ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

นักวิจัย สกสว.เจ๋ง ผลิต ‘มือเทียมกล’ ควบคุมผ่านสัญญาณไฟฟ้าในกล้ามเนื้อ เพื่อคนพิการ


วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 9 ก.พ. 2563 เวลา 03:59 น. เปิดอ่าน : 9,672 ครั้ง
Advertisement

นักวิจัย สกสว.เจ๋ง ผลิต ‘มือเทียมกล’ ควบคุมผ่านสัญญาณไฟฟ้าในกล้ามเนื้อ เพื่อคนพิการ

Advertisement

นักวิจัย สกสว.เจ๋ง ผลิต ‘มือเทียมกล’ ควบคุมผ่านสัญญาณไฟฟ้าในกล้ามเนื้อ เพื่อคนพิการ

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

นักวิจัย สกสว. ใช้ไอเดียแขนกล ‘ไอรอนแมน’ พัฒนา ‘แพลตฟอร์มมือเทียมกลฯ’ เพื่อคนพิการ โดยมือเทียมกลขึ้นรูปจากพลาสติกด้วยเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ทำให้มีราคาถูก-น้ำหนักเบา-แข็งแรง ส่วนการทำงานใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับสัญญาณไฟฟ้าในกล้ามเนื้อซึ่งถูกสั่งการจากสมอง เพื่อออกคำสั่งชุดควบคุมให้มือเทียมกล ‘กำ-แบบมือ’ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ เล็งต่อยอดสู่แพลตฟอร์มขาเทียมกลให้คนพิการขาใช้ในอนาคต

 

ประเทศไทยมีคนพิการ 3.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 5.5 ของประชากรทั้งหมด และเป็นคนพิการทางการเคลื่อนไหวสูงถึงร้อยละ 49.65 ในจำนวนนี้เป็นคนพิการแขนขาขาดกว่า 50,000 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทว่าอุปกรณ์แขนขาเทียมสำหรับคนพิการแขนขาในปัจจุบันส่วนใหญ่ยังเป็นอวัยวะเทียมเพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์มากกว่าที่จะขยับใช้งานได้จริงเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต

ผศ.ดร.นพรัตน์ ธรรมวงษา อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบอัตโนมัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และทีมวิจัย พัฒนา ‘โครงการสร้างมือเทียมกลควบคุมผ่านตัวรับสัญญาณไฟฟ้าในกล้ามเนื้อ’ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

 ผศ.ดร.นพรัตน์ กล่าวว่า ปัจจุบันหลายสถาบันทั่วโลกมุ่งพัฒนามือเทียมกลที่ตอบสนองการเคลื่อนไหวแก่คนพิการ แต่ยังมีราคาที่สูงมาก ยากต่อการเข้าถึง ทีมวิจัยจึงตั้งโจทย์ว่าทำอย่างไรที่จะช่วยพัฒนามือและขาเทียมกลที่สามารถขยับจับอุปกรณ์ต่างๆ ได้จริง เพื่อช่วยให้คนพิการใช้ชีวิตประจำวันด้วยตนเอง โดยในงานวิจัยครั้งนี้ได้พัฒนาต่อยอดจากผลงานของกลุ่มนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบอัตโนมัติ ที่ได้ทำชิ้นงานเกี่ยวกับ ‘ไอรอนแมน’ แขนกลยอดมนุษย์ในภาพยนตร์ฮอลลีวูด ซึ่งแขนกลเวอร์ชั่นแรกนี้ขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ และใช้การควบคุมแบบระบบไร้สาย แต่ยังไม่สามารถเชื่อมต่อกับการสั่งการของมนุษย์ได้ จึงสนใจต่อยอดให้เชื่อมต่อการสั่งการจากสัญญาณไฟฟ้าในกล้ามเนื้อของคนพิการได้จริง

“การวิจัยมือเทียมกล ทีมวิจัยได้พัฒนา 2 ส่วน คือ 1. การสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการพัฒนากายอุปกรณ์ในการพิมพ์มือเทียมกลจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ โดยทีมวิจัยออกแบบและใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ พิมพ์มือเทียมกลให้มีความหลากหลายเหมาะกับคนพิการได้แล้ว 10 รูปแบบ (ออกแบบมือเทียมกลฯ ตั้งแต่ข้อมือ กลางมือ ตอข้อศอก และเหนือข้อศอก โดยแบ่งข้างซ้ายกับขวารวมเป็น 10 แบบ) จากเคสคนพิการ 12 ราย ซึ่งนำไปใช้กับคนพิการได้เลย และ 2. การสร้างแพลตฟอร์มสัญญาณควบคุมด้วยการใช้เซ็นเซอร์ตัววัดสัญญาณไฟฟ้าในกล้ามเนื้อของคนพิการ เป็นการสร้างแพลตฟอร์มใหม่ที่ทำหน้าที่ตรวจจับสัญญาณสั่งการจากสมอง เป็นสัญญาณไฟฟ้าผ่านกล้ามเนื้อแขน

“การทำงานของมือเทียมกล คือเมื่อคนพิการใส่มือเทียมกลที่ออกแบบไว้ เซ็นเซอร์ตรวจสัญญาณไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อ หรือ Electromyography Muscle Sensor ซึ่งเชื่อมต่อกับมือเทียมกล จะทำการตรวจชุดสัญญาณไฟฟ้าที่ถูกสั่งการจากสมอง และนำมาสั่งการชุดควบคุมของมือเทียมกลให้ทำงาน เช่น ‘กำ-แบบ’ มือ ซึ่งหวังว่าจะเป็นประโยชน์ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการแขนให้ดำเนินชีวิตได้ดีขึ้น”

ผศ.ดร.นพรัตน์ กล่าวว่า ข้อจำกัดของมือเทียมกลตอนนี้คือ สามารถสั่งการได้ฟังก์ชั่นเดียวคือ การกำ-แบมือ เนื่องจากกล้ามเนื้อของคนพิการแต่กำเนิดแทบไม่เคยถูกพัฒนามาก่อน หรือแม้แต่คนพิการอุบัติเหตุแขนขาดส่วนใหญ่ ไม่มีมัดกล้ามเนื้อที่จะทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้าที่หลากหลายได้ ตัวอย่างการพัฒนามือเทียมกลครั้งนี้ ทีมวิจัยได้ติดตั้งเซ็นเซอร์เพื่อตรวจจับสัญญาณไฟฟ้าในกล้ามเนื้อคนพิการถึง 8 ตัว แต่ตรวจจับสัญญาณได้เพียงจุดเดียวเท่านั้น จึงออกแบบฟังก์ชั่นการทำงานได้เพียงแบบเดียว ซึ่งทีมวิจัยเลือกเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้สั่งการเป็นการกำหรือแบบมือ เพื่อกำหรือวางสิ่งของ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการใช้ชีวิตประจำวันที่สุด แต่หากในอนาคตคนพิการสามารถพัฒนากล้ามเนื้อให้ทำงานได้มากขึ้น เซ็นเซอร์ตรวจจับสัญญาณไฟฟ้าได้มากขึ้น ก็อาจจะพัฒนาให้สั่งการทำงานแยกนิ้วทั้ง 5 นิ้ว แยกการทำงานฟังก์ชั่นอื่นเหมือนคนปกติได้ เช่น การขยับนิ้ว เป็นต้น

“นอกจากนี้แล้ว ทีมวิจัยยังได้พัฒนาชุดเซ็นเซอร์แบบเบ็ดเสร็จให้คนพิการใช้งานได้ง่ายขึ้น ทำให้สามารถสวมมือเทียมกลนี้ใส่แขนได้เลย โดยเสียบสวิตซ์กับมอเตอร์ก็ทำงานได้ทันที ไม่ต้องเขียนโค้ดอะไรเพิ่มเติม ช่วยให้นักกายอุปกรณ์ลดขั้นตอนที่ยุ่งยากในการต่ออุปกรณ์ สำหรับการพัฒนาต่อยอดมือเทียมกล ในอนาคตทีมวิจัยเตรียมออกแบบไมโครคอนโทรลเลอร์ให้เซ็นเซอร์และชุดควบคุมอยู่ด้วยกัน และออกแบบแพลตฟอร์มระบบการรู้จำว่ามือเทียมกลสำหรับคนพิการแขนต้องมีฟังก์ชั่นการทำงานอย่างไรบ้าง ที่สำคัญทีมวิจัยยังมองไปถึงขั้นการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มือเทียมกลเฉพาะบุคคลด้วย เนื่องจากรูปแบบมือเทียมกลกับรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าในกล้ามเนื้อของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน”

อย่างไรก็ดี สำหรับงานวิจัยในแพลตฟอร์มแรก คือการพิมพ์มือเทียมกลด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ทีมวิจัยได้เริ่มขยายผลติดตั้งใช้งานจริงที่โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น นอกจากนี้เตรียมวางแพลตฟอร์มให้แก่โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี รวมทั้ง โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี ด้วย

ผศ.ดร.นพรัตน์ กล่าวว่า เรามุ่งหวังช่วยเปลี่ยนมือเทียมแบบเดิม ซึ่งเป็นมือเทียมแบบแข็งๆ หรือขาของผู้พิการที่เป็นแบบเหล็กให้เป็นมือเทียมกลที่ออกแบบขึ้น ซึ่งเป็นวัสดุที่พิมพ์จากพลาสติกมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1,000-2,000 บาท (ไม่รวมตัวชุดควบคุมที่สั่งการให้มือขยับได้) ใช้เวลาในการเปลี่ยนเพียง 1-2 วัน และยังปรับขนาดให้เหมาะสมกับผู้ใช้ได้ อีกทั้งหากคนพิการที่สนใจใส่เซ็นเซอร์ควบคุม ทีมวิจัยสามารถผลิตได้ในราคาไม่ถึงหมื่นบาท ซึ่งมีราคาถูกกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาหลักแสนบาท

“ไม่เพียงมือเทียมกล ตอนนี้ทีมวิจัยมองไปถึงการพัฒนาเซ็นเซอร์ให้ขาเทียมด้วย เพราะขณะนี้สามารถใช้เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ออกแบบพิมพ์เบ้าอวัยวะขาเทียม ให้มีน้ำหนักเบา แต่ยังคงความแข็งแรงทนทานได้เหมือนอวัยวะขาจริงที่ใช้งานได้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบเซ็นเซอร์และฟังก์ชั่นการทำงานของขาเทียมกล หวังว่าจะเป็นการต่อยอดนวัตกรรมที่จะช่วยคนพิการขาได้มากขึ้น”
สำหรับ โรงพยาบาล ผู้ประกอบการ นักกายอุปกรณ์ ที่สนใจเทคโนโลยีมือเทียมกล สามารถติดต่อได้ที่ 0985985955 หรือ อีเมล nopthamma@gmail.com

คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ

หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopee

https://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6


นักวิจัย สกสว.เจ๋ง ผลิต ‘มือเทียมกล’ ควบคุมผ่านสัญญาณไฟฟ้าในกล้ามเนื้อ เพื่อคนพิการนักวิจัยสกสว.เจ๋งผลิต‘มือเทียมกล’ควบคุมผ่านสัญญาณไฟฟ้าในกล้ามเนื้อเพื่อคนพิการ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ระบบย่อยอาหาร

ระบบย่อยอาหาร


เปิดอ่าน 206,771 ครั้ง
แก๊สน้ำตา คืออะไร

แก๊สน้ำตา คืออะไร


เปิดอ่าน 25,373 ครั้ง
ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้


เปิดอ่าน 33,357 ครั้ง
กำแพงกั้นเสียง

กำแพงกั้นเสียง


เปิดอ่าน 17,098 ครั้ง
ดวงอาทิตย์ (The Sun)

ดวงอาทิตย์ (The Sun)


เปิดอ่าน 18,666 ครั้ง
พันธุ์ไม้ในในป่าชายเลน

พันธุ์ไม้ในในป่าชายเลน


เปิดอ่าน 86,920 ครั้ง
ฝนดาวตกสิงโต

ฝนดาวตกสิงโต


เปิดอ่าน 21,489 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ทำไมจึงไม่บรรจุน้ำอัดลมให้เต็มขวด?

ทำไมจึงไม่บรรจุน้ำอัดลมให้เต็มขวด?

เปิดอ่าน 26,860 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เจ๋งมั๊ยล่ะ ไอเดียอะไรนะ? ของเด็กไทยที่ถูกเลือกไปทดลองในอวกาศ
เจ๋งมั๊ยล่ะ ไอเดียอะไรนะ? ของเด็กไทยที่ถูกเลือกไปทดลองในอวกาศ
เปิดอ่าน 13,325 ☕ คลิกอ่านเลย

การวัดความกดอากาศ
การวัดความกดอากาศ
เปิดอ่าน 24,480 ☕ คลิกอ่านเลย

การเล่นโทรศัพท์มือถือในขณะที่ฝนตกนั้น มีโอกาสเสี่ยงทำให้เกิดฟ้าผ่า ได้จริงหรือไม่?
การเล่นโทรศัพท์มือถือในขณะที่ฝนตกนั้น มีโอกาสเสี่ยงทำให้เกิดฟ้าผ่า ได้จริงหรือไม่?
เปิดอ่าน 25,021 ☕ คลิกอ่านเลย

การบอกคุณภาพของน้ำ โดยใช้ปริมาณออกซิเจนเป็นเกณฑ์
การบอกคุณภาพของน้ำ โดยใช้ปริมาณออกซิเจนเป็นเกณฑ์
เปิดอ่าน 63,006 ☕ คลิกอ่านเลย

ฝนเกิดขึ้นได้อย่างไร
ฝนเกิดขึ้นได้อย่างไร
เปิดอ่าน 3,437 ☕ คลิกอ่านเลย

ใส่หลอดในขวดซอสมะเขือเทศจะทำให้เทออกง่าย
ใส่หลอดในขวดซอสมะเขือเทศจะทำให้เทออกง่าย
เปิดอ่าน 30,102 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

กินผักตามฤดู 12 เดือน
กินผักตามฤดู 12 เดือน
เปิดอ่าน 14,301 ครั้ง

ฮิตจัด มาชม กังนัมสไตล์ ฉบับ "ทหารเรือไทย"
ฮิตจัด มาชม กังนัมสไตล์ ฉบับ "ทหารเรือไทย"
เปิดอ่าน 16,974 ครั้ง

เอกสารประกอบคำบรรยายประชุมขับเคลื่อนการปฏฺิรูปการศึกษาฯ โรงแรมแอมบาสเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน พัทยา เมื่อวันที่ 11-13 พ.ค. 59
เอกสารประกอบคำบรรยายประชุมขับเคลื่อนการปฏฺิรูปการศึกษาฯ โรงแรมแอมบาสเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน พัทยา เมื่อวันที่ 11-13 พ.ค. 59
เปิดอ่าน 10,443 ครั้ง

ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบ สุริยะ 10 ดวงที่คล้ายโลก
ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบ สุริยะ 10 ดวงที่คล้ายโลก
เปิดอ่าน 15,273 ครั้ง

"เขียนไลน์แบบไหน คนชอบอ่าน" โดย ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ
"เขียนไลน์แบบไหน คนชอบอ่าน" โดย ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ
เปิดอ่าน 18,917 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ