ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

"ปลัดศธ." ชี้ "แท็บเล็ต" ยิ่งลักษณ์ ตกยุคแล้ว รองรับแอปฯใหม่ๆไม่ได้ หรือถ้าจะใช้ก็ต้องระดับมัธยมฯไม่ใช่ประถม


ข่าวการศึกษา 7 ก.ค. 2564 เวลา 14:10 น. เปิดอ่าน : 6,385 ครั้ง
Advertisement

"ปลัดศธ." ชี้ "แท็บเล็ต" ยิ่งลักษณ์ ตกยุคแล้ว รองรับแอปฯใหม่ๆไม่ได้ หรือถ้าจะใช้ก็ต้องระดับมัธยมฯไม่ใช่ประถม

Advertisement

จากกรณีข้อเรียกร้องที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เสนอให้นำแท็บเล็ตพีซีมาใช้ในระบบการศึกษาของไทย โดยโพสข้อความระบุถึงการศึกษาไทยว่าช่วงสถานการณ์โควิด-19 การปรับตัวเพื่อเรียนออนไลน์มีความจำเป็นเพื่อความปลอดภัยจากการติดเชื้อและให้การเรียนการสอนดำเนินไปได้โดยไม่ติดขัด แท็บเล็ตพีซี จึงเป็นอุปกรณ์ทางเลือกที่พัฒนาให้นักเรียนรู้จักแสวงหาความรู้ และแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง พร้อมกับปรับบทบาทครูเป็นผู้อำนวยการสอนเท่านั้น จึงหวังว่ารัฐบาลจะนำนโยบายแท็บเล็ตพีซีและการเรียนออนไลน์เข้ามาใช้ในสถานศึกษาอย่างจริงจังและลงทุนให้ทุกโรงเรียนของรัฐมีอุปกรณ์การเรียนการสอนทั้งครูผู้สอนและนักเรียนนั้น

นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปลัด ศธ.) กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.ฉ ได้จัดซื้อ Tablet PC ให้กับนักเรียนชั้น ป.1 ทั่วประเทศ ครั้งแรกในปี 2555 จำนวน 8 แสนเครื่องเศษ โดยในปี 2556 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นผู้จัดซื้อให้ จากบริษัทของประเทศจีนโดยตรง และจัดซื้อครั้งที่ 2 สำหรับนักเรียน ป.1 และ ม.1 ทั้งประเทศ จำนวน 1 แสน 6 หมื่นเครื่องเศษ โดยใช้วิธีการจัดซื้อแบบ e-Bidding ภายในประเทศไทย ต่อมาในปี 2557 ได้มีการประเมินผลการใช้ Tablet PC ในการจัดการเรียนการสอนของนักเรียน โดยสรุปคือ

Tablet PC มีประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน นักเรียนและครู มีความพึงพอใจสูง ในการใช้ในการเรียนการสอน อีกทั้ง Tablet PC ตอบสนองการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความแตกต่างของบุคคลด้านความพร้อมทางสติปัญญา ซึ่งผลการตอบรับภาพรวมในระดับโรงเรียนเห็นควรดำเนินโครงการ Tablet PC ต่อเนื่อง และจากสภาพปัญหาการใช้งาน จนถึงปัจจุบันพบว่า Tablet PC ยังมีจุดที่ต้องได้รับการพัฒนาหลายส่วน เช่น Spec Tablet PC ในสมัยนั้นค่อนข้างต่ำ การทำงานช้า และอายุการใช้งานสั้นปัจจุบันผ่านมา 8 ปี หมดอายุการใช้งาน ไม่สามารถรองรับ application ในปัจจุบัน สื่อ Application มีน้อย ไม่เพียงพอในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน ระบบปฏิบัติการ (OS) มีข้อจำกัดในการรองรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบต่างๆ มีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลจำกัด หรือจำนวนน้อยไม่เพียงพอต่อการใช้งานสัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่เพียงพอสำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เป็นต้น

 

นายสุภัทร กล่าวต่อว่า เมื่อปี 2555 มีงานงานวิจัยของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พบว่า Tablet PC เหมาะสมสำหรับนักเรียนระดับชั้น ป.4 ขึ้นไป ดังนั้นในกรณีจะจัดหา Tablet PC ให้กับนักเรียนในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด - 19 เห็นควรจัดหาให้ระดับมัธยมศึกษาก่อนเป็นลำดับแรก เนื่องจากนักเรียนกลุ่มนี้ใช้รูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์อยู่เดิมแล้ว ในส่วนของระดับประถมศึกษายังมีการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลาย ได้แก่ On - AIR On – Hand On - Demand นอกจากนี้ยังมีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ที่มาช่วยสนับสนุนการเรียนรู้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เนื่องจากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการนี้ โดยเนื้อหาปัจจุบันนำเสนอในรูปแบบ New DLTV สามารถเข้าเรียนเมื่อใดก็ได้ เรียนล่วงหน้า ย้อนหลังได้ ผ่านเว็บไซต์ www.dltv.ac.th หรือผ่าน Application DLTV จึงเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เพียงพอสำหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษา ตลอดจนกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับ Tablet PC ลำดับแรกๆ ควรเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาที่ด้อยโอกาสขาดแคลนอุปกรณ์ในการเรียน เช่น นักเรียนในกองทุน กสศ. รวมทั้ง Spec ของ Tablet PC ควรเป็นคุณลักษณะที่ใช้งานได้จริงในปัจจุบันรองรับสื่อ Application ได้ทุกประเภท สำหรับการจัดหาควรใช้วิธีการเช่า ไม่ควรจัดซื้อ เพราะสามารถใช้งบดำเนินการสำหรับบริหารจัดการได้เลย เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 คลี่คลาย อาจจะไม่ต้องเช่าต่อก็ได้

นายสุภัทร กล่าวอีกว่า ทั้งนี้จากผลงานวิจัยจากครอบครัวในทวีปเอเชียและยุโรป โดยงานวิจัยมหาวิทยาลัยมิชิแกนเรื่องผลกระทบของการเรียนออนไลน์ ในผู้ปกครองชาวอเมริกัน 405 คน ที่มีลูกอย่างน้อย 1 คนอายุต่ำกว่า 12 ปี และครึ่งหนึ่งของผู้ปกครองมีลูกอายุระหว่าง 2-5 ปี พบว่า ร้อยละ 40 ของผู้ปกครองรู้สึกเครียดจากการที่ลูกต้องเรียนออนไลน์ โดย ร้อยละ 25 ให้ข้อมูลว่า บ้านมีอุปกรณ์หรือสภาพไม่พร้อมต่อการเรียนออนไลน์ ส่วนผลสำรวจของ Washington Post จากผู้ปกครองที่มีลูกต้องเรียนออนไลน์ 60 คน พบว่าลูกตัวเองเครียดขึ้น ก้าวร้าวขึ้น เบื่ออาหาร บ่นปวดหลัง มีปัญหาเจ็บตาหรือตาอ่อนล้า ขณะที่งานวิจัยในประเทศจีน สำรวจนักเรียนในมณฑลหูเป่ยที่อยู่ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์ตั้งแต่ต้นปี 2563 โดยเก็บข้อมูลนักเรียนเกรด 2 ถึง 6 (ป.2-ป.6) จำนวน 2,330 คน ระหว่าง 28 กุมภาพันธ์-5 มีนาคม 2563 พบว่ามีนักเรียนมากถึง ร้อยละ 40 ที่เผชิญความเครียดและวิตกกังวล สอดคล้องกับประเทศไทยที่ล่าสุดมีนักเรียนและนักศึกษาจำนวนมากเครียดจากการเรียนออนไลน์ เพราะไม่สามารถปรับตัวได้ ทำให้เกิดความทุกข์ และมีบางคนที่สุดท้ายก็นำไปสู่โศกนาฏกรรม

ปลัดศธ. กล่าวอีกว่า ดังนั้นในช่วงของสถานการณ์วิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงจำเป็นต้องใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เพื่อให้การเรียนรู้ต่อเนื่องการเรียนการสอนแบบออนไลน์มีองค์ประกอบ ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน เนื้อหา สื่อการเรียนการสอน แหล่งเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนการสอน ระบบการติดต่อสื่อสาร ระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ การวัดและการประเมินผล และเมื่อการเรียนออนไลน์มีบทสรุปเหมือนกับการเรียนปกติ ก็คือ ตัดสินกันที่การวัดและประเมินผลแบบเดิม ซึ่งกลายเป็นเรื่องหนักหน่วงของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเด็ก มีเด็กจำนวนมากที่ไม่ใช่ทุกข์ใจแค่การเรียนออนไลน์ การทำงานที่มากขึ้น แต่การสอบกลายเป็นเรื่องหนักสุด สืบเนื่องจากผลพวงเรื่องประสิทธิภาพในการเรียนออนไลน์ที่เด็กส่วนใหญ่อยากเรียนที่สถาบันการศึกษามากกว่า เด็กจำนวนมากถอดใจยอมถอยจากระบบ ออกจากโรงเรียนกลางคัน ในขณะที่ระดับมหาวิทยาลัยก็ดรอปไว้ก่อน นักเรียนในสิงคโปรต์ต้องกลับไปเรียนออนไลน์นาน 10 วัน ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม เพื่อที่จะรักษาระยะห่างระหว่างคนเด็กหลายล้านคนทั่วโลกต้องเรียนหนังสือจากบ้าน เพราะเกือบทุกประเทศกำลังเผชิญกับการระบาดใหญ่ของโควิด
"แม้ขณะนี้นักเรียนจำนวนหนึ่งกลับไปโรงเรียนแล้ว สิ่งที่น่ากังวลในขณะนี้ ไม่ใช่แค่เรื่องช่วงเวลาที่สูญเสียไปของการศึกษา แต่ยังเป็นผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพจิตของเด็กด้วยเด็ก ๆ ทั่วโลกทุกข์ทรมานกับความรู้สึกเครียด ความวิตกกังวล และการโดดเดี่ยวในช่วงที่ต้องล็อกดาวน์และปิดโรงเรียนนานหลายเดือนในช่วงปีที่ผ่านมา ก่อนหน้าที่จะเกิดการระบาด แทบไม่มีการพูดถึงเรื่องสุขภาพจิตในโรงเรียนที่มุ่งเน้นด้านวิชาการในสิงคโปร์ แต่เรื่องนี้กำลังเปลี่ยนแปลงไป"ปลัด ศธ.กล่าว

นายสุภัทร ยังกล่าวอีกว่า จากข้อมูลของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 กระทรวงศึกษาธิการพบว่ามีโรงเรียนที่จัดการเรียนแบบออนไลน์เต็มรูปให้กับนักเรียนจำนวน 7,889 โรงเรียน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 22.5 ในสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นมีข้อจำกัดจากการใช้ Tablet PC ในหลายมิติ เช่น

1. ครอบครัวผู้ปกครองไม่สามารถจัดหาสัญญาณอินเทอร์เน็ตเพื่อให้นักเรียนได้เรียนออนไลน์อย่างเต็มรูปผ่าน Tablet PC ได้ด้วยสภาพพื้นที่ของที่อยู่อาศัยและสภาพเศรษฐกิจ
2. ผู้ปกครองต้องออกไปทำงานนอกบ้านนักเรียนต้องอยู่กับพีซี แท็บเล็ตโดยไม่มีผู้ดูแลกระตุ้นเตือนให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองทำให้ขาดประสิทธิภาพ
3. ผู้เรียนต้องการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับเพื่อนและ กับครู
4. การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ที่สมบูรณ์นั้นจะต้องมีการพัฒนาในองค์ประกอบ 3 ด้านคือ ด้านสติปัญญา ด้านร่างกายอารมณ์สังคม และด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดังนั้นการใช้พีซีแท็บเล็ต เป็นไปเพื่อช่วยในการเรียนออนไลน์จะมีประโยชน์เกิดคุณค่าต่อการพัฒนาการศึกษาของคนได้เฉพาะบางส่วนจึงไม่เป็นคำตอบสุดท้ายสำหรับการจัดการศึกษาโดยรวม

“กระทรวงศึกษาธิการ และสถานศึกษา ได้คำนึงถึงการจัดการศึกษาด้วยรูปแบบที่ใช้ครอบครัวและผู้เรียนเป็นฐาน รูปแบบการจัดการศึกษาการจัดการเรียนการสอนจึงต้องมีความหลากหลายตามความต้องการจำเป็นทั้งนี้ต้องเลือกที่เหมาะสมกับบริบทของครอบครัวสภาพพื้นที่สภาพเศรษฐกิจกิจและสังคมรวมถึงศักยภาพของผู้เรียนเป็นหลัก การจัดหา Tablet PC เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนจึงมีความเหมาะสมและจำเป็นกับนักเรียนเพียงบางกลุ่มบางสถานศึกษาเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่นักเรียนที่เรียนในระบบออนไลน์ก็สามารถใช้เครื่องมือที่มีอยู่แล้วในการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ที่สถานศึกษาดำเนินการไปแล้ว” ปลัด ศธ.กล่าว


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก ไทยโพสต์ วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 


"ปลัดศธ." ชี้ "แท็บเล็ต" ยิ่งลักษณ์ ตกยุคแล้ว รองรับแอปฯใหม่ๆไม่ได้ หรือถ้าจะใช้ก็ต้องระดับมัธยมฯไม่ใช่ประถมปลัดศธ.ชี้แท็บเล็ตยิ่งลักษณ์ตกยุคแล้วรองรับแอปฯใหม่ๆไม่ได้หรือถ้าจะใช้ก็ต้องระดับมัธยมฯไม่ใช่ประถม

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 9 ราย เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 9 ราย เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567

เปิดอ่าน 4,767 ☕ 8 ต.ค. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สมศ.ขานรับนโยบาย "บิ๊กอุ้ม"  ภายใน 5 ปี ประเมินสถานศึกษาครบกว่า 5.8 หมื่นแห่ง
สมศ.ขานรับนโยบาย "บิ๊กอุ้ม" ภายใน 5 ปี ประเมินสถานศึกษาครบกว่า 5.8 หมื่นแห่ง
เปิดอ่าน 493 ☕ 19 พ.ย. 2567

คุรุสภาเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. ... และ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. ... ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2567
คุรุสภาเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. ... และ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. ... ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2567
เปิดอ่าน 665 ☕ 15 พ.ย. 2567

"สุเทพ" แนะศึกษาธิการจังหวัดสร้างศรัทธาในการทำงานพร้อมร่วมมือพันธมิตรในพื้นที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
"สุเทพ" แนะศึกษาธิการจังหวัดสร้างศรัทธาในการทำงานพร้อมร่วมมือพันธมิตรในพื้นที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
เปิดอ่าน 757 ☕ 15 พ.ย. 2567

ปฏิทินการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2568
ปฏิทินการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2568
เปิดอ่าน 3,352 ☕ 13 พ.ย. 2567

ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกระดับชาติเพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ประจำปี 2567
ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกระดับชาติเพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ประจำปี 2567
เปิดอ่าน 2,051 ☕ 13 พ.ย. 2567

สพฐ.แจ้งแนวทางการอนุญาตให้บุคลากรในสังกัดทำหน้าที่ผู้ประเมินคุณภาพภายนอก
สพฐ.แจ้งแนวทางการอนุญาตให้บุคลากรในสังกัดทำหน้าที่ผู้ประเมินคุณภาพภายนอก
เปิดอ่าน 948 ☕ 13 พ.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดโผ 15 อาชีพที่กำลังจะสาบสูญไปในอนาคต
เปิดโผ 15 อาชีพที่กำลังจะสาบสูญไปในอนาคต
เปิดอ่าน 37,313 ครั้ง

เศรษฐศาสตร์มนุษย์เงินเดือน
เศรษฐศาสตร์มนุษย์เงินเดือน
เปิดอ่าน 11,385 ครั้ง

สูตรสำเร็จเพิ่มความฉลาด
สูตรสำเร็จเพิ่มความฉลาด
เปิดอ่าน 10,715 ครั้ง

"โฉนดที่ดิน" เคลือบ เท่ากับ "ชำรุด"
"โฉนดที่ดิน" เคลือบ เท่ากับ "ชำรุด"
เปิดอ่าน 1,054 ครั้ง

เกมลับสมองกับการศึกษาและความสำเร็จอื่น ๆ
เกมลับสมองกับการศึกษาและความสำเร็จอื่น ๆ
เปิดอ่าน 12,584 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ