“ตรีนุช” ห่วงการทดลองใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะในสถานการณ์โควิด-19 คณะกรรมการอำนวยการพัฒนาหลักสูตรฯ ชง กพฐ.ปรับแผนปฏิบัติการใหม่ใช้เวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2565-2567 เพิ่มสมรรถนะเป็น 6 ด้าน ใช้เวลาเรียนลดลง
เมื่อวันที่ 13 ส.ค. น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้กำหนดแผนปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรแกนกลางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ ซึ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องขณะนี้ ตนมีความห่วงใยนักเรียนและครู จึงได้หารือกับคณะกรรมการอำนวยการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเห็นควรปรับแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อไม่ให้เป็นภาระเพิ่มสำหรับครู โดยยังคงเดินหน้าปฏิรูปหลักสูตร ให้การศึกษาพัฒนาเด็กไทยให้มีความรู้ เจตคติและทักษะให้ทำงานเป็น ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสังคมได้ดี
รมว.ศธ.กล่าวต่อไปว่า แผนปฏิบัติการที่ได้ปรับปรุงใหม่มีสาระสำคัญ ดังนี้ ประการแรก วางแผนนำหลักสูตรฐานสมรรถนะไปใช้ในกรอบเวลา 3 ปี คือ ปีการศึกษา 2565 ศธ.เริ่มใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ สำหรับระดับประถมศึกษา ในโรงเรียนที่มีความพร้อม ปีการศึกษา 2566 หลักสูตรฐานสมรรถนะระดับมัธยมศึกษา ในโรงเรียนที่มีความพร้อมและทุกโรงเรียนในระดับประถมศึกษา และปีการศึกษา 2567 ใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะในโรงเรียนทุกโรง ประการที่สอง ปรับปรุงสมรรถนะโดยพิจารณาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กไทยในโลกปัจจุบัน จากเดิมมีสมรรถนะ 5 ด้าน ปรับเป็นมีสมรรถนะ 6 ด้าน ประกอบด้วย 1.การจัดการตนเองอย่างมีสุขภาวะ 2.การคิดขั้นสูงและการเรียนรู้ 3.การสื่อสารด้วยภาษา 4.การจัดการและการทำงานเป็นทีม 5.การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง และ 6.การอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน โดยเน้นมิติด้านคุณธรรม จริยธรรม รวมถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์และความเป็นไทยมากขึ้น ซึ่งการเพิ่มสมรรถนะ “การอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน” เพื่อให้เด็กไทยมีสมรรถนะทั้งด้านวิทยาศาสตร์ รู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัล และอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน
“หลักสูตรฐานสมรรถนะใหม่นี้แตกต่างจากเดิมในสาระสำคัญ เช่น ช่วงชั้นประถมศึกษาตอนต้น หรือ ชั้น ป.1-ป.3 เวลาเรียนลดลง ลดจาก 1,000 ชั่วโมงเป็น 800 ชั่วโมง ปลดล็อกด้านตัวชี้วัด เด็กเรียน 7 สาระการเรียนรู้ แทน 8 สาระการเรียนรู้ เป็นต้นทั้งนี้ คณะกรรมการอำนวยการปรับปรุงหลักสูตรฯ จะนำแผนที่ปรับเปลี่ยนใหม่ดังกล่าว เสนอต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ในวันที่ 13 สิงหาคมนี้ คาดว่าจะจัดให้นำร่องทดลองใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะในเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้ประมาณวันที่ 1 กันยายน 2564 โดยจะทยอยเผยแพร่คู่มือ หลักสูตร ที่มีตัวอย่างสถานการณ์และกิจกรรมการเรียนรู้ที่ปรับใช้ในพื้นที่และในรูปแบบการสอนออนไลน์ได้” น.ส.ตรีนุช กล่าว
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก เดลินิวส์ วันที่ 13 สิงหาคม 2564
'ตรีนุช' ชะลอใช้'หลักสูตรฐานสมรรถนะ'อย่างเต็มระบบ ใช้วิธีแบ่งระยะทดลองนำร่องออกเป็น3ปี (2565-67)
13ส.ค.64- นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้กำหนดแผนปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรแกนกลางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ ซึ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 หรือ โควิด-19 ที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องขณะนี้ ตนมีความห่วงใยนักเรียนและครู จึงได้หารือกับคณะกรรมการอำนวยการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเห็นควรปรับแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อไม่ให้เป็นภาระเพิ่มสำหรับครู โดยยังคงเดินหน้าปฏิรูปหลักสูตร ให้การศึกษาพัฒนาเด็กไทยให้มีความรู้ เจตคติและทักษะให้ทำงานเป็น ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสังคมได้ดี
นางสาวตรีนุช กล่าวต่อว่า แผนปฏิบัติการที่ได้ปรับปรุงใหม่มีสาระสำคัญ ดังนี้ ประการแรก วางแผนนำหลักสูตรฐานสมรรถนะไปใช้ในกรอบเวลา 3 ปี คือ ปีการศึกษา 2565 ศธ.เริ่มใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ สำหรับระดับประถมศึกษา ในโรงเรียนที่มีความพร้อม ปีการศึกษา 2566 หลักสูตรฐานสมรรถนะระดับมัธยมศึกษา ในโรงเรียนที่มีความพร้อมและทุกโรงเรียนในระดับประถมศึกษา และปีการศึกษา 2567 ใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะในโรงเรียนทุกโรง ประการที่สอง ปรับปรุงสมรรถนะโดยพิจารณาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กไทยในโลกปัจจุบัน จากเดิมมีสมรรถนะ 5 ด้าน ปรับเป็นมีสมรรถนะ 6 ด้าน ประกอบด้วย 1.การจัดการตนเองอย่างมีสุขภาวะ 2.การคิดขั้นสูงและการเรียนรู้ 3.การสื่อสารด้วยภาษา 4.การจัดการและการทำงานเป็นทีม 5.การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง และ 6.การอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน โดยเน้นมิติด้านคุณธรรม จริยธรรม รวมถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์และความเป็นไทยมากขึ้น ซึ่งการเพิ่มสมรรถนะ “การอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน” เพื่อให้เด็กไทยมีสมรรถนะทั้งด้านวิทยาศาสตร์ รู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัล และอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน
“หลักสูตรฐานสมรรถนะใหม่นี้แตกต่างจากเดิมในสาระสำคัญ เช่น ช่วงชั้นประถมศึกษาตอนต้น หรือ ชั้น ป.1-ป.3 เวลาเรียนลดลง ลดจาก 1,000 ชั่วโมงเป็น 800 ชั่วโมง ปลดล็อกด้านตัวชี้วัด เด็กเรียน 7 สาระการเรียนรู้ แทน 6 สาระการเรียนรู้ เป็นต้นทั้งนี้ คณะกรรมการอำนวยการปรับปรุงหลักสูตรฯ จะนำแผนที่ปรับเปลี่ยนใหม่ดังกล่าว เสนอต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ในวันที่ 13 สิงหาคมนี้ คาดว่าจะจัดให้นำร่องทดลองใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะในเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้ประมาณวันที่ 1 กันยายน 2564 โดยจะทยอยเผยแพร่คู่มือ หลักสูตร ที่มีตัวอย่างสถานการณ์และกิจกรรมการเรียนรู้ที่ปรับใช้ในพื้นที่และในรูปแบบการสอนออนไลน์ได้” รมว.ศธ. กล่าว.
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก ไทยโพสต์ วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2564