นายรัชชัยย์ ศรสุวรรณ นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย ( ส.บ.ม.ท.) เปิดเผยว่าตามที่สมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย ได้เรียกร้องไปที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการขอให้ลงนามประกาศจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษาให้ครบทุกจังหวัดเพื่อเป็นการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและแก้ปัญหาในเรื่องการเดินทางติดต่อราชการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการปฏิบัติตามมติของสภาการศึกษาที่ให้ ศธ ประกาศจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษาให้ครบทุกจังหวัด
อย่างไรก็ตาม ส.บ.ม.ท. ได้รับทราบมาว่า กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สพฐ ได้มีบันทึกลงวันท่ี 25 กุมภาพันธ์ 2563 เสนอผู้มีอำนาจเกี่ยวกับเรื่องแนวทางการเพิ่มเขตพื้นที่การศึกษาโดยเสนอให้มีการจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเป็น 62 เขต โดยมีเขตพื้นท่ีการศึกษาที่มิได้รับการเสนอให้เป็นเขตจังหวัดมีดังนี้
1. สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดชลบุรี ระยอง โดยจังหวัดชลบุรีมีโรงเรียนจำนวน 31 โรงเรียน จังหวัดระยอง มีโรงเรียนจำนวน 19โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นท่ีตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ระยะทางระหว่างจังหวัดชลบุรี- จังหวัดระยอง 94 กิโลเมตร
2. สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดจันทบุรี ตราด โดยจังหวัดจันทบุรี มีโรงเรียนจำนวน 23 โรงเรียน จังหวัดตราดมีโรงเรียนจำนวน 16โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นท่ีตั้งอยู่ที่จังหวัดจันทบุรี ระยะทางระหว่างจังหวัดจันทบุรี - ตราด 68.7 กิโลเมตร
3. สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดชุมพร ระนอง โดยจังหวัดชุมพรมีโรงเรียนจำนวน 22โรงเรียน จังหวัดระนอง มีโรงเรียนจำนวน 7 โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นท่ีตั้งอยู่ที่จังหวัดชุมพร ระยะทางระหว่างจังหวัดระนอง - จังหวัดชุมพร 125 กิโลเมตร
4. สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาจังหวัด เชียงราย พะเยา โดยจังหวัดเชียงราย มีโรงเรียนจำนวน 41 โรงเรียน จังหวัดพะเยา มีโรงเรียนจำนวน 18 โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นท่ีตั้งอยู่ที่จังหวัด เชียงราย ระยะทางระหว่างพะเยา - เชียงราย 103 กิโลเมตร
5. สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดตรัง กระบี่ โดยจังหวัดตรัง มีโรงเรียนจำนวน 28 โรงเรียน จังหวัดกระบี่ มีโรงเรียนจำนวน 16 โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นท่ีตั้งอยู่ที่จังหวัด ตรังระยะทางระหว่างจังหวัดกระบี่ - จังหวัดตรัง 125 กิโลเมตร
6. สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี นครนายก โดยจังหวัดปราจีนบุรี มีโรงเรียนจำนวน 19 โรงเรียน จังหวัดนครนายก มีโรงเรียนจำนวน 11โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นท่ีตั้งอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี ระยะทางระหว่างจังหวัดนครนายก - จังหวัดปราจีนบุรี 60 กิโลเมตร
7. สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดพังงา ภูเก็ต โดยจังหวัดพังงา มีโรงเรียนจำนวน 13 โรงเรียน จังหวัดภูเก็ต มีโรงเรียนจำนวน 7 โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นท่ีตั้งอยู่ที่จังหวัด พังงา ระยะทางระหว่างภูเก็ต - พังงา 87 กิโลเมตร
8. สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดพัทลุง สตูล โดยจังหวัดพัทลุง มีโรงเรียนจำนวน 27 โรงเรียน จังหวัดสตูล มีโรงเรียนจำนวน 12 โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นท่ีตั้งอยู่ที่จังหวัดพัทลุง ระยะทางระหว่างจังหวัดสตูล - พัทลุง 129 กิโลเมตร
9. สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ โดยจังหวัดแพร่ มีโรงเรียนจำนวน 16 โรงเรียน จังหวัดอุตรดิตถ์ มีโรงเรียนจำนวน 18 โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นท่ีตั้งอยู่ที่จังหวัด แพร่ ระยะทางระหว่าง จังหวัดอุตรดิตถ์ - จังหวัดแพร่ 73 กิโลเมตร
10. สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดยโสธร อำนาจเจริญ โดยจังหวัดยโสธร มีโรงเรียนจำนวน 27 โรงเรียน จังหวัดอำนาจเจริญ มีโรงเรียนจำนวน 22 โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นท่ีตั้งอยู่ที่จังหวัดยโสธร ระยะทางระหว่าง จังหวัดอำนาจเจริญ- จังหวัดยโสธร 56 กิโลเมตร
11. สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาจังหวัด ลำปาง ลำพูนโดยจังหวัดลำปางมีโรงเรียนจำนวน 30โรงเรียน จังหวัดลำพูน มีโรงเรียนจำนวน 15โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นท่ีตั้งอยู่ที่จังหวัดลำปาง ระยะทางระหว่างจังหวัดลำปาง - จังหวัดลำพูน 73 กิโลเมตร
12. สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาจังหวัด เลย หนองบัวลำพู โดยจังหวัดเลย มีโรงเรียนจำนวน 31โรงเรียน จังหวัดหนองบัวลำพู มีโรงเรียนจำนวน 21 โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นท่ีตั้งอยู่ที่จังหวัดเลย ระยะทางระหว่างจังหวัดเลย - จังหวัดหนองบัวลำพู 98 กิโลเมตร
13. สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงครามโดยจังหวัดสมุทรสาคร มีโรงเรียนจำนวน 11 โรงเรียน จังหวัดสมุทรสงคราม มีโรงเรียนจำนวน 9โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นท่ีตั้งอยู่ที่จังหวัดสมุทรสาคร ระยะทางระหว่างจังหวัดสมุทรสาคร - จังหวัดสมุทรสงคราม 37 กิโลเมตร
14. สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง โดยจังหวัดสิงห์บุรี มีโรงเรียนจำนวน 12 โรงเรียน จังหวัดอ่างทองมีโรงเรียนจำนวน 14 โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นท่ีตั้งอยู่ที่จังหวัดสิงห์บุรี ระยะทางระหว่างจังหวัดสิงห์บุรี - อ่างทอง 40 กิโลเมตร
15. สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาจังหวัด หนองคาย บึงกาฬโดยจังหวัดหนองคาย มีโรงเรียนจำนวน 31โรงเรียน จังหวัดบึงกาฬ มีโรงเรียนจำนวน 25 โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นท่ีตั้งอยู่ที่จังหวัดหนองคาย ระยะทางระหว่างจังหวัดหนองคาย - จังหวัดบึงกาฬ 136 กิโลเมตร
16. สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท โดยจังหวัดอุทัยธานี มีโรงเรียนจำนวน 21โรงเรียน จังหวัดชัยนาทมีโรงเรียนจำนวน 13โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นท่ีตั้งอยู่ที่จังหวัดอุทัยธานี ระยะทางระหว่างจังหวัดชัยนาท- อุทัยธานี 33 กิโลเมตร
จากข้อมูลดังกล่าวเห็นว่าเป็นความกรุณาของกระทรวงศึกษาธิการที่รับฟังความคิดเห็นของสมาคมซึ่งมีสมาชิกเป็นผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาทั้งประเทศ ข้อเสนอแนะให้เพิ่มเขตพื้นท่ีการศึกษาเป็นเขตจังหวัดก็มาจากความเดือดร้อนของนักเรียน ผู้ปกครองและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องความไม่สะดวกในการเดินทางการติดต่อราชการ และความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของนักเรียน การเรียกร้องครั้งนี้มิได้เกิดประโยชน์ใดที่เป็นการส่วนตัวของสมาชิก ส.บ.ม.ท. แต่อย่างใด
อย่างไรก็ตามการที่กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สพฐ ได้เสนอให้มีการลงนามประกาศเพิ่มเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษา โดยมิได้มีการเสนอให้เพิ่มเป็นเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาให้ครบทุกจังหวัดและยังมีการเปลี่ยนแปลงการจับคู่จังหวัดใหม่นั้น เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่เสร็จสิ้นและการจับคู่จังหวัดใหม่ก็ยังเป็นการเพิ่มปัญหาใหม่ขึ้นมาอีก โดยมีข้อมูลข้อเท็จจริง ดังนี้
จังหวัดที่ได้รับการเสนอให้เป็นเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัด แม้มีจำนวนโรงเรียนไม่มากนักมีดังนี้
1. จังหวัดตาก มีโรงเรียนจำนวน 20 โรงเรียน
2. จังหวัดนนทบุรี มีโรงเรียนจำนวน 18 โรงเรียน
3. จังหวัดนราธิวาส มีโรงเรียน จำนวน 17โรงเรียน
4. จังหวัดปทุมธานี มีโรงเรียนจำนวน 22 โรงเรียน
5. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีโรงเรียนจำนวน 18 โรงเรียน
6. จังหวัดปัตตานี มีโรงเรียนจำนวน 17 โรงเรียน
7. จังหวัดเพชรบุรี มีโรงเรียนจำนวน 22 โรงเรียน
8. จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีโรงเรียนจำนวน 8 โรงเรียน
9. จังหวัดยะลา มีโรงเรียนจำนวน 12 โรงเรียน
10. จังหวัดสมุทรปราการ มีโรงเรียนจำนวน 25 โรงเรียน
11. จังหวัดสระแก้ว มีโรงเรียนจำนวน 17 โรงเรียน
12. จังหวัดสระบุรี มีโรงเรียนจำนวน 21 โรงเรียน
จากข้อมูลดังกล่าวเห็นได้ว่าจังหวัดอื่นๆที่มิได้รับการเสนอให้แยกเป็นเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดล้วนแล้วแต่มีจำนวนโรงเรียนไม่น้อยกว่าจังหวัดที่ได้รับการเสนอให้แยกเป็นเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาจังหวัด นอกจากนี้จากข้อมูลการเสนอให้รวมสองจังหวัดเป็นหนึ่งเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในหลายจังหวัดก็มีปัญหาในทางปฏิบัติดังนี้คือ
1. กรณีการรวมจังหวัดสตูลกับจังหวัดพัทลุง เป็นเขตเดียวกันนั้นจะเห็นได้ว่าอัตลักษณ์ และวัฒนธรรม ของทั้งสองจังหวัดแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ไม่มีรถประจำทางระหว่างจังหวัดพัทลุงและจังหวัดสตูล
2. กรณีการรวมจังหวัดหนองคายและจังหวัดบึงกาฬ เป็นเขตพื้นท่ีเดียวกันนั้นมีปัญหาที่พื้นท่ีในการเดินทางยาวมาก เรียบฝั่งแม่น้ำโขง จากที่ตั้งสำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาที่มีการกำหนดไว้ถึงโรงเรียนสุดท้ายมีระยะทางไกลถึง 220 กิโลเมตร
3. กรณีการรวมจังหวัดอุทัยธานีและจังหวัดชัยนาท เป็นเขตพื้นท่ีเดียวกันนั้นมีปัญหาคือจังหวัดอุทัยธานีเป็นจังหวัดที่มีวัฒนธรรมของและอัตลักษณ์ของภาคเหนือ แต่จังหวัดชัยนาทมีวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของภาคกลาง ซึ่งมีความแตกต่างกัน การจัดกลุ่มจังหวัดในทางปกครองของจังหวัดอุทัยธานีถือเป็นกลุ่มจังหวัดทางภาคเหนือ แต่จังหวัดชัยนาทจัดเป็นภาคกลาง นอกจากนี้จังหวัดอุทัยธานีก็มีโรงเรียนจำนวน 21โรงเรียน ซึ่งมีจำนวนมากพอที่จะแยกเป็นเขตจังหวัดได้ รวมถึงจังหวัดชัยนาทแม้จะมีโรงเรียนเพียง 13 โรงเรียน แต่หากเทียบจำนวนโรงเรียนกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดยะลา ก็น่าจะแยกเป็นเขตจังหวัดได้
4 กรณีการรวมจังหวัดแพร่และจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นเขตพื้นท่ีเดียวกันนั้นมีปัญหาคือทั้งสองจังหวัดมีพหุวัฒนธรรม สภาพภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันมาก และทั้งสองจังหวัดก็มีจำนวนโรงเรียนมากพอที่จะตั้งเป็นเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดได้หากเปรียบเทียบกับจังหวัดอื่นๆที่ได้รับการพิจารณาเสนอให้เป็นเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาจังหวัด อีกทั้งระยะทางจากที่ตั้งสำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดแพร่ กับโรงเรียนสุดท้ายในจังหวัดอุตรดิตถ์มีระยะทางไกลร่วมสองร้อยกิโล
5. กรณีการรวมจังหวัดเชียงรายและจังหวัดพะเยา เป็นเขตพื้นท่ีเดียวกันนั้นมีปัญหาคือจังหวัดเชียงรายมีจำนวนโรงเรียนมากถึง 41 โรงเรียน และโรงเรียนในจังหวัดพะเยา มีจำนวน 18 โรงเรียน รวมเป็น 59 โรงเรียนซึ่งมีจำนวนมากเกินไปนอกจากนี้เส้นทางจากจังหวัดเชียงรายไปที่โรงเรียนที่มีที่ตั้งอยู่ที่อำเภอเชียงคำ ก็เป็นเส้นทางเลียบภูเขาสูงมีความยากลำบากในการเดินทาง และจังหวัดพะเยาก็ได้มีการเตรียมสถานที่ ทรัพยากรต่างๆและบุคคลากรที่พร้อมที่จะเป็นเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัด
6. กรณีการรวมจังหวัดเลย และจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นเขตพื้นท่ีเดียวกันนั้นมีปัญหาคือจังหวัดเลย มีจำนวนโรงเรียน 31 โรงเรียน จังหวัดหนองบัวลำภูมีโรงเรียนจำนวน 21 โรงเรียน โดยแต่ละจังหวัดมีจำนวนโรงเรียนมากพอที่จะตั้งเป็นเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆที่ได้รับการเสนอเป็นเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาจังหวัด ประกอบกับอัตลักษณ์ วัฒนธรรม สภาพภูมิประเทศของจังหวัดหนองบัวลำภูนั้นมีความแตกต่างจากจังหวัดเลยโดยสิ้นเชิงเนื่องจากจังหวัดหนองบัวลำภูเคยเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุดรธานี และระยะทางจากจังหวัดเลยไปจังหวัดหนองบัวลำภูเป็นเส้นทางขึ้นภูเขาเป็นบางช่วง โรงเรียนสุดท้ายในจังหวัดหนองบัวลำภูอยู่ห่างจากจังหวัดเลย 160 กิโลเมตร
7 กรณีการรวมจังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดยโสธร เป็นเขตพื้นท่ีเดียวกันนั้นมีปัญหาคือจังหวัดอำนาจเจริญมีโรงเรียนจำนวน 22 โรงเรียน จังหวัดยโสธร มีโรงเรียนจำนวน 27 โรงเรียนแต่ละจังหวัดมีจำนวนโรงเรียนมากพอที่จะตั้งเป็นเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆที่ได้รับการเสนอเป็นเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาจังหวัด ประกอบกับอัตลักษณ์ วัฒนธรรม สภาพภูมิประเทศของจังหวัดอำนาจเจริญนั้นมีความแตกต่างจากจังหวัดยโสธรโดยสิ้นเชิงเนื่องจากจังหวัดอำนาจเจริญเคยเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี เส้นทางคมนาคมระหว่างจังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดยโสธร เป็นถนนลาดยางสองเลนมีสภาพไม่ดี การจราจรหนาแน่นมีรถบรรทุกขนาดใหญ่ มีการเดินรถยนต์โดยสารประจำทางสายกรุงเทพ ระยอง ชลบุรี การจราจรคับคั่ง มาก
8. กรณีการรวมจังหวัดชุมพรและจังหวัดระนองเป็นเขตพื้นท่ีการศึกษาเดียวกันนั้นมีปัญหาคือ ความแตกต่างกันในด้านวัฒนธรรม อัตลักษณ์ของจังหวัด เพราะจังหวัดชุมพรนั้นมีที่ตั้งริมฝั่งทะเลอ่าวไทย แต่จังหวัดระนองมีที่ตั้งริมฝั่งทะเลอันดามัน เส้นทางคมนาคมยาวไกลมีความคดเคี้ยวตลอดเส้นทาง จังหวัดระนองได้มีการเตรียมสถานที่ ทรัพยากรและบุคคลากรเพื่อเตรียมรับกับการตั้งเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดไว้แล้ว
สำหรับจังหวัดอื่นๆที่มิได้เสนอให้แยกเป็นเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาจังหวัด นั้นต่างก็มีปัญหาในเรื่องระยะทาง ความไม่สะดวกในเรื่องการคมนาคม วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ที่ แตกต่างกัน เป็นโรงเรียนในเขตพื้นท่ีการศึกษาเดียวกันก็จริงแต่การได้รับการดูแลใส่ใจจากจังหวัดที่แตกต่างกัน มีกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกัน
ส.บ.ม.ท.จึงเห็นว่าการเสนอให้แยกเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาให้ครบทุกจังหวัดจึงจะเป็นการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้อย่างแท้จริง และยังเป็นการทำตามมติของสภาการศึกษาที่ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์โดยละเอียดแล้วจึงมีมติให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการประกาศจัดตั้งเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาให้ครบทุกจังหวัด ประกอบกับแต่ละจังหวัดได้มีการจัดเตรียมสถานที่ ทรัพยากร ไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว งบประมาณและบุคคลก็สามารถเกลี่ยจากเขตพื้นท่ีเดิมได้ สำนักงานเขตพื้นที่ใดมีจำนวนโรงเรียนน้อย ก็แต่งตั้งรองผู้อำนวยการสำนักงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่ง ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษาวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ก็จะเป็นการทำให้การจัดการศึกษามัธยมศึกษามีคุณภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียน ต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก นายรัชชัยย์ ศรสุวรรณ นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย ( ส.บ.ม.ท.)