สพฐ.เตรียมพร้อมเปิดเรียน 1 ก.พ.นี้ ย้ำโรงเรียนระวังความเหลื่อมล้ำการออกข้อสอบ
วันที่ 20 มกราคม 2564 เวลา 09.00 น. นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน( เลขาธิการ กพฐ. ) กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมผู้บริหารระดับสูง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ว่า เป็นการประชุมเพื่อขับเคลื่อนและเร่งรัดงาน และการจัดทำคำของบประมาณ ปี 2565 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งต้องการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพชุมชน โรงเรียนดีสี่มุมเมือง และโรงเรียนสแตนอโลน โดยให้ปรับงบประมาณ ปี 2565 ให้สัมพันธ์กับนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงเรื่องเร่งรัดการดำเนินการเบิกจ่าย และการดำเนินงานตามแผนงานปี 2564 ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนด
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวว่า ในฐานะที่ สพฐ.เป็นกน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบโดยตรงในการพัฒนาโรงเรียนสแตนอโลน โรงเรียนดีสี่มุมเมือง และโรงเรียนคุณภาพชุมชน สพฐ.จึงแบ่งงานและมอบหมายภาระกิจให้กับผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญที่จะจัดส่งบุคลากรลงไปช่วยขับเคลื่อนในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับจังหวัด เพื่อก่อนที่คณะทำงานของรัฐมนตรีว่าการ ศธ.จะลงไปติดตามความเป็นไปได้และความเหมาะสมของโรงเรียนทั้ง 3 แบบ สพฐ.จึงจะส่งบุคลากรลงไปช่วยเหลือติดตามเบื้องต้นก่อน
นายอัมพร กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ได้หารือจากปัญหาที่คุณครูมีภาระงานอื่นที่ไม่ใช่งานสอนอยู่จำนวนมากนั้น ดังนั้น เพื่อลดภาระของคุณครู สพฐ.จึงได้จัดทำรูปแบบการพัฒนางาน หรือการปรับปรุงงานเร่งด่วน เพื่อจะลดภาระงานครูทั้งระบบ ตั้งแต่ลดภาระงานของเขตพื้นที่การศึกษา ลดภาระงานโรงเรียน และลดภาระงานของคุณครู โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คุณครูมีเวลาจัดการเรียนการสอนได้มากขึ้น
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวถึงการเตรียมการเปิดภาคเรียนในวันที่ 1 ก.พ.นี้ กับเรื่องการเตรียมการสอบของนักเรียนระดับต่าง ๆ ส่วนเรื่องการเปิดภาคเรียนนั้น หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 มีแน้วโน้มที่ดีขึ้น และทางศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)มีมติเห็นชอบว่าให้โรงเรียนเปิดการเรียนการสอนได้ สพฐ.ก็พร้อมเปิดเรียนในวันที่ 1 ก.พ.นี้
“วันนี้ ผมก็สื่อสารไปถึงโรงเรียนทุกแห่งแล้วว่าให้เตรียมการทำความสะอาดโรงเรียน หรือออกแบบมาตรการรองรับในการเปิดภาคเรียนในวันที่ 1. ก.พ.นี้ ส่วนรูปแบบการเปิด สพฐ.ก็ให้ทางเลือกโรงเรียนไว้หลายทาง เช่น 1. กรณีโรงเรียนที่สอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึง ม.6 แต่ถ้าเปิดไม่ได้ทั้งหมด ก็อยากให้โรงเรียนเปิดสำหรับเด็กเล็กก่อน เพราะเด็กเล็กยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ต้องอาศัยครูดูแล เพื่อแบ่งเบาภาระให้ผู้ปกครองไปทำงาน แต่ถ้าเปิดได้ทุกระดับชั้น ก็ให้เปิดเรียนได้ในวันที่ 1 ก.พ. โดยให้คำนึงถึงประกาศของ ศบค.แต่ละจังหวัดเป็นฐานในการตัดสินใจ สำหรับในส่วนของครูมีความพร้อมแล้ว เว้นแต่จังหวัดหรือพื้นที่ใด ศบค.ยังห้ามอยู่ก็ขอให้โรงเรียนถือปฏิบัติตาม ศบค.ต่อไป”
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า เนื่องจากผู้ปกครองมีความห่วงใยเรื่องการสอบต่าง ๆของผู้เรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 จะมีการจัดสอบอย่างไร นั้น ขอชี้แจงว่า สพฐ.ได้เตรียมการจัดสอบในปีนี้ออกเป็น 2 ส่วน คือการทดสอบ ซึ่งเป็นอำนาจของโรงเรียน หรือเรียกว่าการทดสอนระดับสถานศึกษา เช่น สอบกลางภาค และสอบปลายภาค เพื่อเลื่อนชั้น โดยการสอบปลายภาคนั้น โรงเรียน คุณครูจะเป็นผู้กำหนดเองว่าจะสอบวันไหน และเครื่องมือวัดก็ไม่ได้ใช้แบบทดสอบ อาจจะใช้เป็นใบงานเพื่อมอบหมายงานให้ทำส่งชิ้นงาน ก็สามารถทำได้ แต่ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานตัวชี้วัดแต่ละวิชา ส่วนการสอบปลายภาค และการสอบเลื่อนชั้นนั้น ปีนี้ สพฐ.ออกประกาศว่าไม่เอาคะแนนทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ (O-NET)
มาตัดสินผลการเรียนแล้ว และให้นักเรียน ป.6 และ ม.3 สอบโอเน็ตตามความสมัครใจ โดยให้ถือเป็นสิทธิส่วนตัวโดยเฉพาะของนักเรียน ดังนั้นโรงเรียนสามารถกำหนดการสอบปลายภาคได้เอง ว่าจะใช้การทดสอบแบบไหน อาจจะใช้แบบทดสอบ ที่ สพฐ.ทำไว้ส่วนกลาง หรือโรงเรียนจะออกแบบทดสอบเอง หรือจะประเมินด้วยวิธีอื่นก็ได้
"มีหลายคนถามว่า ให้นักเรียนเลื่อนชั้นเลยโดยไม่ต้อประเมินได้หรือไม่นั้น สพฐ.ตอบตรงๆเลยว่าให้นักเรียนเลื่อนชั้นได้ แต่ต้องมีการประเมิน แต่วิธีการประเมินไม่ต้องใช้แบบทดสอบเสมอไป อาจจะใช้วิธีประเมินหลายๆอย่างในการวัดและประเมิผล และผู้ปกครองก็ไม่ต้องกังวลว่าลูกไม่ได้เรียนแล้วลูกจะไม่ได้เลื่อนชั้น
เพราะการประเมินนักเรียนต้องประเมินตามศักยภาพ ของนักเรียนแต่ละคนเป็นสำคัญ โดยไม่ต้องยึดมาตรฐานกลาง เพราะวันนี้ยึดมาตรฐานกลางไม่ได้ เนื่องจากนักเรียนไม่ได้เรียนเท่ากัน และเครื่องมือที่ใช้เรียนก็ไม่เหมือนกัน ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ดังนั้น จึงให้โรงเรียนดูที่พัฒนาการของนักเรียนเป็นรายบุคคลเป็นหลัก" นายอัมพร กล่าว
นายอัมพร กล่าวต่อว่า ส่วนการสอบโอเน็ตของนักเรียนชั้น ม.6 ที่กำหนดให้นักเรียน ม.6 เข้าสอบทุกคน โดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) กำหนดจัดสอบ ในวันที่ 27-28 มีนาคม นี้ ซึ่งตนคาดว่าในช่วงเวลานั้นสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะเบาบางลงแล้วและสามารถจัดสอบได้ เว้นแต่จะมีวิกฤต และมีการเปลี่ยงแปลงเกิดขึ้น ทุกหน่วยงานก็จะหารือกันอีกครั้ง ส่วนนักเรียน ป.6 และ ม.3 ที่สมัครใจจะทำการทดสอบโอเน็ต เพื่อให้ทราบว่าตนเองมีองค์ความรู้อยู่ระดับใดนั้น ก็ต้องให้โอกาสนักเรียน โดย สทศ.กำหนดให้ สพฐ.แจ้งนักเรียนที่ประสงจะสอบโอเน็ต ให้สมัครผ่านระบบออนไลน์ โดยให้คุณครูช่วยดำเนินการดูแลให้ และให้กรอกข้อมูลให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 5 ก.พ.นี้
“ผมไม่อย่ากให้ผู้ปกครองนักเรียนที่อยู่ในเขต 28 จังหวัด ที่ไปสอบแข่งขั้นจังหวัดอื่นๆกลัวจะเกิดความเหลื่อมล้ำกับเพื่อนที่อยู่ในจังหวัดอื่น หรือกลัวไม่ได้เลื่อนชั้น ผมขอแจ้งว่าจะไม่มีผลต่อการเลื่อนชั้นของนักเรียน ส่วนการสอบเข้า ม.1 ,ม.4 ผมได้รับนโยบายจาก รัฐมนตรีว่าการ ศธ. ที่มีความห่วงใยเนื่องจากนักเรียนในแต่ละจังหวัดเรียนไม่เท่ากันเกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เพราะโรงเรียนแข่งขันสูง ออกข้อสอบโดยไม่คำนึงถึงความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา จึงเกรงว่าจะเกิดปัญหาเกิดผมจึงสื่อสารไปยังโรงเรียนต่างๆ ว่า หากโรงเรียนใดมีการทดสอบเพื่อรับนักเรียนเข้าเรียน ก็ให้พยายามหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นความรู้ในเทอมสุดท้ายนี้ เช่น การสอบเข้า ม.1 โรงเรียนไม่จำเป็นต้องเอาเนื้อหาเทอมปลายของ ป.6 มาออกข้อสอบ อาจจะอิ่งเนื้องหาของ ป.4,ป.5 หรือความรู้ของ ป.6ในเทอม 1 มาออก เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำกับนักเรียนที่มีการเรียนแตกต่างกัน ส่วนการสอบเข้า ม.4 ก็ไม่จำเป็นต้องเแาเนื้อหาเทอมปลายของ ม.3 มาออกข้อสอบ ให้เอาเนื้อหาในข่วงชั้น ม.1,ม.2 และเทอมแรกของ ม.3 มาออกข้อสอบ ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีความเท่าเทียมกัน และเพื่อลดความเครียดความวิตกกังวลของผู้ปกครองและนักเรียน” เลขาธิการกพฐ. กล่าว
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก แนวหน้า วันพุธ ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2564