ข้อมูลประกอบการพิจารณา
ครูหรือวิชาชีพทางการศึกษาเป็นอาชีพที่กำหนดให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง เป็นวิชาชีพที่รับผิดชอบและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติ คนในชาติหรือคุณภาพของคนในชาติเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับวิชาชีพครูหรือวิชาชีพทางการศึกษา บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาจึงมีบทบาทและความสำคัญอย่างมากต่อการศึกษาของชาติ ฉะนั้น บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาจึงต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและมีทักษะอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรมจริยธรรม ประพฤติตนตามมาตรฐานวิชาชีพขณะเดียวกันจะต้องมีการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพ เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษาจึงควรกำหนดให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเป็นวิชาชีพทางการศึกษาทั้งหมด รวมทั้งกำหนดให้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือวิชาชีพทางการศึกษาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ นักพัฒนาการศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับส่วนราชการ นอกจากนี้ ยังควรจัดให้มีการรวมตัวเป็นองค์กรวิชาชีพในรูปของสภาวิชาชีพ เรียกว่า “คุรุสภา” เป็นองค์กรหลักหรือองค์กรกลางที่จะทำหน้าที่ในการควบคุม กำกับดูแล สนับสนุน ส่งเสริมด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับวิชาชีพครูหรือวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นกลไกและระบบการผลิต คัดกรอง และพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครู เพื่อให้ได้ผู้มีจิตวิญญาณของความเป็นครู ผู้มีความรู้ความสามารถ ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมรวมถึงกำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้ครูหรือวิชาชีพทางการศึกษาได้ใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนให้สมกับเป็นวิชาชีพที่ดีมีคุณธรรม เป็นเสาหลักของการพัฒนาชาติ อีกทั้งกำหนดให้มีองค์กรที่ดำเนินการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูเพื่อความก้าวหน้ามั่นคงในวิชาชีพ อันจะส่งผลต่อการพัฒนาวิชาชีพและสนับสนุนภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น สามารถผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ
สาระสำคัญ
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ดังต่อไปนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา” “ครู” และ “ใบอนุญาต”และเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “ผู้บริหารการศึกษาในระดับส่วนราชการ” “ศึกษานิเทศก์” และ “นักพัฒนาการศึกษา” ให้มีความสอดคล้องกับบริบทด้านการศึกษาในสภาวการณ์ปัจจุบัน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 4)
2. กำหนดให้คุรุสภามีหน้าที่และอำนาจดำเนินการส่งเสริมเจตคติ และภาพลักษณ์ที่ดีต่อวิชาชีพทางการศึกษา และปกป้องสถานภาพของวิชาชีพครูในฐานวิชาชีพชั้นสูง ออกข้อบังคับของคุรุสภาว่าด้วยวิธีการสรรหา การเลือก การเลือกตั้ง และการแต่งตั้งคณะกรรมการคุรุสภา ตลอดจนมีอำนาจในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณากลั่นกรอง หรือกระทำการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคุรุสภา (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 9)
3. แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบ ที่มา และคุณสมบัติของคณะกรรมการคุรุสภา เพื่อให้ได้บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงและมีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 12)
4. กำหนดให้คณะกรรมการสรรหาบุคคลที่สมควรเป็นประธานกรรมการและกรรมการคุรุสภาไม่ต้องมาจากการแต่งตั้งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 18 วรรคหนึ่ง)
5. แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 20) อันเกี่ยวกับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา การกำกับดูแลมาตรฐานและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพการส่งเสริม พัฒนา เสนอแนะในมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ การส่งเสริม ยกย่อง และพัฒนาวิชาชีพไปสู่ความเป็นเลิศ ตลอดจนมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือดำเนินการในเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา
6. ยกเลิกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ และแก้ไขถ้อยคำในบทบัญญัติที่อ้างถึงคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ โดยกำหนดให้คณะอนุกรรมการซึ่งคณะกรรมการคุรุสภาแต่งตั้ง ตามมาตรา 20 (5) ปฏิบัติหน้าที่แทน (ยกเลิกส่วนที่ 3 คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ มาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 23 มาตรา 24และมาตรา 25 ของหมวด 1 สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 29 - 32 ยกเลิกมาตรา 33 และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 35 วรรคหนึ่ง มาตรา 45 วรรคสอง มาตรา 51 วรรคสอง
มาตรา 52 – 54 และมาตรา 55 วรรคหนึ่ง)
7. แก้ไขเพิ่มเติมการประกอบวิชาชีพควบคุม โดยกำหนดรายละเอียดให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 43 วรรคหนึ่ง)
8. แก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม เพื่อให้มีมาตรฐานที่เข้มข้นยิ่งขึ้น (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 44 (ก) (3))
9. แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มึความชัดเจนยิ่งขึ้น (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 63 มาตรา 64 มาตรา 65 และมาตรา 67)
10. กำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อรองรับการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณและเพื่อให้มีองค์กรกลางในการควบคุมกำกับส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพตามพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา 32 - 39)
11. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา 40)
ผู้ที่เกี่ยวข้อง
กระทรวงศึกษาธิการ
ประเด็นเพื่อรับฟังความคิดเห็น
1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา” “ครู” และ “ใบอนุญาต” และเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “ผู้บริหารการศึกษาในระดับส่วนราชการ” “ศึกษานิเทศก์” และ“นักพัฒนาการศึกษา” (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 4)
2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้คุรุสภามีหน้าที่และอำนาจดำเนินการส่งเสริมเจตคติและภาพลักษณ์ที่ดีต่อวิชาชีพทางการศึกษา และปกป้องสถานภาพของวิชาชีพครูในฐานวิชาชีพชั้นสูงออกข้อบังคับของคุรุสภาว่าด้วยวิธีการสรรหา การเลือก การเลือกตั้ง และการแต่งตั้งคณะกรรมการคุรุสภา ตลอดจนมีอำนาจในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณากลั่นกรอง หรือกระทำการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคุรุสภา (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 9)
3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบ ที่มา และคุณสมบัติของคณะกรรมการคุรุสภา (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 12)
4. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้คณะกรรมการสรรหาบุคคลที่สมควรเป็นประธานกรรมการและกรรมการคุรุสภาไม่ต้องมาจากการแต่งตั้งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 18 วรรคหนึ่ง)
5. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 20)
6. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการยกเลิกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ และแก้ไขถ้อยคำในบทบัญญัติที่อ้างถึงคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ โดยกำหนดให้คณะอนุกรรมการซึ่งคณะกรรมการคุรุสภาแต่งตั้ง ตามมาตรา 20 (5) ปฏิบัติหน้าที่แทน (ยกเลิกส่วนที่ 3 คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ มาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 23 มาตรา 24 และมาตรา 25 ของหมวด 1 สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 29 - 32 ยกเลิกมาตรา 33 และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 35 วรรคหนึ่ง มาตรา 45 วรรคสอง มาตรา 51 วรรคสองมาตรา 52 – 54 และมาตรา 55 วรรคหนึ่ง)
7. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการแก้ไขเพิ่มเติมการประกอบวิชาชีพควบคุม (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 43วรรคหนึ่ง)
8. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการแก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 44 (ก) (3))
9. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการแก้ไขเพิ่มเติม องค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 63 มาตรา 64 มาตรา 65 และมาตรา 67)
10. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อรองรับการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ และเพื่อให้มีองค์กรกลางในการควบคุมกำกับส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพตามพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา 32 - 39)
11. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา 40)
ครูบ้านนอก.คอม ได้รับการเปิดเผยจาก รศ.ดร.สุรวาท ทองบุ ว่า ตามที่ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมาธิการ (อนุ กมธ.) ขึ้นพิจารณาศึกษากฎหมายการศึกษาแห่งชาติและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ซึ่ง รองศาสตราจารย์ ดร.สุรวาท ทองบุ กมธ.ที่ปรึกษา เป็นประคณะอนุ กมธ. ได้พิจารณาเสร็จสิ้นโดยเสนอร่าง พรบ. ทั้งหมด 4 ฉบับ คือ ร่าง พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ….. ร่าง พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ….. ร่าง พรบ.ระเบียบข้าราชการครู พ.ศ….. และ ร่าง พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ฉบับที่ …. พ.ศ……
และได้เสนอให้ คณะ กมธ.การศึกษา พิจารณาให้ข้อเสนอแนะปรับปรุงแก้ไข แล้วให้สมาชิกสภาผู้แทน (สส.) พรรคต่าง ๆ ทั้งพรรครัฐบาลและฝ่ายค้านนำไปพิจารณาเสนอต่อรัฐสภาหรือสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ทั้งนี้อาจปรับปรุงแก้ไขตามแนวทางของแต่ละพรรคหรือกลุ่ม สส. ก่อนเสนอก็ได้
พรรคก้าวไกล ได้นำไปปรับปรุงแก้ไขและเสนอเข้าสภา เรียบร้อยทั้ง 4 ฉบับ
ขณะนี้ สภาได้นำส่งร่าง พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ… ส่งไปให้นายกรัฐมนตรีพิจารณารับรอง และได้พิจารณาความสอดคล้องกับร่างของรัฐบาลส่งกลับมายังรัฐสภาแล้ว ส่วนอีก 3 ฉบับดังกล่าวข้างต้น สภากำลังทะยอยส่งไปยังนายกรัฐมนตรี และรับฟังความคิดเห็นต่อร่าง พรบ. ตามรัฐธรรมนูญ มาตร ๗๗ ทางเว็บไซต์ของรัฐสภา ขณะนี้เปิดให้แสดงความคิดเห็นแล้ว 1 ร่าง พรบ.