เมื่อวันที่ 1 ม.ค. นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่สุ่มตรวจเยี่ยมโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดร้อยเอ็ด ทำให้ได้เห็นสภาพจริงของโรงเรียนหลายโรง ซึ่งไม่ได้อยู่ห่างไกลกันเลย อยู่ห่างจากสนามบินร้อยเอ็ดไม่เกิน 3-4 กิโลเมตร แต่ก็ได้เห็นความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาพอสมควร ทำให้คิดว่าถึงเวลาต้องรีบปรับปรุงพัฒนา ไม่ใช่เฉพาะที่จังหวัดร้อยเอ็ดเท่านั้น แต่ต้องปรับปรุงพื้นที่ที่มีความเหลื่อมล้ำทุกพื้นที่
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า จริงๆแล้วก็พอทราบปัญหาและก็เข้าใจเรื่องข้อจำกัด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงบประมาณ หรือเรื่องอื่นๆ แต่วันนี้เมื่อได้มาเห็นด้วยตา คิดว่าคงปล่อยให้เป็นแบบนี้ไม่ได้แล้ว ถ้าไม่ทำวันนี้วันหน้าเราก็ต้องทำอยู่ดี แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือเวลาที่เสียไปเด็กจะไม่ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพซึ่งจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นเราจะปล่อยไปไม่ได้ทั้งหมด อย่างไรก็ตามในการวางแผนและบริหารจัดการเรื่องนี้ กระทรวงศึกษาธิการต้องกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนรับรู้แนวทาง ซึ่งตนจะอธิบายให้เห็นก่อน โดยจะใช้พื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นตัวอย่างนำร่อง เพราะพื้นที่ตรงนี้เห็นชัดเจนว่าจะสามารถทำได้ มีทั้งโรงเรียนที่รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน มหาวิทยาลัยและสามารถนำการเรียนการสอน ส่งต่อถึงเด็กได้ ขณะที่มีโรงเรียนใกล้เคียงถึงแม้สัดส่วนครูต่อนักเรียนมีพอดีกันแต่ในช่องว่างระหว่างชั้นมีเยอะ ระดับอนุบาล ถึง ป.6 มีครู 3 คน ซึ่งไม่เพียงพอแม้ว่า จะใช้ระบบการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมมาช่วยแต่คุณภาพก็ยังไม่ได้ แต่หากมีการบูรณาการ ทำความเข้าใจกันในทุกโรงเรียนและชุมชน เชื่อว่าการศึกษาก็จะเดินหน้าไปได้
“ผมจะทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง เพื่อทุกเขตพื้นที่การศึกษา จะเข้าใจถึงแนวทางปฎิบัติ เพราะบางครั้งอาจไม่กล้าทำ เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายอย่าง ซึ่งผมเข้าใจดี และถ้าได้เห็นตัวอย่างก็อาจจะคลี่จากความไม่เข้าใจ หรือ คลายความสงสัยได้” นายณัฏฐพล กล่าวและว่า ตอนนี้พอดูจริงๆ จำนวนตัวเลขควบรวมโรงเรียนมากหรือไม่มากไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะบริบทในพื้นที่มีความสำคัญมากกว่า ความเข้าใจ การกล้าตัดสินใจในพื้นที่เป็นเรื่องใหญ่กว่าที่จะเอาแค่ตัวเลขมาดู ซึ่งคนที่จะตัดสินใจไม่ใช่รัฐมนตรี ไม่ใช่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) แต่เป็นเขตพื้นที่ ผู้บริหารในพื้นที่ที่จะช่วยกันตัดสินใจ ซึ่งตนคิดว่าหลายคนอาจจะมีแผนอยู่ แต่เห็นว่ามีข้อจำกัดก็เลยปล่อยไปก่อน แต่วันนี้ที่ตนได้มาเห็นแล้ว ก็ขอยืนยันเช่นกันว่าจะปล่อยไปแบบนี้ไม่ได้แล้ว
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก FOCUSNEWS วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563
เสมา1 เลือกร้อยเอ็ดต้นแบบแก้ปัญหาโรงเรียนเล็ก
“ครูตั้น”ยึดหัวหาดเลือกร้อยเอ็ดต้นแบบแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก รับปากลงพื้นที่ทำความเข้าใจประชาคมด้วยตัวเอง
เมื่อวันที่ 1ก.พ. นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่สุ่มตรวจเยี่ยมโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดร้อยเอ็ด ทำให้ได้เห็นสภาพจริงของโรงเรียนหลายโรง ซึ่งไม่ได้อยู่ในพื้นที่ห่างไกลเลย เพราะอยู่ห่างจากสนามบินร้อยเอ็ดไม่เกิน 3-4 กิโลเมตรแต่ก็ได้เห็นความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาพอสมควร ทำให้คิดว่าถึงเวลาต้องรีบปรับปรุงพัฒนา ไม่ใช่เฉพาะที่จังหวัดร้อยเอ็ดเท่านั้น แต่ต้องปรับปรุงพื้นที่ที่มีความเหลื่อมล้ำทุกพื้นที่
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า จริงๆแล้วก็พอทราบปัญหาแล้ว และก็เข้าใจเรื่องข้อจำกัดด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงบประมาณ หรือเรื่องอื่นๆ แต่วันนี้เมื่อได้มาเห็นด้วยตา คิดว่าคงปล่อยให้เป็นแบบนี้ไม่ได้แล้ว ถ้าไม่ทำวันนี้วันหน้าเราก็ต้องทำอยู่ดี แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือเวลาที่เสียไปเด็กจะไม่ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพซึ่งจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นเราจะปล่อยไปไม่ได้ทั้งหมด
อย่างไรก็ตามในการวางแผนและบริหารจัดการเรื่องนี้กระทรวงศึกษาธิการต้องกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนรับรู้แนวทาง ซึ่งตนจะอธิบายให้เห็นก่อน โดยจะใช้พื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นตัวอย่าง เพราะพื้นที่ตรงนี้เห็นชัดเจนว่าจะสามารถทำได้ มีทั้งโรงเรียนที่รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน
มหาวิทยาลัยและสามารถนำการเรียนการสอน ส่งต่อถึงเด็กได้ ขณะที่มีโรงเรียนใกล้เคียงถึงแม้สัดส่วนครูต่อนักเรียนมีพอดีกันแต่ในช่องว่างระหว่างชั้นมีเยอะ ระดับอนุบาล ถึง ป.6 มีครู 3 คน ซึ่งไม่เพียงพอแม้ว่า จะใช้ระบบการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมมาช่วยแต่คุณภาพก็ยังไม่ได้ แต่หากมีการบูรณาการ ทำความเข้าใจกันในทุกโรงเรียนและชุมชน เชื่อว่าการศึกษาก็จะเดินหน้าไปได้
“ผมจะทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง เพื่อทุกเขตพื้นที่การศึกษา จะเข้าใจถึงแนวทางปฎิบัติเพราะบางครั้งอาจไม่กล้าทำ เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายอย่าง ซึ่งผมเข้าใจดี และถ้าได้เห็นตัวอย่างก็อาจจะคลี่จากความไม่เข้าใจ หรือ คลายความสงสัยได้”นายณัฏฐพลกล่าวและว่า ตอนนี้พอดูจริงๆ ตัวเลขไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะบริบทในพื้นที่มีความสำคัญมากกว่า ความเข้าใจ การกล้าตัดสินใจในพื้นที่เป็นเรื่องใหญ่กว่าที่จะเอาแค่ตัวเลขมาดู ซึ่งคนที่จะตัดสินใจไม่ใช่รัฐมนตรี ไม่ใช่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) แต่เป็นเขตพื้นที่ ผู้บริหารในพื้นที่ที่จะช่วยกันตัดสินใจ ซึ่งตนคิดว่าหลายคนอาจจะมีแผนอยู่ แต่เห็นว่ามีข้อจำกัดก็เลยปล่อยไปก่อน แต่วันนี้ที่ตนได้มาเห็นแล้ว ก็ขอยืนยันเช่นกันว่าปล่อยไม่ได้
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก เดลินิวส์ วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563