18 มกราคม 2564 ที่หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวตอนหนึ่งในการมอบนโยบายแผนบูรณาการด้านการศึกษาทั่วประเทศเป็นนโยบายกลักในป่ 2564 โดยมีเป้าหมายเพื่อพลิกการศึกษาทุกตารางนิ้วของประเทศ ด้วยการบริหารตัดการที่มีประสิทธิภาพเชื่อมโยงทั้งองค์กร อิงแผนยัทธศาสตร์ประเทศ 20 ปี เน้นความสอดคล้องบริบทของแต่ละจังหวัด ให้กับผู้บริหารระดับสูงและศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ทั่วประเทศ ว่า จากที่ตนดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ ศธ. มา 18 เดือน ได้ลงพื้นที่ ได้เห็นปัญหาครบวงจรและได้รับทราบข้อมูลการศึกษาที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา เราอย่าไปสนใจว่าในอดีตการศึกษาเป็นอย่างไร เราต้องสนใจว่าจะเตรียมเยาชนในปัจจุบันให้มีความพร้อมสำหรับอนาคตได้อย่างไร ซึ่งทุกการเปลี่ยนแปลงจะเกี่ยวข้องกับงบประมาณ ที่ต้องดำเนินการ ซึ่งหลายคนบอกว่า ศธ.เป็นกระทรวงที่ได้งบจำนวนมาก แต่เมื่อตนได้ดูการใช้งบย้อนหลัง 3 ปี พบว่าการใช้งบยังไม่สามารถบริหารจัดการงบฯได้ตรงจุด ตรงความต้องการกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
นายณัฏฐพล กล่าวต่อว่า ธนาคารโลก ได้วิจัยออกมาว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ทำให้การศึกษาเกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้น เราต้องนำเทคโนโลยีมาเชื่อมโยงการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน พร้อมกับลงทุนพัฒนาครู โดยการฝึกอบรมความรู้ทางด้านวิชาชีพ และรัฐจะต้องลงทุนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา ต้น โดยมีแผนบรูณาการพัฒนาโรงเรียน 3 รูปแบบ คือ 1.เพิ่มคุณภาพให้โรงเรียนสแตนอโลน ในสังกัด สพฐ. ที่มีประมาณกว่า 1 พันแห่ง ให้มีคุณภาพ 2.ยกระดับคุณภาพโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง โดยพัฒนาโรงเรียนมัธยมให้มีคุณภาพเท่ากับโรงเรียนในตัวเมืองเพื่อกระจายนักเรียนลดความแออัดในโรงเรียน และ 3.สร้างโรงเรียนคุณภาพให้ชุมชน โดยการเลือกโรงเรียนและทุ่มงบพัฒนาเพื่อดึงดูดนักเรียนจากโรงเรียนโดยรอบให้เข้ามาเรียน ซึ่งการสร้างโรงเรียนของชุมชนเป็นการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กไปในตัว แต่จะต้องพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพ
"วันนี้เป็นการรวมพลังครั้งนิ่งใหญ่ของทุกหน่วยงานใน ศธ.เพื่อวางแผนร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนการสร้างโรงเรียนที่มีคุณภาพในทุกจังหวัด เพื่อเป็นการยกระดับสร้างโอกาส และยกระดับรายได้ของจังหวัดผ่านการศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องยาก แต่เราคำนึงถึงความต้องการของตลาด และความต้องการของประเทศ จึงค้องวางแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอีก 5-10 ปีนี้ จึงต้องวางแผนให้ผู้บริหารประเทศเห็นว่าถ้าต้องการยกระดับรายได้ของแต่ละจังหวัด ถ้าต้องการยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศ จะต้องใช้งบประมาณและระยะเวลาเท่าไหร่ โดยผมจะนำเสนอแผนนี้ให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นแผนนี้ต่อไป เพื่อให้ผู้บริหารประเทศเห็นภาพการศึกษา โดยยกแนวทางการพัฒนาโรงเรียนใน จ.ภูเก็ต เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าในโรงเรียนที่แตกต่างกันควรจะจัดสรรงบประมาณแบบไหน เพื่อให้มีความพร้อม ศธ.มีความจำเป็นต้องวางแผนให้เห็นชัด ๆเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา หากทำทุกอย่างเดินตามแผนนี้ได้ คาดว่าสิ้นปีงบประมาณ 2565 จะเห็นโรงเรียนตัวอย่างในพื้นที่ จ.ภูเก็ต และในงบปี 2565 ศธ.ได้วางรากฐานการใช้งบในแต่ละจังหวัดแล้ว และในปี 2565 จะเริ่มทำในทุก ๆจังหวัด ส่วนการดำเนินการคาดว่าในจังหวัดเล็ก ๆ จะใช้เวลาวางแผน 1 เดือน จังหวัดขนาดกลางใช้เวลาวางแผน 2 เดือน ส่วนจังหวัดขนาดใหญ่ จะทำแผนพัฒนาให้เสร็จภายใน 3 เดือน
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก แนวหน้า วันจันทร์ ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2564