื่อให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นตัวอย่างของการนำระบบสมรรถนะมาใช้ในการสร้างความโปร่งใส ตรวจสอบได้ในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อไป
ที่มา สำนักงาน ก.ค.ศ.