เรื่องปูนๆ กับท่อปูนที่คุณอาจยังไม่รู้
สวัสดีครับพ่อแม่พี่น้องและมิตรรักนักอ่านทุกท่าน วันนี้ผมจะมาแชร์ความรู้เรื่องปูน ๆ เกี่ยวกับ
ท่อปูนให้กับทุกท่าน เพราะผมมองว่าเรื่องพวกนี้อยู่ใกล้ตัวเรากันมากๆ ข้างใต้ฝ่าเท้าเรานี่เอง ส่วนวันนี้ผมจะมาแชร์เรื่องอะไรนั้น เพื่อไม่ให้เสียเวลาเรามาดูกันเลยดีกว่าครับ !
“ทราบหรือไม่ครับว่าท่อปูนมีกี่ชนิด ?” คำตอบคือ เราสามารถจำแนกท่อคอนกรีตพวกนี้เนี่ยได้ 2 รูปแบบ ซึ่งได้แก่ “ความทนทาน” และ “ชนิดปากท่อ” ส่วนแต่ละแบบจะมีอะไรบ้างนั้น เรามาดูกันเลย !
ถ้าจำแนกด้วย “ความทนทาน” เราจะได้ 2 รูปแบบหลักๆ ได้แก่ท่อแบบ “คมล.” และ “คสล.”
- “คมล.” คือท่อคอนกรีตแบบไม่เสริมเหล็ก เหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่ที่ไม่มีแรงกดทับมากนักเช่น สวนสาธารณะ ลานกว้าง อาคารบ้านเรือน บริเวณที่รถยนต์ไม่วิ่งผ่าน
- “คสล.” คือท่อคอนกรีตเสริมเหล็ก เหมาะสำหรับงานก่อสร้างบริเวณที่มีรถวิ่งผ่าน แต่ไม่ใช่รถหนักอย่างรถบรรทุกวิ่งผ่าน จึงมักใช้กับงานก่อสร้าง ตามชุมชน หมู่บ้านจัดสรร นอกจากนี้ท่อ “คสล.” ยังสามารถจำแนกตามปริมาณและสัดส่วนของเหล็กที่เสริมเข้าไปได้อีก ซึ่งเรียกกันว่า “มอก.” ชั้น 1 ชั้น 2 และชั้น3
1. มอก.ชั้น 1 หรือ ท่อคอนกรีตอัดแรงเสริมเหล็ก คือท่อที่เหมาะสำหรับงานก่อสร้างสนามบิน และท่าเรือบรรทุกสินค้า ที่มีรถหนักขับผ่าน
2. มอก.2 คือท่อที่เหมาะสำหรับงานถนน ที่เน้นพื้นที่รับน้ำหนักมาก เช่นถนนที่มีรถบรรทุกวิ่งผ่าน ท่ารถ ทางหลวง และตามโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหลาย
3. มอก.3 คือท่อที่มีความทนทานน้อยสุดในบรรดา มอก.1 และ 2 เหมาะสำหรับพื้นถนนที่มีรถยนต์ทั่วไปขับผ่านไปมา
แล้วถ้าจำแนกตามชนิดปากท่อล่ะ ? เราจะแบ่งได้เป็น “ท่อปากลิ้นราง” “ท่อปากระฆัง” “ท่อดันลอด” และ “ท่อสี่เหลี่ยม”
- “ท่อปากลิ้นราง” คือท่อที่เหมาะสำหรับงานก่อสร้างทั่วไป อย่างอาคารบ้านเรือน หมู่บ้านจัดสรร สถานที่ราชการ และพื้นที่สาธารณะทั้งหลาย โดยทั่วไปแล้ว ท่อชนิดนี้ได้รับความนิยมในการใช้งานที่สุด
- “ท่อปากระฆัง” คือท่อสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ด้วยปากท่อที่ออกแบบมาให้แนบสนิท เพื่อป้องกันสารพิษหลุดรอดออกไปภายนอก
- “ท่อดันลอด” คือท่อที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การไม่ทำลายผิวถนน เพราะสามารถใช้ท่อดังกล่าวได้โดยที่ไม่ต้องทำลายผิวถนนออกก่อน มักใช้เพื่อนำสายไฟลงดิน ตามริมถนน
- “
ท่อสี่เหลี่ยม” ท่อระบายน้ำแบบใหญ่พิเศษ ใช้เพื่อรองรับตามแม่น้ำลำคลอง ด้วยรูปทรงสี่เหลี่ยมทำให้ระบายน้ำได้ในปริมาณมาก
หมดไปแล้วนะครับกับเกร็ดความรู้เรื่องท่อ ๆ ในวันนี้ เอาไว้พบกันใหม่ วันนี้ผมขอลาไปก่อนสวัสดีครับ....