"อำนาจ" เผย เตรียมนัดคุย อว.กำหนดสเปกครูยุคใหม่ ชี้ ในอนาคตการสอบบรรจุครูจะต้องใช้ข้อสอบภาค ก.ของก.พ. เพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกันกับข้าราชการทั่วประเทศ
เมื่อวันที่ 9 มี.ค.ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ตนได้รับทราบว่านายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ และ นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ได้เสนอรายชื่อคณะกรรมการวางแผนการผลิตและพัฒนาครู ให้ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้ว ซึ่งขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เห็นว่าไม่ควรจะรอคณะกรรมการฯชุดใหญ่ แต่ทั้งสองกระทรวงสามารถทำงานคู่ขนานร่วมกันไปพลางก่อน
โดยตนได้ประสานไปยังนายสรนิต ศิลธรรม ปลัดอว.เพื่อประชุมคณะทำงานวางแผนการผลิตครูชุดเล็กที่ประกอบไปด้วยตัวแทนจาก สพฐ. คุรุสภา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเร็วๆนี้ ซึ่งสพฐ.จะเสนอความต้องอยากได้ครูที่มีมาตรฐานความรู้ที่มีทักษะภาษาอังกฤษ เทคโนโลยี และดิจิทัล รวมถึงจะต้องมีความรู้เรื่องการสอนแบบคละชั้นในรูปแบบโรงเรียนขนาดเล็ก ดังนั้นสถาบันผลิตครูจะต้องปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนขนาดเล็กด้วย
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ตนคิดว่ามีแรงจูงใจให้ได้คนเก่งมาเป็นครูอยู่แล้ว เนื่องจากข้าราชการครูที่มีอายุ 30-40 ปีมีอัตราเงินเดือนรวมค่าวิทยฐานะอยู่ที่ประมาณ 40,000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับข้าราชการหน่วยงานอื่น รวมถึงในอนาคตคนที่สนใจจะเป็นครูสามารถวางแผนได้ว่าอยากจะบรรจุไปในโรงเรียนใด
โดย สพฐ.จะประกาศโรงเรียนที่มีอัตราครูว่างให้ครูไปเลือกสอบในโรงเรียนที่ต้องการจะไปบรรจุ เพราะการสอบบรรจุข้าราชการครูในอนาคตผู้สอบจะต้องผ่านเกณฑ์การทดสอบภาค ก. ของสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ก่อน ซึ่งเรื่องนี้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อจะได้เป็นมาตรฐานเดียวกันกับข้าราชการทั่วประเทศ
“สำหรับการให้ครูเลือกสอบบรรจุโรงเรียนเองผมคิดว่ามีข้อดี และสามารถแก้ไขปัญหาได้หลายอย่าง เช่น คนที่เรียนครูสามารถวางแผนได้ว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะไปบรรจุอยู่ที่ไหน รวมถึงแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครู อีกทั้งจะทำให้การทำงานของครูมีความต่อเนื่อง เพราะตัวเองได้เลือกโรงเรียนที่ต้องการอยากจะอยู่โดยไม่ต้องขอย้ายไปย้ายมาอีก” ดร.อำนาจ กล่าว
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2563
เป็นครูต้องผ่านสอบภาค ก ของ ก.พ.
เมื่อวันที่ 9 มี.ค. ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ตนได้รับทราบว่านายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ และนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ได้เสนอรายชื่อคณะกรรมการวางแผนการผลิตและพัฒนาครู ให้ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้ว ซึ่งขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เห็นว่าไม่ควรจะรอคณะกรรมการฯ ชุดใหญ่ แต่ทั้งสองกระทรวงสามารถทำงานคู่ขนานร่วมกันไปพลางก่อนได้ โดยตนได้ประสานไปยังนายสรนิต ศิลธรรม ปลัด อว.เพื่อประชุมคณะทำงานวางแผนการผลิตครูชุดเล็กที่ประกอบไปด้วยตัวแทนจาก สพฐ. คุรุสภา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเร็วๆ นี้ ซึ่ง สพฐ.จะเสนอความต้องการว่าอยากได้ครูที่มีมาตรฐานความรู้ที่มีทักษะภาษาอังกฤษ เทคโนโลยีและดิจิทัล รวมถึงมีความรู้เรื่องการสอนแบบคละชั้นในรูปแบบโรงเรียนขนาดเล็ก ดังนั้นสถาบันผลิตครูต้องปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนขนาดเล็กด้วย
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวอีกว่า ปัจจุบันคนที่เข้ามาเป็นข้าราชการครูที่มีอายุ 30-40 ปี จะมีอัตราเงินเดือนรวมค่าวิทยฐานะอยู่ที่ประมาณ 40,000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับข้าราชการหน่วยงานอื่น รวมถึงในอนาคตคนที่สนใจจะเป็นครูยังวางแผนไปบรรจุเป็นครูในโรงเรียนใดได้ด้วย โดย สพฐ.จะประกาศโรงเรียนที่มีอัตราว่างให้ครูเลือกไปสอบในโรงเรียนที่ต้องการจะไปบรรจุ จึงน่าจะสร้างแรงจูงใจให้คนเก่งเข้าสู่อาชีพครูมากขึ้น ที่สำคัญในอนาคตการสอบเป็นข้าราชการครู ผู้สอบจะต้องผ่านเกณฑ์การทดสอบภาค ก ของสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ก่อน ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อจะได้เป็นมาตรฐานเดียวกันกับข้าราชการทั่วประเทศ ทำให้คนที่จะเข้าสู่ตำแหน่งข้าราชการครูยิ่งได้รับการกลั่นกรองอย่างเข้มงวดขึ้น
“การให้ครูเลือกสอบบรรจุโรงเรียนเองมีข้อดี ซึ่งจะแก้ไขปัญหาได้หลายอย่าง เช่น คนที่เรียนครูสามารถวางแผนได้ว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะไปบรรจุอยู่ที่ไหน รวมถึงแก้ไขปัญหาขาดแคลนครู ทั้งจะทำให้การทำงานของครูมีความต่อเนื่อง ไม่ขอย้ายไปย้ายมาอีก” ดร.อำนาจกล่าว.
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก ไทยรัฐ วันที่ 10 มีนาคม 2563