ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

สพฐ.ยกระดับสมรรถนะดิจิทัล (Digital Competency : DC) สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน


ข่าวการศึกษา 12 เม.ย. 2564 เวลา 06:43 น. เปิดอ่าน : 11,791 ครั้ง
Advertisement

สพฐ.ยกระดับสมรรถนะดิจิทัล (Digital Competency : DC) สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Advertisement

เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2564 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) พร้อมด้วยผู้บริหารของ สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 4/2564 ณ ห้องประชุม สพฐ. 1 อาคาร สพฐ. 4 ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ โดยมี นายเอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในการประชุม เพื่อหารือข้อราชการและติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานของ สพฐ. โดยมีหัวข้อการประชุมที่น่าสนใจ อาทิ การประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกสถานที่ (กพฐ. สัญจร) การดำเนินงานตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ความก้าวหน้าการพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน การกำหนดระดับสมรรถนะดิจิทัล (Digital Competency : DC) สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมถึงเรื่องของการรวมสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และการเลิกขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นต้น

ทั้งนี้ นายเอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธาน กพฐ. ได้กล่าวภายหลังการประชุมว่า วันนี้ที่ประชุมได้มีการหารือเรื่องการนำนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา ซึ่งก็ได้มีการพูดคุยกันว่า ต้องการให้แต่ละโรงเรียนมีคณะทำงานที่ดูแลเรื่องความเสี่ยงภายในสถานศึกษา ซึ่งโรงเรียนของเรายังขาดในเรื่องของคณะกรรมการด้านความเสี่ยงต่างๆ ทั้งในด้านความปลอดภัยของนักเรียน การคุกคาม การละเมิด การทะเลาะวิวาท หรือการกลั่นแกล้งรังแกกัน (Bully) ซึ่งหากเรามีคณะกรรมการด้านความเสี่ยงนี้ เมื่อมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ก็จะมีคณะกรรมการเหล่านี้คอยดูแลให้ เช่น การพาเด็กนักเรียนไปเข้าค่ายลูกเสือ คณะกรรมการก็จะมีการสอบถามครูผู้ดูแล ว่าสถานที่จัดกิจกรรมเป็นอย่างไร เหมาะสมหรือไม่ หากเกิดเหตุต่างๆ ทางโรงเรียนจะมีวิธีการรับมืออย่างไร โดยดูแลความเสี่ยงทุกประเภทที่จะเกิดขึ้นในสถานศึกษา เพื่อทำให้เด็กที่ไปโรงเรียนมีความปลอดภัย และมีความสุขในการเรียน

ต่อมาคือเรื่องของหลักสูตรฐานสมรรถนะ โดยเราได้พูดเรื่องของ Big Block ที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินงานข้อที่ 1 คือตัวชี้วัด หากเราไม่ปรับตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรมให้เห็นสมรรถนะชัดเจน ก็อาจจะเป็นตัวชี้วัดที่มากเกินความจำเป็น ซึ่งครูหลายคนมีความกังวลในส่วนนี้ โดยอาจทำให้เวลาที่จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้บางอย่าง ไม่สามารถทำการสอนได้ตามเนื้อหาที่ต้องการจะวัดในแต่ละคาบเรียน ทำให้ครูไม่กล้าที่จะสอนนอกแผนการจัดการเรียนรู้ได้มากนัก ข้อที่ 2 คือระบบการทดสอบ หากเรายังเน้นในเรื่องของการทดสอบอยู่ การที่จะทำให้ครูสนใจเรื่องสมรรถนะก็จะเป็นไปได้ยาก ข้อที่ 3 คือระบบการศึกษาต่อ เรายังขาดการเชื่อมโยงในระดับชั้นต่างๆ ทั้งในชั้น ม.1 ม.4 หรือ ม.6 เข้ามหาวิทยาลัย อย่างเช่นการคัดเลือกเด็กเข้าเรียนในชั้น ม.1 และ ม.4 จะคัดเลือกคนที่มีความรู้ทางวิชาการ แต่ไม่ได้วัดสมรรถนะทางด้านการคิด การสื่อสาร และการวิเคราะห์ เป็นการวัดผลทางวิชาการมากกว่าสมรรถนะที่เกิดขึ้นจริง และข้อที่ 4 คือการเข้าสู่วิทยฐานะของครูและบุคลากรทางการศึกษา หากครูต้องการเลื่อนวิทยฐานะเป็นชำนาญการหรือชำนาญการพิเศษ ก็จะเน้นที่การทำเอกสารเชิงวิชาการมากกว่า ซึ่งครูบางคนถนัดในเรื่องการเขียน แต่บางคนถนัดในเรื่องการลงมือทำมากกว่า ถึงแม้จะมีผลงานเชิงประจักษ์ที่ชัดเจนแต่ก็อาจเขียนได้ไม่ดีเท่าที่ทำจริงก็ได้ ที่ประชุมวันนี้จึงได้มีการพูดคุยกันในเรื่องดังกล่าว เพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป

“นอกจากนั้น ยังมีเรื่องของการกำหนดระดับสมรรถนะดิจิทัล (Digital Competency : DC) สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งร่างออกมาได้เป็น 3 ระดับ คือระดับขั้นพื้นฐาน ขั้นกลาง และขั้นสูง โดยขั้นพื้นฐานจะมี 3 ขั้น ขั้นกลาง 2 ขั้น ขั้นสูง 2 ขั้น รวมทั้งสิ้นเป็น 7 ขั้น ซึ่งในแต่ละระดับต้องมีสมรรถนะที่จำเป็นใน 3 ด้าน คือ ความรู้ ทักษะ และการประยุกต์ใช้ โดยทาง กพฐ. ได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา และทำการยกร่างตัวนี้จนเสร็จเรียบร้อย ต่อไปก็จะมีการกำหนดว่าในแต่ละระดับต้องมีสมรรถนะที่จำเป็นมากน้อยอย่างไร แล้วจะยกระดับขึ้นไปเรื่อยๆ ส่วนครูก็จะมี 2 กลุ่ม คือครูที่สอนทางด้านคอมพิวเตอร์และครูที่สอนวิชาทั่วไป ซึ่งหากสามารถทำได้ก็จะช่วยให้ครูในปัจจุบันและครูในอนาคต อย่างเช่นคณะครุศาสตร์หรือคณะศึกษาศาสตร์ที่ผลิตครู สามารถจัดเตรียมนักศึกษาที่เรียนทางด้านครู ให้มุ่งเน้นเข้าไปสู่ทักษะดังกล่าวนี้ได้เลย และยังสามารถเข้ารับการทดสอบที่ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (ศูนย์ HCEC) ของกระทรวงศึกษาธิการได้ และหากเป็นครูที่ยังเรียนอยู่ในระบบยังไม่จบปริญญาตรี สามารถไปเข้ารับการทดสอบแล้วเชื่อมโยงระดับกับวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาของคุรุสภาได้ หากผ่านการทดสอบของกระทรวงฯแล้ว ไม่จำเป็นต้องสอบของคุรุสภาซ้ำอีก สามารถใช้แทนกันได้เลย” ประธาน กพฐ. กล่าว

 

ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 


สพฐ.ยกระดับสมรรถนะดิจิทัล (Digital Competency : DC) สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสพฐ.ยกระดับสมรรถนะดิจิทัล(DigitalCompetency:DC)สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา และที่แก้ไขเพิ่มเติม

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา และที่แก้ไขเพิ่มเติม

เปิดอ่าน 357 ☕ 23 พ.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เปิดอ่าน 677 ☕ 23 พ.ย. 2567

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เปิดอ่าน 608 ☕ 23 พ.ย. 2567

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เปิดอ่าน 188 ☕ 23 พ.ย. 2567

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เปิดอ่าน 357 ☕ 23 พ.ย. 2567

นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569
นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569
เปิดอ่าน 2,622 ☕ 22 พ.ย. 2567

ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
เปิดอ่าน 629 ☕ 22 พ.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องที่ 2...ฝีมือกระจ๋องหรองแหรง
หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องที่ 2...ฝีมือกระจ๋องหรองแหรง
เปิดอ่าน 15,722 ครั้ง

ประหยัดน้ำมันทำยังไง
ประหยัดน้ำมันทำยังไง
เปิดอ่าน 9,866 ครั้ง

เกร็ดความรู้ "อนุสาวรีย์ชัยฯ"
เกร็ดความรู้ "อนุสาวรีย์ชัยฯ"
เปิดอ่าน 23,787 ครั้ง

อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว
เปิดอ่าน 9,674 ครั้ง

10 อันตรายทลายโลก จากเทคโนโลยี
10 อันตรายทลายโลก จากเทคโนโลยี
เปิดอ่าน 14,329 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ